ข้อมูลทั่วไปของประเทศลาว |
เมืองหลวง นครหลวงเวียงจันทน์
ประชากร 5.6 ล้านคน (2558)
ภาษาราชการ ภาษาลาว
ศาสนา ศาสนาพุทธ (เถรวาท) , คริสต์ , อิสลาม , นับถือผี
วันชาติ 2 ธันวาคม
สกุลเงิน กีบ
คำขวัญประจำชาติ สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร
ประมุขของ สปป.ลาว คือประธานประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสภาแห่งชาติโดยได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกสภาที่เข้าประชุม ประธานประเทศมีอำนาจลงนามประกาศใช้กฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของสภาแห่งชาติ แต่งตั้งหรือย้ายเจ้าแขวงตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ และให้นิรโทษกรรม เป็นต้น
การเมืองการปกครองลาว |
ประธานประเทศ นายจูมมาลี ไซยะสอน
รองประธานประเทศ นายบุนยัง วอละจิด
ประธานสภาแห่งชาติ นางปานี ยาท่อตู้
นายกรัฐมนตรี นายทองสิง ทำมะว
ประเทศลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ ซึ่งพรรคนี้เริ่มมีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ประธานาธิบดี ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวคนปัจจุบัน ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี คือ พลโทจูมมะลี ไซยะสอน (ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวอีกตำแหน่งหนึ่ง) ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนายทองสิง ทำมะวงจูมมะลี ไซยะสอน ประธานาธิบดี ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวคนปัจจุบัน
สถาบันการเมืองที่สำคัญ
- แนวลาวสร้างชาติ
- องค์กรจัดตั้ง เช่น สหพันธ์วัยหนุ่มลาว (สหพันธ์เยาวชน) สหพันธ์แม่หญิงลาว (สมาคมสตรี) กรรมบาลลาว (สหพันธ์กรรมกร) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
การจัดตั้งและการบริหาร
- หลายหมู่บ้านรวมกันเป็น เมือง
- หลายเมืองรวมกันเป็น แขวง
- "คณะกรรมการปกครองหมู่บ้าน" มี นายบ้าน เป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารของหมู่บ้าน
- "คณะกรรมการปกครองเมือง" มี เจ้าเมือง เป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารเมือง
- "คณะกรรมการปกครองแขวง" มี เจ้าแขวง เป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารแขวง
- "คณะกรรมการปกครองนครหลวง" มี เจ้าครองนครหลวง เป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารนครหลวง
กระทรวง
ประเทศลาว มีทั้งหมด 18 กระทรวง และ 3 องค์กรเทียบเท่า ได้แก่
1.กระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคมและการสื่อสาร
2.กระทรวงพลังงานและบ่อแร่
3.กระทรวงภายใน (กรมต่างๆที่ไม่เข้าพวกในกระทรวงต่างๆ)
4.กระทรวงยุติธรรม
5.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
6.กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้
7.กระทรวงการเงิน
8.กระทรวงการต่างประเทศ
9.กระทรวงป้องกันความสงบ (ตำรวจ)
10.กระทรวงแผนการและการลงทุน
11.กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า
12.กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
13.กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง
14.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
15.กระทรวงสาธารณสุข
16.กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา
17.กระทรวงป้องกันประเทศ (กลาโหม)
18.กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
19.องค์การกวดกาพรรครัฐ
20.ห้องว่าการรัฐบาล
21.ธนาคารแห่ง สปป ลาว
รายชื่อประธานาธิบดีของประเทศลาวในอดีต
คนที่ 1 เจ้าสุภานุวงศ์
- เริ่มปกครองตั้งแต่ (3 ธันวาคม พ.ศ. 2518 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2534)
คนที่ 2 นายพูมี วงวิจิด
- เริ่มปกครองตั้งแต่ (31 ตุลาคม พ.ศ. 2529 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2534) รักษาการแทนเจ้าสุภานุวงศ์
คนที่ 3 นายไกสอน พมวิหาน
- เริ่มปกครองตั้งแต่ (15 สิงหาคม พ.ศ. 2534 - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535)
คนที่ 4 นายหนูฮัก พูมสะหวัน
- เริ่มปกครองตั้งแต่ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541)
คนที่ 5 พลเอกคำไต สีพันดอน
- เริ่มปกครองตั้งแต่ (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2549)
เงินตราและสกุลเงิน
กุลเงิน อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 กีบ = 4.05 บาท
สัญลักษณ์ ₭หรือ ₭N
ธนาคารกลาง
ธนาคารแห่งส.ป.ป.ลาว
ธนบัตรฉบับละ 1 กีบ
ธนบัตรลาว ฉบับละ 5 กีบ
ธนบัตรลาว ฉบับละ 10 กีบ
ธนบัตรลาว ฉบับละ 20 กีบ
ธนบัตรลาว ฉบับละ 500 กีบ
ธนบัตรลาว ฉบับละ 1000กีบ
ธนบัตรลาว ฉบับละ 2000กีบ
ธนบัตรลาว ฉบับละ 10000กีบ
ธนบัตรลาว ฉบับละ 20000กีบ
ธนบัตรลาว ฉบับละ 50000กีบ
ภูมิศาสตร์ลาว |
ลักษณะภูมิประเทศ
ประเทศลาวตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่ไม่ติดกับทะเลโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงและที่ราบต่ำ ซึ่งประกอบด้วย ภูเขา เทือกเขา และป่าไม้ แต่พื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้งไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกมีแม่น้ำสายสำคัญที่ใช้ในการขนส่งคือ แม่น้ำโขง และพื้นที่บริเวณแม่น้ำโขงมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ประเทศลาวยังมีพื้นที่ติดกับประเทศต่างๆคือ ไทย จีน กัมพูชา เวียดนาม พม่า ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน และภูมิประเทศของประเทศลาวแบ่งออกเป็นสามภาคได้แก่
ภาคเหนือ มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนกันและมีแม่น้ำในบริเวณนี้คือ แม่น้ำจู
ภาคกลาง มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูง มีแม่น้ำโขง ซึ่งมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
ภาคใต้ มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและที่ราบสูง มีแม่น้ำในบริเวณนี้คือ แม่น้ำเซกองเหนือ
ลักษณะภูมิอากาศ
ประเทศลาวตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ในพื้นที่ที่ราบสูงมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็นและได้รับลมมรสุมจากทะเลจีนใต้ ซึ่งมีสภาพอากาศแบ่งออกเป็น สามฤดู คือ
ฤดูร้อน อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนเมษายน
ฤดูฝน อยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม
ฤดูหนาว อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน - เดือนมกราคม
|
ข้อมูลการท่องเที่ยวประเทศลาว |
แขวงเวียงจันทน์ แขวงคำม่วน แขวงจำปาศักดิ์ แขวงเชียงขวาง แขวงไชยบุรี แขวงไชยสมบูรณ์ แขวงเซกอง แขวงบอลิคำไซ แขวงบ่อแก้ว |
แขวงพงสาลี แขวงสาละวัน แขวงสุวรรณเขต แขวงหลวงน้ำทา แขวงหลวงพระบาง แขวงหัวพัน แขวงอัตตะปือ แขวงอุดมไซ |