Line ID: 0863399940



 

เมืองในแขวงอัตตะปือ

เมืองไชเสดถา
เมืองไชเสดถาเป็นเมืองเก่ามีความเป็นมาเก่าแก่ที่สุดในแขวงอัตตะปืออีกทั้งก่อนหน้านี้ยังเป็นที่ตั้งสำนักงานว่าการแขวงอัตตะปือจึงถูกเรียกว่า เมืองเก่า กล่าวคือเป็นเมืองพื้นฐานมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช นักประวัติศาสตร์ลาวกล่าวว่าเป็นเมืองที่พระเจ้าไชยเชษฐาธราชมาอยู่และตั้งหลักมั่นในการต่อสู้เมือพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชธิราชมาประทับอยู่ที่ใดก็จะสร้างวัดวาอารามไว้ที่นั่นจึงทำให้ดินแดนที่ตรงนี้ของอัตตะปือ กลายเป็นที่ตั้งมั่นสถาพรของพุทธศาสนาในลาวตอนล่างมาจนถึงปัจจุบัน
สถานที่ท่องเที่ยว เมือไชเสดถา
เซน้ำน้อย
เป็นเขื่อนพลังงานไฟฟ้าที่สร้างขึ้นมาใหม่เพื่อผลิตไฟฟ้าไปขายยังประเทศไทย และส่วนหนึ่งนำมาใช้ในประเทสลาว มีการกักเก็บน้ำหลักในเขื่อนเซน้ำน้อย โดยรับน้ำมาจากฝายห้วยหมากจันทน์และเขื่อนเซเปียน ในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยโรงไฟฟ้าเซน้ำน้อยได้มีการลงทุนจากนักลงทุนจากประเทศเกาหลี ประเทศไทย และประเทศลาว โดยมีทีมกรุ๊ปเป็นผู้ดูแล โดยทัศนียภาพบริเวณเขื่อนไฟฟ้าเซน้ำน้อยเป็นทัศนียภาพที่สวยงาม มีธรรมชาติของภูเขา และต้นไม้เต็มไปด้วยความเขียวขจี คนที่ขับรถผ่านไปมาสามารถชมวิวงามของธรรมชาติบริเวณเขื่อนเซน้ำน้ำแห่งนี้ได้
วัดฟางแตง
วัดฟางแตงเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองเก่า ชาวบ้านนิยมไปสักการบูชาเพราะเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ ในสมัยสงครามโลกสหรัฐอเมริกาพยายามทิ้งระเบิดลง แต่ระเบิดทุกลุกที่ตกภายในวัดไม่ระเบิด ภายในมีที่ประดิษฐานหลวงพ่อองค์ใหญ่ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเก่าแก่โบราณรอบผนังอุโบสถ และงานปฎิมากรรมปูนปั้นสีทอง ศิลปะแบบมอญ ขอม

วัดหลวงเมืองเก่าวะราราม
วัดหลวงเมืองเก่าวะรารามตั้งอยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามกับวัดฟางแตงสมัยอดีต วัดหลวงหรือวัดเก่าเป็นวัดแรกบนแขวงอัตตะปือ ที่ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาก่อนวัดฟางแตงบริเวณโดยรอบยังคงสภาพเดิมทุกอย่างทั้งตัวอุโบสถที่เป็นตึกคอนกรีตก่อด้วยอิฐสีเทาใช้เป็นที่ศึกษาพระธรรม ภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป
วัดสระแคะ
วัดสระแคะ ภายในสิมมีพระธาตุองค์แสนก่อสร้างด้วยทองคำแท้หนัก100,000 กรัมประดิษฐานอยู่ ถือเป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองชาวบ้านที่นี่มักเดินทางมาทำบุญและบนบานศาลบางคนถึงขนาดต้องนั่งเรือผ่านแม่น้ำเซกองนานกว่า 2 ชั่วโมงจึงจะได้มากราบไหว้องค์แสนสำหรับวัดแห่งนี้จะไม่ให้ผู้หญิงที่ไม่นุ่งผ้าซิ่น (ผ้าถุง) ขึ้นไปบนศาลาการเปรียญหรือสิมเป็นอันขาดขณะเดียวกันก็ห้ามถ่ายภาพภายในสิมหากไม่เชื่อก็จะเกิดเหตุเภทภัยขึ้นกับบุคคลนั้นๆ
อนุสาวรีย์ประธานไกสร พรหมวิหาร
อนุสาวรีย์ประธานไกสร พรหมวิหาร อยู่ห่างจากวัดหลวงลัตตะมาลาม 300 เมตร อนุสาวรีย์ประธานไกสร พรหมวิหาร เป็นอนุสารีย์สีขาวตั้งเด่นอยู่กลางสนามกว้าง ที่ชาวบ้านใช้จัดพิธีการสำคัญๆของเมืองโดดยอนุสาวรีย์ตรงกลางที่ใหญ่ที่สุดสลักคำว่า ประเทศชาติ จารึก บุญคุณ ด้านซ้ายมือสลักคำว่าวีรชนนางแฮ่ว ธาตุน้อย และด้านขวาสลักคำว่า จารึกวีรชน จันทา ธาตุน้อย วางเด่นมีรั้วสีขาวล้อมรอบ ถัดมานอกรั้วมีลานเวที ชิงช้าสวรรค์ให้เด็กเล่นและมีรูปปั้นท่านประธานไกสรพรหมวิหาร อดีตประธานาธิบดีของลาวครึ่งตัวตั้งอยู่
วัดหลวงลัตตะมาลาม
วัดหลวงลัตตะมาลามหรือวัดหลวงเมืองใหม่ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2475 ภายในศาลาวัดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและมีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องพุทธประวัติด้านหลังมีอุโบสถหลังใหญ่กำลังก่อสร้างอยู่ ด้านหน้าลานอุโบสถมีลวดลายแกะสลักที่ใช้ตกแต่งพระอุโบสถวางเรียงราย มีหอกลองสูง 4 ชั้น


เมืองสามักคีไช
เมืองสามักคีไชเป็นเมืองหลักของแขวงอัตตะปือเป็นที่ทำการแขวงและห้องต่างๆของแขวงเช่น โรงเรียน โรงหมอ ดังนั้นบางทีการกล่าวถึงเมืองอัตตะปือก็คือการหมายถึงเมืองสามักคีไชโดยนัยยะเช่น การที่รถยนต์ที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารติดป้ายเวียงจันทน์-อัตตะปือหรือปากเซ-อัตตะปือรถดังกล่าวก็จะมาส่งผู้โดยสารที่เมืองสามักคีไชนั่นเอง
สถานที่ท่องเที่ยวสามักคีไช
น้ำตกตาดหัวคน
ตั้งอยู่ทางเข้าบ้านสามัคคีไซ แขวงอัดตะปือ เป็นน้ำตกชั้นเดียว แต่มีความกว้างของหน้าผายาวสุดริมฝั่งแม่น้ำ น้ำในบริเวณน้ำตกหัวคนมีขนาดลึก แต่บางช่วงก็เป็นน้ำตื้นชาวบ้านจะลงมาอาบน้ำ รวมถึงนำรถจักรมาล้าง โดยด้านบนน้ำตกมีร้านอาหาร และรีสอร์ทบริการนักท่องเที่ยว อยู่ริมน้ำตกตาดหัวคน

เมืองสนามไซ
เมืองสนามไชเป็นเมืองที่มีพื้นที่ด้านทิศตะวันตกกับทิศเหนือถูกโอบล้อมด้วยพื้นที่แขวงจำปาสักทิศใต้จรดดินแดนกัมพูชา สนามไชเป็นเมืองที่มีที่ราบลุมอุดมสมบูรณ์กว้างใหญ่เช่นกับเมืองสมักคีไชโดยเฉพาะมีสายน้ำเซกองและเซเปียนไหลผ่านได้เพิ่มศักยภาพในการปลูกฝังและเลี้ยงสัตว์แก่พื้นที่เมืองนี้ยิ่งขึ้นสนามไชเป็นอู่ข้าวอู่ปลาอีกเมืองของอัตตะปือ

สถานที่ท่องเที่ยวสนามไช
เมืองสานไช

เมืองสานไช บ้างก็เรียกว่า เมืองชาญชัย อันมีความหมายว่าเป็นที่เมืองของคนที่ผ่านการต่อสู้อย่างอาจหาญชาญชัย แต่ด้วยภาษาลาวภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ยึดการเขียนตามสำเนียง แทนรากศัพท์ คำว่าชาญชัยที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่าSanzayก็ถูกเขียนเป็นคำว่าสานไชซึ่งมีการผสมผสานผนึกกำลังกันให้ได้มาซึ่งชัยชนะ

สถานที่ท่องเที่ยวสานไช
หนองฟ้า

หนองฟ้า เป็นหนองน้ำที่เกิดจากการระเบิดภูเขาไฟ เมื่อหลายพันปีก่อนหนองฟ้าจะมีสีเขียวมรกตได้มีการหยั่งความลึกโดยเอาก้อนหินมัดเชือก หย่อนลงไปวัดความลึกยังไม่ถึงพื้น ชาวอัตตะปือถือว่าเป็นหนองน้ำศักดิ์สิทธิ์และลึกลับ มีเรื่องราวเล่าขานกันว่ามีไก่โอกปีกดำเป็นเจ้าเฝ้าบันดาลให้น้ำขึ้นลง เป็นต้นกำเนิดของเซกะหมานตั้งอยู่ทิศตะวันตกของแขวงอัตตะปือ

เมืองภูวง
เมืองภูวงหรือพูวงจะตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองสามักคีไชเป็นเมืองที่ถูกสร้างในตั้งแต่พ.ศ 2537 เรียกชื่อเมืองตามสภาพภูมิประเทศ ที่มีเทือกเขาล้อมรอบเขตเมืองเสมือนวงแขนจึงให้ชื่อว่า เมืองภูวง เมืองภูวงเป็นเมืองที่บรรดาเผ่ามีชาวลาวเทิงเผ่าบราวซึ่งทางการเรียกว่าละแว เป็นเจ้าของพื้นที่มาตั้งแต่บรรพกาลจนถึงปัจจุบัน