แขวงสะหวันนะเขต
แขวงสะหวันนะเขต ตั้งอยู่ตอนใต้สุดของภาคของสปป.ลาว
ทิศเหนือ ติดกับแขวงคำม่วน ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดกวางจิและกวางบินของประเทศเวียดนาม ทิศใต้ ติดกับแขวงสาละวัน ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดมุกดาหาร นครพนม อำนาจเจริญและ อุบลราชธานีของไทย โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเขตแดน
ภูมิประเทศ
เนื้อที่ 21,774 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 13.6 ล้านไร่) เป็นที่ราบร้อยละ 58.5% เนินเขาและภูเขาร้อยละ 41.5%
เมืองสำคัญของแขวงสะหวันนะเขต
ประกอบด้วย 15 เมือง ได้แก่ ไกสอนพมวิหาน อุทุมพอน อาดสะพังทอง พิน เซโปน วีละบูลี สองคอน นอง จำพอน ท่าปางทอง ชนบูลี ไซบูลี อาดสะพอน ไซพูทอง และ พะลานไซ
ประชากร
ประชากรในแขวงฯ มีมากที่สุดในประเทศ คือ ประมาณ 916,948 คน หญิง 541,236 คน11 ชนเผ่า คือ ลาวลุ่ม ผู้ไท ไทดำ กะตาง มังกอง จาลือ ละวา ลาวส่วย ปาโกะ กะเลิง และ ตะโอ้ย ประชากรร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพื่อบริโภคในครัวเรือน โดยมีผลผลิตเหลือส่งออกต่างประเทศ
จุดเด่นของแขวง
1. ในปี 2554 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 12.5
2. ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง จ. มุกดาหารกับ จ. กวางจิของเวียดนาม ที่เชื่อมโยงไปเมืองเว้ และดานัง เป็นจุดเชื่อมเส้นทางคมนาคมทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
3. มีสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร – สะหวันนะเขต) เป็นจุดเชื่อมระหว่าง ไทย และเวียดนาม
ผ่านทางเส้นทางหมายเลข
4. รัฐบาล สปป. ลาว ประกาศโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน เป็นเขตส่งเสริมการลงทุน
แห่งแรกในลาว
5. เป็น 1 ใน 4 แขวง (นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงหลวงพระบาง แขวงจำปาสัก) ที่เจ้าแขวงมีอำนาจอนุมัติ เป็นแขวงเกษตรกรรม เนื่องจากพื้นที่กว้างขวางและอุดมสมบูรณ์ หลายประเทศรวมทั้งไทยจึงเข้าไป ลงทุนด้านเกษตรอุตสาหกรรมกันมาก
จุดผ่านแดนถาวร 2 จุด
1.ด่านสากลสะพานมิตรภาพ 2(สะหวันนะเขต- มุกดาหาร) ทำการทุกวัน 06.00 – 22.00 น.
2. ด่านแดนสะหวัน-ลาวบาว ชายแดนลาว-เวียดนาม โดยมีถนนหมายเลข 9 เชื่อมระหว่าง 2 ด่าน
เศรษฐกิจในแขวงสะหวันนะเขต
เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยรัฐบาลลดการควบคุมจากส่วนกลางและกระตุ้นการลงทุนของเอกชนตั้งแต่ พ.ศ. 2529 ลาวเป็นประเทศที่ผลิตพลังงานและส่งไปขายให้จีน เวียดนาม และไทยแม้จะยังเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยแขวงสะหวันนะเขตจะทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและการแปรรูป เช่น การผลิตสินค้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก การผลิตชิ้นส่วน อิเล็กโทรนิกส์ การประกอบชิ้นส่วนให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป การแปรรูปสินค้านำเข้าเพื่อส่งขายต่อภายในหรือต่างประเทศ การแปรรูปสินค้าเกษตร การผลิตสินค้าหัตถกรรม โรงงานรับบรรจุหีบห่อสินค้าและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เป็นต้นและธุรกิจการค้า เช่น ร้านค้าปลอดภาษี การขายส่งสินค้าผ่านแดนปลอดภาษี การขายส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ภายใน (เช่น สินค้าหัตถกรรม ไม้เนื้อหอม และอื่นๆ) ศูนย์แสดงสินค้า ห้างสรรพสินค้า ศูนย์ประชุม การส่งออก นำเข้า และการค้าผ่านแดนซึ่งเศรษฐกิจในแขวงสะหวันนะเขตจะมีอุปสรรค์หรือข้อจำกัด ทั้งด้านการยังไม่พัฒนาทางด้าน ถนน ไฟฟ้า น้ำประปาซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องกาจึงเป็นจุดด้อยของการพัฒนา
ประวัติของแขวงสะหวันนะเขต
เดิมแขวงสะหวันนะเขต มีชื่อเรียกเป็นทางการเมื่อครั้งได้รับการก่อตั้งเป็นแขวงว่า สุวันนะเขต ซึ่งมีความหมายถึงแผ่นดินแห่งทอง หรือตีความไปถึงดินแดงที่อุดมสมบูรณ์ แต่เนื่องจากความพ้องของเสียง สุวันนะเขต กับ สะหวันนะเขต มีความใกล้เคียงกัน ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจความหมายของ สะหวัน มากกว่า สุวัน จึงมักเรียกแขวงนี้และเมืองหลักของแขวงนี้ว่า เมืองสะหวัน หรือ แขวงสะหวัน และ สะหวันนะเขต จนสามารถเรียกได้ทั้ง 2 นาม คือทั้งสุวันนะเขตและสะหวันนะเขต ผู้คนก็มักจะเรียกแขวงนี้ว่าสะหวันนะเขตมากกว่าสุวันนะเขต ในระยะหลังภาครัฐได้ยอมรับและเรียกชื่อแขวงนี้เป็นทางการว่า สะหวันนะเขต ซึ่งล้วนมีความหมายที่ดีงามทั้งนั้นสะหวันนะเขตมีความเป็นมาด้วยการตั้งรกรากและชุมชนบริเวณเขตที่ตั้งของแขวง ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ แต่การสร้างบ้านแปงเมืองที่มีคนมาอาศัยหนาแน่นเพิ่งมีปรากฏในสมัยประวัติศาสตร์ชาติลาว คือ สมัยอาราจักรล้านช้าง เชื่อว่าบรรพชนของเมืองสะหวันนะเขตอพยพโยกย้ายมาจากเมืองนาน้อยอ้อยหนูอาราจักรสิบสองจุไท แล้วมาตั้งบ้านเรือนขึ้นเป็นเมืองหลวงโพนสิม หรือบ้านโพนสิมในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองคันทะบุลีอันเป็นเมืองหลักของแขวงไปทางทิศตะวันออก โดยชื่อของเมืองนี้ได้มาจากนามของเจ้าเมืองกับคู่ชีวิตซึ่งมีนามว่า ท้าวหลวง กับนางสิมา ทั้งสองได้นำพาประชาชนมาสร้างเมืองนี้ในวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 3 ปีวอก พ.ศ. 2085 ก่อนที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจะสร้างเวียงจันทน์ 18 ปี ต่อมาเมื่อท้าวหลวงกับนางสิมมา จึงได้ย้ายครอบครัวพร้อมญาติพี่น้องจำนวน 40 ครัวเรือน จากเมืองหลวงโพนสิมไปตั้งอยู่บ้านใหม่ที่ทุ่งนาคำติดแม่น้ำโขง ตั้งชื่อว่า บ้านนาคำ เมื่อตั้งบ้านนาคำแล้ว ท้าวแก้วสิมมะลีก็ได้พาประชาชนญาติพี่น้องสร้างวัดวาอาราม สร้างหอแจก สร้างหอคำด้วยหินแฮ่และหินหมากคอม ประกอบกับบริเวณนั้นมีก้อนกรวดก้อนหินดังกล่าวซึ่งชาวลาวเรียก หินแฮ มาก จึงเรียกนามบ้านอีกชื่อว่าบ้านท่าแฮ และติดปากชาวบ้านมากกว่าบ้านนาคำด้วยทำเลที่เหมาะสมทั้งการเพาะปลูกและการเดินทาง ชุมชนบ้านท่าแฮจึงได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากการอพยพของผู้คนหมู่บ้านอื่นมาร่วมอาศัย จนกระทั่ง พ.ศ. 2436 เมื่อฝรั่งเศสเข้าปกครองลาว เล็งเห็นความจำเป็นด้านกานปกครองหัวเมืองจึงได้ตั้งเขตแขวง และตั้งบ้านท่าแฮเป็นเมืองหลักของแขวง เพื่อเป็นเมืองด่านชายแดนต้านยันอังกฤษและสยาม ครั้งนั้นนายโอเดนฮอล ตัวแทนเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสที่ดูแลสะหวันนะเขตได้ปรึกษารือกับปราชญ์ของบ้านท่าแฮ คือ ท่านกมมะลีกับเฒ่าแก่ของหมู่บ้านจึงได้ตั้งชื่อแขวงใหม่ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2450 ชื่อว่า สุวันนะเขต โดยเป็นการเอาคำในภาษาสันสกฤต 2 คำมาผสมกันระหว่างคำว่า สุวรรณ ซึ่งเป็นคำสันสกฤตแปลว่า ทอง กับคำว่า เขต ซึ่งหมายถึง อาณาเขตหรือเขตแดนตั้งเป็นนามแขวง แต่สำหรับในส่วนของประชาชนอาจจะ
เข้าใจและใกล้ชืดกับคำว่า สวรรค์ มากกว่า สุวรรณ และคิดว่าเป็นคำที่มีความหมายไม่ต่างกัน ประกอบกับคำสองคำมีสำเนียงใกล้เคียงกันจึงเรียกแขวงของตนว่า สะหวันนะเขต ตลอดมา แม้ว่าในเอกสาร แผนที่ของทางราชการจะเขียนว่า วุวันนะเขต ก็ตาม อาทิ การเรียกชื่อจังหวะการลำมีชื่อประจำถิ่นก็เรียกว่า ลำนำคอนสะหวัน ซึ่งต่อมาเหลือเพียง ลำคอนสะหวัน ในระยะหลังภาครัฐและทางแขวงจึงได้ใช้นาม สะหวันนะเขต ตามภาษาพูดที่ประชาชนเรียกแขวงของตนเองอย่างเป็นทางการไปโดยปริยาย ท่านอุดร ป้อมไชยะสัก อดีตที่ปรึกษา คณะรัฐบาลและรัฐมนตรีหลายกระทรวงของสปป.ลาว ท่านเป็นชาวสะหวันนะเขต ได้กล่าวถึงฐานคิดในการตั้งชื่อแขวงสะหวันนะเขตครั้งนั้นว่า ฝรั่งเศสมีเจตนาที่จะสร้างแขวงสะหวันนะเข ให้เป็นแขวงขนาดใหญ่เพื่อแข่งกับจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งถือว่าเป็นเมืองใหญ่สุดที่อยู่โขงฟากขวาและอยู่ในการปกรองของสยามโอเดนฮอลถามถึงความหมายของเมืองอุบลราชธานีทราบว่าเป็นเมืองดอกบัวจึงได้ชื่อว่า สุวรรณเขต ต่างกันเพียงว่าคำลาวเขียนตามภาษาออกเสียงจึงเป็น สุวันนะเขต หรือดินแดงทองอันเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคงนั่นเอง และแม้ว่าระยะต่อมาชาวบ้านจะเรียกว่าเมืองสวรรค์ หรือสะหวันนะเขต ดังปัจจุบันความหมายก็ยังเป็นที่น่าพอใจเช่นเดิม แต่ไม่ว่าการตั้งชื่อแขวง สุวรรณเขต อันมีความหมายตามรูปศัพท์ว่าเขต ทองคำ จะมีความหมายฝ่ายถึงการตีความอุดมสมบูรณ์หรือแผ่นดินที่มีแร่ธาตุทองคำจำนวนมากดังที่ค้นพบในเขตเมืองวีละบุลี ที่เดิมเรียกว่า เมืองวังอ่างคำ หากพิจารณาสาระสำคัญในคำขวัญของแขวงก็ยังมีคำว่า ทองคำ ปรากฏเช่นเดิม คือ สะหวันนะเขตแผ่นดิน พระธาตุอิงฮังสถานบูราณงามสง่า สัตว์โลกดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์หนึ่งร้อยล้านปี ประเพณีวัฒนธรรมล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดขับลำสี่จังหวะ
แหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ พระธาตุอิงฮัง วัดไซยะพูม พิพิธภัณฑ์ชีวศาสตร์ไดโนเสาร์ หนองหล่ม – ป่าสงวนดงนาตาด แหล่งขุดค้นกระดูกไดโนเสาร์ พูซ้างแห่ แก่งหลวงพร้อมรอยเท้าไดโนเสาร์ ป่าสงวนแห่งชาติดงพูเวียง แก่งสามมัดแตก เส้นทางโฮจิมินห์ ตาดสะแล็น หอไตรวัดหนองลำจัน หนองหลวง(ปลาฝา) ดงลิง ธาตุอูบมุง-ละหาโคก ธาตุเรือนหิน ธาตุโผ่น ประเพณีแข่งเรือ บุญปีใหม่ลาว (สงกรานต์) และสถานคาสิโน (Savan Vegas Hotel and Casino)
พะทาดอิงฮัง / พระธาตุอิงฮัง ห่างจากเมืองสะหวันนะเขต 13 กิโลเมตร องค์พระธาตุสูง 25 เมตรเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 10-11 ตามตำนานพระอุรังคธาตุบอกไว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาเมืองล้านช้าง ได้ประทับยืนใต้ต้นรังทอดพระเนตรภูกำพร้ากลางแม่น้ำโขง แล้วทรงพยากรณ์ว่าพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองในแดนนี้ ต่อมาจึงมีการสร้างพระธาตุอิงฮัง และพระธาตุพนมเป็นพระธาตุคู่แฝด พระธาตุอิงฮังได้รับการเคารพสักการะจากชาวลาวไม่น้อยกว่าพระธาตุหลวงในเวียงจันทน์
วัดไชยะพูม สร้างขึ้นในสมัยสะหวันนะเขตยังเป็นบ้านนาคำ หรือบ้านท่าแร่ แต่การสร้างที่เอาจริงเอาจังอย่างแท้จริง ทำในสมัยระยะแปดสิบปีคืนหลังนี้ ลวดลายที่ประดับประดาวิหารหลังทิศตะวันออกนั้นเป็นแบบลายของท่านทิดพู นายช่างเอกทางลายลาวเวียงจันทน์
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แขวงสะหวันนะเขต เป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในตึกสถาปัตยกรรมฝรั่งเศส ใกล้โรงพยาบาลประจำแขวง จัดแสดงเรื่องราวและเหตุการณ์เกี่ยวกับสงครามปลดปล่อยและสงครามอินโดจีนและเส้นทางโฮจิมินห์ มีตัวอย่างอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ชมด้วย (เปิดทุกวันจันทร์-เสาร์ เวลา 08.00-12.00 น. และ 14.00-16.00 น.)
วัดชัยสมบูรณ์ วัดเก่าแก่ที่สุดของแขวง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2439 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ในพระอุโบสถตกแต่งด้วยภาพปูนปั้นพื้นปูกระเบื้องแบบฝรั่งเศส
วัดเจ้าหรือศาลเจ้าสุตตโน เป็นสถานที่บวงสรวงบูชาเทพและภูตผีต่างๆ
อนุสาวรีย์ท่านกุวรวงศ์ วีรบุรุษสงครามต่อต้านญี่ปุ่น และอดีตรัฐมนตรีกลาโหมในคณะรัฐบาลฝ่ายขวา ตั้งอยู่ที่ถนนสุดธนู
วัดลัดตะนะลังสี / รัตนรังสี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2494 เพื่อเป็นโรงเรียนสอนพระธรรม ภายในวัดมีพระนอนยาว15เมตรประดิษฐานอยู่ในศาลาลองธรรม
ตลาดสะหวันชัย อยู่ที่ถนนสีสะหว่างวงศ์ เป็นตลาดใหญ่ของเมือง ชาวบ้านเรียกกันว่าตลาดสิงคโปร์ เพราะชาวสิงคโปร์เป็นคนสร้างแทนตลาดเก่าในตัวเมือง สินค้าที่ขายมีเสื้อผ้า ของกินของใช้ในครัวเรือทองคำและเครื่องเงิน
พระธาตุโพน เจดีย์ทรงกลมสีขาวขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายทาดหมากโมเมืองหลวงพระบาง กล่าวกันว่าสร้างมา 500 ปีเศษแล้ว ตั้งอยู่ในเส้นทางเดียวกับที่จะไปเฮือนหิน ห่างจากสะหวันนะเขต 65 กิโลเมตร
ป่าสงวนพูช้างแห รัฐบาลสวีเดน ร่วมกับกรมป่าไม้ลาวเป็นผู้จัดนำเที่ยวบริเวณนี้เพียงรายเดียว ด้วยรูปแบบผสมผสานระหว่างการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ได้แก่ การเดินป่า ปีนเขาและโฮมสเตย์ เข้าพักในบ้านของชนกลุ่มน้อยท้องถิ่นเพื่อสัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาอย่างใกล้ชิด
เซโปน เป็นเมืองทางตะวันออกของสะหวันนะเขต ตามทางหลวงหมายเลข 9 ไป 190 กิโลเมตร เป็นเมืองที่ถูกสงครามทำลายจนยับเยิน ปัจจุบันยังคงมีกับระเบิดและซากยุทโธปกรณ์ทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก
หอไตรวัดหนองลำจัน หอไตรแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัดหนองลำจัน สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 23 โดยพระอาจารย์ลักคำพา ใช้เป็นสถานที่เก็บพระไตรปิฎก ภาษาบาลี-สันสฤต, เขมร และอักษรธรรมภาษาลาวในใบลาน มีมากถึง 219 เรื่อง จำนวน 326 มัด 2,391 ผูก มีอายุเก่าแก่กว่า 200 ปี ถือเป็นสถานที่เก็บเก่าแก่ และมากที่สุดในประเทศลาว
หนองปลาฝา หนองปลาฝา หรือชาวบ้านบางทีเรียก “หนองหลวง” ระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตรจากตัวเมือง ผ่านบ้านหลัก 35-บ้านนาคู-บ้านแก้งกอก-บ้านตาแหลวใหญ่ เลึ้ยวซ้ายไปไม่ไกล จะพบบึงหรือหนองน้ำกว้างใหญ่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์จึงเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของแขวง ภายในบึงจะมีปลาฝา (ตะพาบน้ำ) เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านเชื่อกันว่า บนศาลที่ตั้งอยู่กลางน้ำมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองปกปักษ์รักษาหมู่บ้าน และปลาฝาน้อยใหญ่เหล่านี้ ปลาฝาแห่งนี้มีความเชื่องและคุ้นเคยกับคน นักท่องเที่ยวสามารถให้อาหารได้ แต่ความทำด้วยความระมัดระวัง ค่าธรรมเนียมเข้าชม: 3,000 กีบ
เฮือนหิน จะพบ “เฮือนหิน” หรือ บ้านหิน เชื่อกันว่าสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักเขมร เนื่องจากมีรูปแบบคล้ายคลึงกับปราสาทวัดพู และพระธาตุอูมง ที่แขวงจำปาสัก และปราสาทอีกหลายแห่งตามจังหวัดทางภาคอีสานของไทย
แก่งพะนัง ถือเป็นจุดชมวิวที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง ด้วยเกาะแก่ง และก้อนหินขนาดมหึมา ในช่วงหน้าแล้งสามารถลงไปเดินเล่นบริเวณดอนทรายที่ผุดขึ้นมาได้
รอยเท้าไดโนเสาร์ ช่วงสะพานข้ามแม่น้ำเซซัมซอย เป็นที่ตั้งของบ้านพะลานไซ เข้าไปประมาณ 150 เมตร บริเวณที่เรียกว่าแก่งน้ำแก้วหลวง จะพบร่องรอยเท้าจำนวน 17 รอย และฝั่งด้านตรงข้ามน้ำอีก 18 รอย โดยมีการทำสัญลักษณ์พ่นสีสเปรย์วงไว้อย่างชัดเจน
ดงลิง ถัดไปไม่ไกลนักที่บ้านดงเมือง จะมีป่าที่ชาวบ้านเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของ ศาลเจ้ามเหสัก เป็นอาณาจักของลิงหลายชนิดเป็นจำนวนมาก