Line ID: 0863399940



 

แขวงจำปาศักดิ์
จำปาศักดิ์ (ลาว: ຈໍາປາສັກ; อักษรโรมัน: Champasak) เป็นแขวงหนึ่งของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศ ติดชายแดนประเทศไทยและกัมพูชา มีเมืองปากเซเป็นเมืองหลักของแขวง และเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของลาว (รองจากเวียงจันทน์และเมืองไกสอน พมวิหาน) ถือเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการท่องเที่ยวของลาวตอนใต้ เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีแม่น้ำโขงไหลผ่านกลางและเกิดเกาะแก่งเป็นจำนวนมากจนได้ชื่อว่า "ดินแดนสี่พันดอน"
แขวงจำปาศักดิ์เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากเป็นพื้นที่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรขอมโบราณและเป็นที่ตั้งของอาณาจักรจำปาศักดิ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างในเวลาต่อมา แขวงจำปาศักดิ์จึงมีมรดกทางวัฒนธรรมหลงเหลืออยู่มากมาย ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศลาว โดยเฉพาะมรดกโลกปราสาทหินวัดพู นอกจากนี้ แขวงจำปาศักดิ์ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก เช่น น้ำตกคอนพะเพ็ง น้ำตกหลี่ผีน้ำตกผาส้วม เป็นต้น
แขวงจำปาสัก เป็นแขวงที่มีความหลากหลายของสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และประวัติศาสตร์ให้เยี่ยมชม แต่ละแห่งอยู่ไกลกันค่อนข้างใช้เวลาในการเดิน ทาง ดังนั้นควรมีเวลาสัก 3 วัน 2 คืน เพื่อจะได้เที่ยวชมได้ครบ โดยโปรแกรมที่ไม่ควรพลาดคือการเดินทางไปชมความยิ่งใหญ่ของน้ำตกคอนพะเพ็งและหลี่ผีต่อด้วยการชม ปราสามวัดพูโบราณสถานครั้งเก่าก่อนนครวัด และปิดท้ายด้วยการไปชม น้ำตกตาดฟาน ตาดเยือง ตาดผาส้วม
ปากเซ เมืองหลวงของแขวงจำปาสัก จากชายแดนช่องเม็กในอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ผ่านด่านวังเต่า ชายแดนของลาวที่ชาวบ้านจำนำสินค้ามาวางขาย นักท่องเที่ยวสามารถแวะชม แวะซื้อได้ตามสะดวก จากนั้นมาตามทางหลวงหมายเลข 10 ซึ่งเป็นถนนลาดยางอย่างดี ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตรก็จะถึงสะพานมิตรภาพ ลาว-ญี่ปุ่น มีความยาว 1,380 เมตร ข้ามแม่น้ำโขงมาถึงเมืองปากเซ เมืองหลวงของแขวงจำปาสัก ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของลาว สมัยนั้นฝรั่งเศสตั้งเมืองจำปาสัก ขึ้นมา เพื่อคานอำนาจกับเมืองจำปาสัก(บ้านวัดทุ่ง) ซึ่งมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ย้อนขึ้นไปถึงยุคก่อนเข้ามาตั้งรกรากของขอมโบราณ เมืองปากเซไม่มีอารยธรรมเก่าแก่เหมือน กับเมืองจำปาสัก แต่กลับมีความหลากหลายของเชื้อชาติ ประเพณีและวัฒนธรรม มีจำนวนประชากรอาศัยราว 70,000 คน นอกจากชาวลาวแล้วยังมีชาวจีนและเวียดนาม เข้ามา อาศัยและตั้งรกรากทำมาหากินจำนวนมาก บรรยากาศโดยทั่วไปในเมืองปากเซ เงียบสงบเป็นธรรมชาติ ชาวบ้านมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย
ประวัติ
อาณาจักรจำปาศักดิ์เกิดขึ้นหลังจากอาณาจักรฟูนานเสื่อมสลายลง ชาวลาวได้ย้ายถิ่นเข้ามาสร้างบ้านเรือนในแถบนี้ เกิดเป็นเมืองใหม่นามว่า จำปานครบุรีศรี หรือ จำปานคร ปรากฏชื่อในพงศาวดารเขมรว่า สยัมภูปุระ
เมื่อถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม ได้ทรงรวบรวมเมืองต่าง ๆ ของลาวเข้ามาเป็นอาณาจักรเดียวกันชื่อว่าอาณาจักรล้านช้าง มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง แต่เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มสิ้นพระชนม์ อาณาจักรล้านช้างเริ่มตกต่ำลงเพราะสงครามแย่งชิงอำนาจและการก่อกบฏต่างๆ นานนับร้อยปี จนถึง พ.ศ. 2063 พระเจ้าโพธิสารราชขึ้นครองราชย์และได้รวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง ต่อมาพระโอรสคือพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างมาอยู่ที่กรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) เพื่อหลีกเลี่ยงอิทธิพลของอาณาจักรหงสาวดี อาณาจักรล้านช้างมีความเจริญมา 200 ปีเศษก็เริ่มอ่อนแอลง หัวเมืองต่างๆ แตกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ อาณาจักรหลวงพระบาง อาณาจักรเวียงจันทน์ และอาณาจักรจำปาศักดิ์ตรงกับสมัยกรุงธนบุรีของสยาม ขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชระแวงว่าลาวจะร่วมมือกับพม่ายกทัพมาตี จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ยกทัพไปตีลาวทั้ง 3 อาณาจักรตกเป็นเมืองขึ้นของสยามนานถึง 114 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2436 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ดินแดนลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงรวมทั้งแขวงจำปาศักดิ์บางส่วนตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ขณะที่ดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงบริเวณเมืองจำปาศักดิ์ ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับมณฑลอุบลตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสในเวลาต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2447
ช่วงปี พ.ศ. 2484 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากกรณีพิพาทอินโดจีน ประเทศไทยได้รับดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสบางส่วนคืนจากฝรั่งเศส โดยนำท้องที่การปกครองเมืองจำปาศักดิ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 รวมไปถึงดินแดนประเทศกัมพูชาปัจจุบัน ได้แก่พื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดสตึงแตรงและพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพระวิหาร ยกขึ้นเป็นจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ โดยมีเจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) เป็นผู้ครองนคร แต่เมื่อสงครามสิ้นสุด ไทยในฐานะผู้แพ้สงครามต้องส่งดินแดนดังกล่าวคืนให้แก่ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อประเทศลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2497 จึงได้รวมอาณาจักรล้านช้างทั้ง 3 อาณาจักรขึ้นเป็นราชอาณาจักรลาว พื้นที่ดังกล่าวจึงได้ยกขึ้นเป็นแขวงจำปาศักดิ์ของประเทศลาวมาจนถึงปัจจุบัน โดยเจ้าครองนครองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรจำปาศักดิ์ ก่อนการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์
ในบรรดาแขวงต่างๆ ของลาวตอนใต้ต้องยกให้แขวงจำปาสัก เป็นแขวงที่รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากที่สุดทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เพราะภูมิศาสตร์ของแขวงนี้มีสภาพที่หลากหลาย ทั้งป่าใหญ่บนที่สูง และที่ราบลุ่มริมน้ำโขง เป็นแขวงที่มีแม่น้ำโขงไหลผ่านกลางแขวง อยู่ติดกับพรมแดนไทยที่ช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี สามารถนำรถเข้าไปเที่ยวได้สะดวกหรือจะใช้บริการแพ็กเก็จทัวร์ก็ได้ เมืองของแขวงจำปาสักคือ “ปากเซ” อยู่ห่างจากช่องเม็กเพียง 42 กิโลเมตร
แขวงจำปาสัก มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกติดกับชายแดนประเทศไทยทางด่านช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ทิศใต้ติดต่อกับเขตจังหวัดกัมปงทมของประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ประมาณ 15,415 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเมืองต่างๆ คือ เมืองปากเซ ชนะสมบูรณ์ ปากช่อง ประทุมพร สุขุมา จำปาสัก โพนทอง เมืองโขง มุลละปาโมก ในอดีตแขวงจำปาสักมีชื่อเรียกว่า เขตแคว้นของนครกาละจำบากนาคะบูริสี เป็นศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจของประเทศลาวตอนใต้ แต่ภายหลังที่ฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมตั้งเมืองปากเซขึ้นเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2448 เมืองจำปาสักซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของแขวงจำปาสักจึงถูกลดระดับความสำคัญลงไป
แขวงจำปาสัก ปรากฏชื่อในพงศาวดารเขมรว่า สะมะพูปุระ เมื่ออาณาจักรฟูนันเสื่มอำนาจ คนลาวได้ย้ายถิ่นเข้ามาสร้างบ้านเรือนกลายเป็นเมืองใหม่นามว่า จำปานะคะบุลีสีหรือจำปานคร ถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มได้ทรงรวบรวมเมืองต่างๆของลาวเข้ามาเป็นอาณาจักรเดียวกันชื่อว่าล้านช้าง เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในทุกด้าน มีเมืองหลวงอยู่ที่หลวงพระบาง แต่เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มสิ้นพระชนม์ อาณาจักรล้านช้างเริ่มตกต่ำลงเพราะสงครามแย่งชิงอำนาจและการก่อกบฏต่างๆนานนับร้อยปี จนถึง พ.ศ. 2063 พระเจ้าโพธิสารราชเจ้าขึ้นครองราชย์และรวบรวมแผ่นดินขึ้นใหม่ และได้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้าง มาอยู่ที่เวียงจันทน์เพื่อให้ไกลจากการรุกรานของสยาม อาณาจักรล้านช้างเจริญมาได้ 200 ปีเศษก็เริ่มอ่อนแอ แตกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ อาณาจักรหลวงพระบาง อาณาจักรเวียงจันทน์ และอาณาจักรจำปาสัก ซึ่งตรงกับสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชระแวงว่าลาวจะร่วมมือกับพม่ายกทัพมาตีไทย จึงโปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ยกทัพไปตีลาวทั้ง 3 อาณาจักร ตกเป็นของไทยนาน 114 ปีจนถึงปี พ.ศ. 2436 ไทยต้องยกลาวให้กับฝรั่งเศส แต่ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสเริ่มอ่อนแอ ญี่ปุ่นได้เข้ามาปกครองแทน แต่ภายหลังสิ้นสงครามโลกญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสได้กลับมาปกครองลาวอีกครั้งหนึ่ง จนถึงปี พ.ศ. 2497 ฝรั่งเศสแพ้สงครามโลกที่เดียนเบียนฟู ลาวได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ แต่กลับถูกสหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงทางการเมืองและการทหาร กลุ่มลาวรักชาติจึงได้ร่วมกันต่อสู้จนสหรัฐอเมริกาล่าถอย ลาวได้เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ยกเลิกสถาบันเจ้าชีวิตหรือสถาบันกษัตริย์ โดยเจ้าชีวิตองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรจำปาสักคือเจ้าบุญอุ้ม
ประชากร
มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 607,333คนความหนาแน่นของประชากรประมาณ 26 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร มีชนเผ่าทั้งหมด 18 เผ่าได้แก่
1. ลาวลุ่ม
2.ลาวส่วย
3.ละเวน
4. ผู้ไท
5 .กะตาง
6 .ตะโอย
7 .ยาเหิน
8.ขะแมลาว
9 .ละแว
10. อาลัก
11 .แงะ
12.กะตู
13 .เจง
14 .อินหรือโอย
15.กะเสง
16.ม้ง
17.ตะเหลียง
18.ออง
ศาสนา
ศาสนาในประเทศลาวที่สำคัญคือศาสนาพุทธ ชาวลาวลุ่มเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ส่วนชนเผ่าต่างๆนับถือธรรมชาติตามความเชื่อของแต่ละชนเผ่า พบในกลุ่มผู้ที่พูดภาษาตระกูลจีน-ทิเบต และ ไท-กะได เช่น ชาวไทดำ ไทแดง เช่นเดียวกับกลุ่มที่พูดภาษากลุ่มมอญ-เขมร ผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและโปรแตสแตนท์มีประมาณ 2% ศาสนากลุ่มน้อยอื่นๆได้แก่ลัทธิบาไฮ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธนิกายมหายาน และ ลัทธิขงจื๊อศาสนา ประชาชนลาวมากกว่าร้อยละ 90 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท เหมือนกับประชาชนชาวไทยและถือปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน
อย่างเคร่งครัด อีก 10% ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ ฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมเข้ามาเผยแพร่ในช่วงที่เข้ามาปกครองประเทศลาว
ภาษา ภาษาประจำชาติคือ ภาษาลาวมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาไทยในภาคอีสานของไทย นอกจากนี้คนลาวบางส่วนยังสามารถใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ดี สำหรับประชาชนชาวลาวทางตอนเหนือของประเทศสำเนียงการพูดและความหมายของคำบางคำคล้ายกับภาษาพื้นเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และเลย ทางตอนเหนือของประเทศไทย
ลาวลุ่ม หมายถึง ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ตามที่ราบลุ่มใกล้แม่น้ำโขง คิดเป็นร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด เช่น ไทลาว ไทเหนือ ไทแดง ไทขาว ผู้ไท ลาวพวน ไทลื้อ เป็นต้น
ลาวเทิง เป็นกลุ่มชนเผ่าที่อาศัยบนพื้นที่ที่มีความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร คิดเป็นประชากรร้อยละ 20 ของประเทศ เช่น สีดา บ่าแวะ ละแนด ฯลฯ
ลาวสูง เป็นประชากรส่วนน้อยอาศัยอยู่บนเทือกเขาสูง ส่วนใหญ่เป็นชาวม้งและเผ่าอื่นๆ เช่น มูเซอ ก่อ กุย
ระบบเงินตรา สกุลเงินของประเทศลาวคือ กีบ สำหรับเงินกีบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศลาวส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น ใบละ 1,000 2,000 5,000 10,000 20,000 กีบ (ไม่มีเงินในลักษณะเหรียญกษาปณ์)
ดอกไม้ประจำชาติ ดอกจำปาหรือคนไทยเรียกว่าดอกลั่นทม เป็นต้นไม้ที่สามารถปลูกขึ้นได้เองตามธรรมชาติ

การปกครอง
มีเลขาคณะพรรคแขวงจำปาศักดิ์/เจ้าแขวงจำปาศักดิ์ คือ นายสอนไซ สีพันดอน
รองเจ้าแขวงจำปาศักดิ์ คือ นายสมสะหนิด บุดติวง
แขวงจำปาศักดิ์ประกอบด้วยเมืองต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. เมืองปากเซ
2. เมืองชนะสมบูรณ์
3. เมืองบาเจียงเจริญสุข
4. เมืองปากช่อง
5. เมืองปทุมพร
6. เมืองโพนทอง
7. เมืองจำปาศักดิ์
8. เมืองสุขุมา
9. เมืองมูลปาโมกข์
10. เมืองโขง

ภูมิประเทศ
แขวงจำปาสัก มีพื้นที่ทั้งหมด 15,415 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศไทยและกัมพูชา ตำแหน่งที่ชายแดนทั้ง 3 ประเทศบรรจบกันเรียกว่า "สามเหลี่ยมมรกต" สภาพพื้นที่ประกอบด้วยพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงและแม่น้ำเซโดนบริเวณตอนกลาง มีแนวเทือกเขาสูงทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และติดต่อกับที่ราบสูงบริเวณทางทิศตะวันออก ซึ่งมีความสูงประมาณ 1,500-1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่โดยทั่วไปมีความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร

ภูมิอากาศ
แขวงจำปาสักมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส แต่บริเวณทางทิศเหนือของแขวงที่เมืองปากซองมีอากาศเย็นตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์สูง ปริมาณน้ำฝนระดับ 1,400-2,000 มิลลิเมตรต่อปี ยกเว้นที่ราบสูง
• ลักษณะภูมิศาสตร์ ในอดีตที่ผ่านมาประเทศลาวมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมาก แต่ต่อมาภายหลังมาเสียดินแดนบางส่วนให้กับสยาม จนกระทั่งเข้าสู่ยุคปลดปล่อยจากการปกครองของฝรั่งเศส ทำให้ประเทศลาวมีเนื้อที่เหลือเพียง 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญถึง 13 สาย ด้วยกัน อาทิเช่น น้ำคาน น้ำงึม น้ำซับ น้ำแบง ฯลฯ แม่น้ำที่สำคัญที่สุดของลาวและเป็นแม่น้ำนานาชาติคือแม่น้ำโขง หรือที่คนลาวเรียกกันว่า แม่น้ำของ ซึ่งบางส่วนของแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศลาวในแขวงจำปาศักดิ์มีความกว้างถึงหนึ่งกิโลเมตร เกิดเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ขวางกลางแม่น้ำโขงคือ น้ำตกคอนตะเพ็ง ซึ่งมีความยาวตามลำน้ำเกือบสิบกิโลเมตร และมีความสูงราว 20 เมตร จากนั้นกระแสน้ำจึงไหลเข้าสู่จังหวัดตึงเตรงในประเทศกัมพูชาต่อไป จากเขตแดนลาวมีความยาวทั้งสิ้น 4,500 กิโลเมตร ชายแดนที่ติดกับประเทศไทยมีความยาว 1,730 กิโลเมตรส่วนใหญ่มีแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดนทั้งสองประเทศ มีความยาวทั้งสิ้น 1,400 กิโลเมตร มีเทือกเขาที่สูงที่สุดในประเทศ ในแขวงเชียงขวางยอดเขาหลายแห่งมีความสูงกว่า 2,000 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศคือ ภูเบี้ย มีความสูงประมาณ 2,820 เมตร
• ลักษณะภูมิอากาศ ประเทศลาวตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ลักษณะทางภูมิศาสตร์มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก
ตั้งแต่ภาคกลางจนถึงภาคเหนือในแขวงพงสาลีที่มีเขตแดนอยู่ติดกับประเทศจีน ภูมิประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะเป็น
เทือกเขาสูงสลับซับซ้อนและที่ราบสูงอากาศค่อนข้างหนาวถึงหนาวจัด ส่วนทางทิศตะวันออกมีลักษณะเป็น เทือกเขาและที่ราบ
ติดกับประเทศเวียดนาม สำหรับทางตอนใต้สุดมีลักษณะเป็นเทือกเขาติดกับประเทศกัมพูชา ประกับกับที่ได้รับอิทธิพล
จากลมมรสุมในทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศลาวมีลักษณะทางภูมิอากาศแบ่งออกได้ 3 ฤดู คือ
• ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนเมษายน
• ฤดูฝน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม
• ฤดูหนาว เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนมกราคม

ทรัพยากร
เป็นทรัพยากรป่าไม้เป็นส่วนใหญ่ ประกอบไปด้วย
- เขตป่าสงวนแห่งชาติเซเบียน
- เขตป่าสงวนแห่งชาติดงหัวสาว
- เขตป่าสงวนแห่งชาติภูเซียงทอง

การคมนาคม
1.ทางหลวงหมายเลข 13 (ใต้) เชื่อมต่อกับแขวงสาระวัน แขวงสุวรรณเขต แขวงคำม่วน แขวงบริคำไชย นครหลวงเวียงจันทน์ และประเทศกัมพูชา
2.ทางหลวงหมายเลข 16 เชื่อมต่อกับประเทศไทย
3.ทางหลวงหมายเลข 18 เชื่อมต่อกับแขวงอัตปือ
4.ทางหลวงหมายเลข 20 เชื่อมต่อกับเมืองสาระวัน แขวงสาระวัน
5.ทางหลวงหมายเลข 23 เชื่อมต่อกับแขวงเซกอง
เรือโดยสาร
เรือโดยสารตามแม่น้ำโขง จากปากเซไปยังจำปาศักดิ์ และบริเวณสี่พันดอน

ท่าอากาศยาน
ท่าอากาศยานนานาชาติปากเซ

ด่านพรมแดนที่สำคัญ
1.ด่านพรมแดนวังเต่า ติดต่อกับประเทศไทยที่ด่านพรมแดนช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 90 กิโลเมตร
2.ด่านพรมแดนเวินคาม ติดต่อกับประเทศกัมพูชาทางเรือโดยสารตามแม่น้ำโขงไปยังเมืองสตึงแตรง
3.ด่านพรมแดนดงกระลอ ติดต่อกับประเทศกัมพูชาที่ด่านดงกะลอ จังหวัดสตึงแตรง โดยทางหลวงหมายเลข 13 (ใต้) ของลาวเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 7 ของกัมพูชา

การเดินทางจากพรมแดนไทย
จากด่านพรมแดนช่องเม็ก สามารถเดินทางผ่านด่านพรมแดนวังเต่าเข้าสู่ประเทศลาว จากนั้นมาตามทางหลวงหมายเลข 16 (เป็นถนนลาดยาง) ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร ข้ามแม่น้ำโขงที่สะพานลาว-ญี่ปุ่น ความยาว 1,380 เมตร เข้าสู่เมืองปากเซ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง โดยสามารถใช้บริการรถโดยสารจากชายแดนไทยที่สถานีขนส่งลาว ห่างจากด่านตรวจคนเข้าเมืองลาวประมาณ 300 เมตร มีทั้งรถโดยสารประจำทางและรถสองแถววันละหลายเที่ยว (แต่ถ้ามีประมาณ 3-4 คน แนะนำให้ใช้บริการรถยนต์รับจ้าง จะสะดวกและเร็วกว่า) นอกจากนี้ทั้งประเทศลาวและไทยได้ร่วมมือกันจัดเดินรถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศ จากตัวเมืองอุบลราชธานี-ปากเซ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา

เมืองสำคัญ
เมืองปากเซ เป็นเมืองเอกของแขวงจำปาศักดิ์ และถือเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของลาวตอนใต้ ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มีประชากรประมาณ 70,000 คน เป็นเมืองที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ประเพณีและวัฒนธรรม ทั้งชาวลาว ชาวจีน และชาวเวียดนาม บรรยากาศทั่วไปเงียบสงบเป็นธรรมชาติ ชาวบ้านมีวิถีชีวิตเรียบง่าย
เมืองจำปาศักดิ์ (บ้านวัดทุ่ง) เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรจำปาศักดิ์ และเคยเป็นเมืองเอกของแขวงจำปาศักดิ์ ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ภายหลังการยึดครองของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2448เมืองจำปาศักดิ์ได้ถูกลดความสำคัญลงเป็นเมืองบริวารของแขวง โดยย้ายเมืองเอกไปยังเมืองปากเซทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ห่างจากเมืองจำปาศักดิ์ไปทางทิศเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร
ที่พัก
1.โรงแรมจำปาสักพาเหรด หรือวังเจ้าบุญอุ้ม
2.โรงแรมคำเจริญ แขวงจำปาสัก เมืองปากเซโทร. 031 253 020, 020 5630 554
3.โรงแรมจำปาสักแกรนด์ ที่ตั้ง Lao Nippon Bridge Mekong Riverside Road, P.O. Box 419. Pakseเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโทร 856 – 031 - 255111-8, 260211แฟ๊กซ์ 856- 031 - 255119
4.โรงแรมจำปา เรสซิเดนซ์ โทร 02 105 5728
5.โรงแรมปากเซ
6.โรงแรมไผ่ถาวร
7.โรงแรมแสงอรุณ
8.โรงแรมดาวเวียง 2
9.โรงแรมเอราวัณ เมืองปากเซ แขวงจำปาสักโทร. (856 31) 260345-50 แฟ๊กซ์ : (856 31) 260567, 260678

ร้านอาหารจำปาสัก ร้านของฝากจำปาสัก
ร้านมณีพร ร้านอาอาหารเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก
ร้านอาหารแพคำฟองโทร 031 213 240, 031 252 973
ร้านอาหารแสงอรุณโทร 020 558 31399
ร้านอาหารตาดผาส้วมโทร 020 557 67678

วัฒนธรรม ประเพณี
1.งานบุญแข่งเรือออกพรรษา ที่เซโดม เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก
2.งานบุญนมัสกาล ประสาทหินวัดพู ชมพิธีแห่นางสีดา ประจำปี
3. งานบุญนมัสกาลอุมิง เรือนหิน ที่เมืองปะทุมพร

แหล่งท่องเที่ยว
• กิจกรรมท่องเที่ยวแขวงจำปาสักมีหลากหลายและน่าสนใจ หากชอบประวัติศาสตร์ก็ไปที่ปราสาทหินวัดพู มรดกโลกที่เมืองจำปาสัก ถ้าชอบธรรมชาติก็ไปดูความยิ่งใหญ่ของน้ำตกหลี่ผี น้ำตกคอนพะเพ็งซึ่งอยู่ทางตอนใต้ หรือน้ำตกตาดฟาน น้ำตกตาดเยือง น้ำตกตาดผาส้วม ซึ่งอยู่ที่ปากช่อง
สถานที่ท่องเที่ยวในตัวเมืองปากเซ
• วังเจ้าบุญอุ้ม : ตั้งอยู่ห่างจากเมืองปากเซไปทางทิศตะวันออกบนทางหลวงหมายเลข 13 ระยะทางประมาณ 500 เมตร
ในอดีตวังเจ้าบุญอุ้มเคยใช้เป็นที่ประทับของเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาสัก เจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายก่อนที่จะเกิดการปลดปล่อยหรือเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศเป็นระบอบสังคมนิยมในปี พ.ศ. 2518 ทำให้พระราชวังแห่งนี้ตกอยู่ในการดูแลของรัฐบาลลาว เจ้าบุญอุ้มเคยเป็นนายกรัฐมนตรีของลาวในปี พ.ศ. 2503 – 2505 ต่อมาภายหลังต้องเสด็จลี้ภัยทางการเมืองไปประทับที่ฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2517 และสิ้นพระชนม์ที่กรุงปารีสในปี พ.ศ. 2521 พระราชวังเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2511 แต่สร้างเสร็จหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2518 ทำให้เจ้าบุญอุ้มไม่มีโอกาสได้ครองพระราชวังหลังใหม่ ซึ่งถูกสร้างขึ้นอย่างงดงามเหนือลำน้ำเซโดน ตั้งอยู่เนินสูงใจกลางเมืองปากเซ ตัวพระราชวังเป็นตึกก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่สูง 6 ชั้น ได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศส สร้างโดยไม่มีการตอกเสาเข็ม แต่ใช้เสาจำนวนมากในการรับน้ำหนัก ภายในพระราชวังมีประตูหน้าต่างรวมกันกว่า 1,900 บาน ประตูหน้าต่างเหล่านี้ก่อสร้างและตกแต่งอย่างวิจิตรงดงาม จนได้รับการขนานนามว่า ศาลาพันห้อง ตัวพระราชวังหันหน้าไปทางแม่น้ำโขง ด้านหลังอยู่ติดแม่น้ำเซโดน
พระราชวังแห่งนี้ ทางรัฐบาลลาวใช้เป็นที่จัดประชุมพรรคและเป็นที่พำนักของแขกบ้านแขกเมืองมาจนถึง พ.ศ. 2538 ปัจจุบันพระราชวังได้รับการตกแต่งใหม่และเปิดเป็นโรงแรมที่ดีที่สุดในเมืองปากเซ ชื่อว่า โรงแรมจำปาสัก พาเลซ โดย ดร.ปองศักดิ์ ว่องพาณิชเจริญ ชาวจังหวัดศรีสะเกษ เป็นผู้บูรณะปรับปรุงใหม่ แผนของโรงแรมเป็นรูปตัว E ห้องล็อบบี้กรุด้วยไม้และแกะสลัก ห้องประชุมตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปลาวลุ่มกับชาวเขาเผ่าต่างๆ สำหรับชั้นที่ 6 เป็นชั้นบนสุดที่มีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบเมืองปากเซ สะพานมิตรภาพลาว – ญี่ปุ่น ทอดตัวยาวข้ามแม่น้ำโขง ตลอดจำสะพานเหล็กข้ามแม่น้ำเซโดนที่อยู่ติดด้านหลังของโรงแรมจำปาสัก พาเลซ และนับเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกที่สวยงามที่สุดในเมืองปากเซ
เจ้าบุญอุ้ม เป็นเจ้าผู้ครองแขวงจำปาสักองค์สุดท้าย ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี ค.ศ.1975 (พ.ศ.2518) ทำให้วังของเจ้าบุญอุ้มอยุ่ในความดูแลของรัฐบาล ส่วนเจ้าบุญอุ้มลี้ภัยไปประทับอยู่ที่ฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1978 (พ.ศ.2521) โดยที่ ตัวเจ้าบุญอุ้ม ซึ่งเป็นเจ้าของวังนั้น ไม่เคยอยู่ในวังของตัวเองเลย เพราะอพยพไปอยู่ฝรั่งเศสเสียตั้งแต่ก่อนวังจะสร้างเสร็จ
เจ้าบุญอุ้ม เป็นบุตรคนโตของเจ้าราชนัดดาหยุย เจ้าครองนครจำปาสัก เรียนจบมาจากสำนักการศึกษาในอินโดจีนของฝรั่งเศส ณ เมืองฮานอย ครั้งสงครามอินโดจีนเมื่อไทยกับฝรั่งเศสรบกันเมื่อปี พ.ศ.2484 เจ้าบุญอุ้มยังเป็นข้าราชการในรัฐบาลฝรั่งเศส ครั้งนั้น ไทยตีเข้ามายึดดินแดนที่เสียให้แก่ฝรั่งเศส ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งรวมถึงเขตเมืองนครจำปาสัก ญี่ปุ่นซึ่งเริ่มแผ่อิทธิพลในอินโดจีนได้เข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยสงบศึก ฝ่ายไทยได้ดินแดนฝั่งตะวันตก (ฝั่งขวา) ของแม่น้ำโขงกลับคืนมา และญี่ปุ่นเข้ามาครอบครองลาวส่วนที่เหลือทั้งหมด
เจ้าบุญอุ้ม หนีออกจากเมืองตั้งแต่กองทัพไทยบุกเข้าเมือง ไปอยู่กับฝรั่งเศส และได้เป็นหัวหน้ารวบรวมประชาชนแถบลาวใต้ ขึ้นเป็นกองโจรต่อต้านญี่ปุ่น เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยต้องคืนดินแดนที่ได้มาเมื่อปี พ.ศ.2484 ให้กับฝรั่งเศส แต่ลาวต้องกลับไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสตามเดิม เจ้าบุญอุ้มได้รับการสมนาคุณจากฝรั่งเศสถึงขนาดให้เป็น ผู้ตรวจการใหญ่ มีอำนาจรองจากเจ้ามหาชีวิต ตั้งแต่นั้นมา เจ้าบุญอุ้มก็มีช่องทางหาเงินได้มากมาย โดยเฉพาะจากกิจการเหมืองแร่ และต่อมายังมีกิจการค้าอาวุธกับพวกคอมมิวนิสต์อีกด้วย
เจ้าบุญอุ้ม เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ประเทศลาว ในฐานะผู้ทรงอิทธิพลฝ่ายอนุรักษ์นิยมขวาจัด จากภาคใต้ที่อุดมสมบูรณ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีลาวถึง 2 สมัย คือ พ.ศ.2491-2493 และ พ.ศ.2503-2505 ถึงช่วงปี พ.ศ.2513 การเมืองลาวแตกเป็นหลายก๊กหลายเหล่า เจ้าบุญอุ้มซึ่งขณะนั้นมีฐานที่มั่นอยู่ทางใต้ที่เมืองปากเซ พอลาวเกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี พ.ศ.2518 ก็หนีไปอยู่ฝรั่งเศสและไม่กลับมาอีก ทิ้งวังที่กำลังก่อสร้างค้างไว้ ต่อมารัฐบาลลาว ให้บริษัทคนไทยจัดการต่อเติมจนเสร็จ และเปิดเป็นโรงแรมในภายหลัง
วังแห่งนี้ สร้างขึ้นเป็นตึกก่ออิฐถือปูน และฉาบปูนขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางแม่น้ำโขงด้านหลังติดกับแม่น้ำเซโตนที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขงที่ปากน้ำเซ อันเป็นชื่อของเมืองปากเซ จากอาคารชั้นที่ 6 จะมองเห็นทิวทัศน์ของตัวเมืองปากเซจากมุมสูง โดยเฉพาะเวลาตอนเช้าและเวลาตอนเย็น จะสวยมาก
จุดเด่นอีกอย่างคือ แต่ละชั้นจะมีหน้าต่างมากมาย จนได้รับชื่อว่า "ศาลาพันห้อง" เพราะถ้าให้คนหนึ่งคนปิดและเปิดหน้าต่างทั้งหมด จะใช้เวลา 1 วันพอดี ปัจจุบัน วังของเจ้าบุญอุ้ม ได้ถูกดัดแปลงเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งของเมืองปากเซ เรียกว่า "โรงแรมจำปาสักพาเลส"

• วัดถ้ำไฟ : ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเซโดน ห่างจากโรงแรมจำปาสัก พาเลซ มาทางทิศตะวันออกประมาณ 100 เมตร
วัดถ้ำไฟ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าวัดพระพุทธบาท เนื่องจากภายในพระอุโบสถมีรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ ถัดมาทางซ้ายเป็นหอแจก ลักษณะเป็นตัวอาคารทรงโรม หลังคาลาดต่ำ ชาวบ้านใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนา จุดเด่นอยู่ตรงที่สิมตรงกลางหลังคารูปช้างสามเศียร ซึ่งหมายถึงอาณาจักรทั้ง 3 ของลาว ได้แก่ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาสัก
วัดถ้ำไฟ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเซโดน ห่างจากโรงแรมจำปาสัก พาเลซ มาทางทิศตะวันออกประมาณ 100 เมตร
วัดถ้ำไฟ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าวัดพระพุทธบาท เนื่องจากภายในพระอุโบสถมีรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ ถัดมาทางซ้ายเป็นหอแจก ลักษณะเป็นตัวอาคารทรงโรม หลังคาลาดต่ำ ชาวบ้านใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนา จุดเด่นอยู่ตรงที่สิมตรงกลางหลังคารูปช้างสามเศียร ซึ่งหมายถึงอาณาจักรทั้ง 3 ของลาว ได้แก่ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาสัก

• ตลาดเก่า : ตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมือง ตรงข้ามศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเมืองปากเซ
แม้ว่าปัจจุบันจะมีการเปิดตลาดใหม่ขึ้นก่อนถึงสะพานมิตรภาพลาว – ญี่ปุ่น แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ยังมานิยมจับจ่ายใช้สอยที่ตลาดเก่า เพราะตั้งอยู่ใจกลางเมือง ชาวบ้านจะนำสินค้าพวกผ้าทอพื้นเมือง เครื่องอุปโภค บริโภค ตลอดจนผักผลไม้มาวางขาย ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้ามาจากไทย
นอกจากนี้บริเวณตลาดเก่ายังมีคิวรถโดยสาร VIP จากปากเซ – เวียงจันทน์ ให้บริการอีกด้วย ซึ่งจะออกเวลาประมาณ 2 ทุ่ม และจะมาถึงเวียงจันทน์ 6 โมงเช้า

• วัดหลวง : ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเซโดน ทางทิศเหนือของตลาดเก่า วัดหลวงสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2478 เป็นวัดเก่าแก่และมีความสำคัญในเมืองปากเซ เพราะเป็นสถานที่เก็บอัฐิของราชวงศ์สายจำปาสักหลายพระองค์ รวมทั้งอัฐิของท่านกระต่าย โดนสะโสลิด อดีตนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลฝ่ายอนุรักษ์นิยม มีลักษณะเป็นสถูปเจดีย์เรียงรายโดยรอบวัด จุดเด่นน่าชมอยู่ที่บานประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถ แกะสลักด้วยไม้ลวดลายสวยงาม ถัดมาทางขวาของพระอุโบสถเป็นอาคารเก่าแก่ ซึ่งใช้เป็นหอสมุดและสำนักงานของครู ส่วนด้านหลังเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น อยู่ติดกับแม่น้ำเซโดนใช้เป็นโรงเรียนสอนพุทธศาสนาสำหรับพระสงฆ์
วัดหลวงหรือวัดโพธิ์ระตะนะสาสะดารามเป็นวัดเก่าแก่และเป็นโรงเรียนสงฆ์แห่งแรกของจำปาสัก สร้างโดยพระยาคูขี้หอมหรือพระครูหลวงโอเสม็ดเป็นพระผู้มาปกครองเมืองจำปาสักและเป็นองค์เดียวกันกับองค์ที่บูรณะพระธาตูพนมครั้งที่2 วัดเก่าแก่ ปากเซ ลาวใต้ ไกล้กับ แม่น้ำเซโดน ( แม่น้ำเซโดน คือ แม่น้ำ ที่แยกออกมากจาก แม่น้ำโขงในเมือง ปากเซ ) วัดหลวง ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2478 เป็น วัดหลวง ปากเซ เป็น วัดเก่าแก่ โบราณและมีความสำคัญใน เมืองปากเซ เนื่องจาก วัดหลวง เป็น ที่สถานที่เก็บ อัฐิ ของ เจ้าเมือง ราชวงศ์สายจำปาสัก หลายพระองค์ รวมทั้ง อัฐิ ของ ท่านกระต่าย โดนสะโสลิด อดีตนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลฝ่ายอนุรักษ์นิยม มีลักษณะ เป็น สถูปเจดีย์ เรียงรายโดยรอบวัด จุดเด่นน่าชม อยู่ที่ บานประตู และ
หน้าต่างของ พระอุโบสถ ของ วัดหลวง ที่ แกะสลักด้วย ไม้ลวดลายสวยงาม ภายใน วัดหลวง ยังมี พระอุโบสถ เป็นอาคารเก่าแก่ ซึ่งใช้เป็น หอสมุด ส่วนด้านหลังเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น อยู่ติดกับ แม่น้ำเซโดน ใช้เป็นสำนักเรียนปริยัติธรรม ของ พระสงฆ์ ซึ่งเป็น ศูนย์ การเรียน การสอน ของ พระ ใน เมืองปากเซ ดังเช่น
วิทยาลัยสงฆ์ ใน จังหวัดต่าง ๆ ของ ไทย

สถานที่ท่องเที่ยว

1.ปราสาทวัดพู ห่างจากตัวเมืองจำปาสักมาทางทิศใต้ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ปราสาทวัดพู หรือวัดพูจำปาสัก ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในอดีตที่ตั้งของวัดพูเคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของแหล่งอารยธรรมโบราณถึง 3 สมัยด้วยกันคือ อาณาจักรเจนละในช่วงศตวรรษที่ 6-8 ค้นพบจารึกกล่าวถึงการฆ่าคนเพื่อบูชาแด่ เทพเจ้า ต่อมาเป็นยุคของอาณาจักรขอมสมัยก่อนเมืองพระนครที่เลือกบริเวณนี้เป็นที่สร้างปราสาทหินในราวศตวรรษที่ 9 และสุดท้ายอาณาจักรล้านช้างได้เปลี่ยนเทวาลัย ในศาสนาฮินดูให้เป็นวัดในพุทธศาสนานิกายเถรวาท สิ่งโดดเด่นสะดุดตาแก่ผู้พบ
เห็นคือ ภูเขาด้านหลังปราสาทที่ตั้งตระหง่านมองเห็นแต่ไกล รูปร่างคล้ายนมของผู้หญิงและคนเ กล้ามวยผม ซึ่งเป็นที่มาของชื่อภูผาแห่งนี้ว่าเขานมสาว แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าภูเกล้ามากกว่า อาณาเขตของปราสาทวัดพูเริ่มต้นจากริมฝั่งแม่น้ำโดยมีบันไดทางขึ้นลด หลั่นกันขึ้นมา 3 ชั้น จนถึงองค์ประธานของปราสาทซึ่งอยู่ชั้นบนสุด นอกเขตวัดมีบารายขนาดใหญ่ ซึ่งในสมัยโบราณใช้เป็นที่แข่งเรือและที่สรงน้ำสำหรับพิธีกรรมต่างๆ เมื่อเข้าไปในบริเวณวัด จะเห็นซากวังที่พระราชวงศ์สายจำปาสักให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรงานเทศกาลประจำปี ซึ่งจะจัดขึ้นในวัน 15 ค่ำ เดือน 3 สืบทอดจนมาถึงทุกวันนี้ ถัดมามีบันไดทางขึ้นที่ตัดในแนวตะวันออก-ตะวันตก ทอดผ่านสระน้ำทรงสี่เหลี่ยม 2 แห่งตรงขึ้นไปสู่ชาลา(ทางเดิน) ชั้นกลางซึ่งมีปรางค์ 2 หลังขนาบข้าง สันนิษฐานจากภาพแกะสลักรูปเทพเจ้าว่า ปรางค์ด้านขวามือเป็นสถานที่บวงสรวงบูชาสำหรับบุรุษ ส่วนปรางค์ทางด้านซ้ายมือเป็นสถานที่บวงสรวงสำหรับสตรี เหนือโคปุระหรือประตูทางเข้าปรางค์ทั้งสอง เป็นทับหลังแกะสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องราวในศาสนาฮินดูเดินต่อมาผ่านสิ่งปลูกสร้างหลายหลังมีสภาพปรักหักพัง จนมองไม่ออกว่าสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ใด ผ่านบันไดที่มีรูปร่างคล้ายเกล็ดนาคมาถึงหินสลักรูปโยนีสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของศาสนาฮินดูที่อยู่ทางขวามือและ ซ้ายมือของทางเดินหลัก ถัดมาที่บันไดสูงชันที่ทอดขึ้นสู่ชาลาชั้นที่ 3 ผ่านทิวแถวของต้นจำปาเรียงรายสองข้างทางมาถึงปรางค์ประธานตั้งอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพังของ เทวรูป ทับหลัง และต้นไม้น้อยใหญ่ ในอดีตมีการต่อรางนำน้ำที่ไหลออกจากหินย้อยในหลืบถ้ำบริเวณด้านหลังมาสู่ศิวลึงค์ที่ประดิษฐานอยู่ภายในประธาน เพื่อใช้ในการ ประกอบพิธีกรรม ซึ่งบ่งบอกได้ว่าปราสาทวัดพูแห่งนี้ในอดีตเคยเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดูไศวนิกาย แต่ปัจจุบันศิวลึงค์ได้ถูกนำออกมาและเปลี่ยนเป็นพระพุทธรูป
ในศาสนาพุทธแทน ชาวบ้านนิยมนำดอกไม้และธูปเทียนมาบูชา และเรียกปรางค์ประธานแห่งนี้ว่าหอไหว้ ส่วนทางด้านหลังซ้ายมือของปรางค์ประธานมีแผ่นหินขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีภาแกะสลักรูปตรีมูรติขนาดเกือบเท่าคนจริง ซึ่งหมายถึง เทพเจ้าทั้ง 3 องค์ ผู้เป็นใหญ่สูงสุดในศาสนาฮินดูอันได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม เดินถัดมาประมาณ 10 เมตร จะพบก้อนหินสองก้อน แกะสลักเป็นรูปจระเข้และบันไดนาคตั้งอยู่ตรงข้ามกัน เชื่อว่าอาจเป็นฝีมือของชาวเจนละในสมัยนั้น ท สลักไว้เพื่อใช้ในพิธีบูชายัญก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังพบก้อนหินรูปร่างกลมขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนยอดเขาแกะสลักเป็นรูปหัวช้างเชื่อว่าเป็นหลักฐานชิ้นสุดท้ายสมัยขอมเรืองอำนาจสำหรับงานบุญประเพณีของวัดพูเป็นเทศกาลที่โด่งดัง และดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ โดยจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งจะจัด ติดต่อกัน 3 วัน โดยประชาชนชาวลาวจากทั่วทุกแขวงจะเดินทางนำสิ่งของมาบวงสรวงบูชาตามจุดต่างๆ ในบริเวณองค์ประธาน สำหรับในวันสุดท้ายพระสงฆ์จะออกมา บิณฑบาต พอตกค่ำจะมีพิธีเวียนเทียนไปรอบๆ องค์ประธาน

2.น้ำตกคอนพะเพ็ง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สุดในเขตแม่น้ำโขงตอนล่าง ตั้งอยู่บนแก่งหินขนาดใหญ่ขวางกั้นเส้นทางการไหลของแม่น้ำโขงทั้งสาย มีลักษณะต่างระดับ กันสูงประมาณ 10 เมตร ซึ่งแม้จะมีชั้นของหินไม่สูงมากนัก แต่กระแสน้ำที่ไหลถาโถมกันลงมามีความรุนแรงมาก ด้วยแม่น้ำโขงทั้งสายไหลลงมาจากนั้นก็จแยกออกมาเป็นหลายสายสาเหตุเพราะแรงดันของน้ำจำนวนมหาศาลที่ไหลบ่าถาโถมกระหน่ำ ลงมาจากชั้นหินราวกับจะถล่มทลายแก่งหินอย่าดุดันและเกรี้ยวกราด สร้างความตื่นนา ที่น่าประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว สมกับคำร่ำลือและยกย่องให้เป็น ไนแองการ่าแห่งเอเชีย ความยิ่งใหญ่ของสายน้ำที่กระโจนบิดตัวปะทะแก่งหินน้อยใหญ่ จนเดือดพล่านกระจาย เป็นละอองไอน้ำแทรกตัวปกคลุมอยู่ตามแก่งหินแทบทุกอณูของบรรยากาศ
น้ำตกคอนพะเพ็ง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในภูมิภาคอินโดจีน น้ำตกคอนพะเพ็งเป็นน้ำตกที่มีหลายชั้น ตั้งอยู่บนแก่งหินขนาดใหญ่ขวางกั้นเส้นทางการไหลของแม่น้ำโขงทั้งสาย มีลักษณะต่างระดับกันสูงประมาณ 10 เมตร จัดเป็นน้ำตกที่ได้รับน้ำจากแม่น้ำโขงตอนล่าง
น้ำตกคอนพะเพ็งมีความสูง 21 เมตร (69 ฟุต) กระแสน้ำไหลเชี่ยว 9.7 กิโลเมตร (6.0 ไมล์) ปริมาณน้ำตกลงมาด้วยความเร็วประมาณ 11,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที (390,000 ลูกบาศก์ฟุต/วินาที) แม้ว่าปริมาณสูงสุดในบันทึกได้ถึงกว่า 49,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที (1,700,000 ลูกบาศก์ฟุต/วินาที)
น้ำตกคอนพะเพ็ง ได้รับฉายาว่า "ไนแองการาแห่งเอเชีย" ตั้งอยู่ในแขวงจำปาสัก ประเทศลาว ห่างจากเมืองปากเซประมาณ 150 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อและสวยงามมากแห่งหนึ่งของประเทศลาว
โดยคำว่า "คอน" หมายถึง "แก่ง" หรือ "เกาะ" "พะเพ็ง" หมายถึง “พระจันทร์วันเพ็ญ”
นอกจากนี้แล้ว น้ำตกคอนพะเพ็งยังเป็นสถานที่อาศัยของสัตว์น้ำหายากหลายชนิด เช่น ปลาค้อคอนพะเพ็ง ที่เป็นปลาค้อเฉพาะถิ่นที่พบได้ในแถบนี้เท่านั้น และเป็นแหล่งอาศัยของโลมาหัวบาตร หรือ "ปลาข่า" ในภาษาลาว โลมาเพียงไม่กี่ชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดได้ของโลก รวมถึงเป็นแหล่งกำเนิดของปลาบึก ซึ่งเป็นปลาหนังน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย เป็นต้น

3.น้ำตกหลี่ผี (ตาดสมพะมิด) น้ำตกหลี่ผีตั้งอยู่ในเขตดอนคอน ช่วงที่เหมาะสมแก่การเที่ยวชมคือเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน เพราะคุณจะเห็นสายน้ำจำนวนมาก ในแก่งหลี่ผีที่ไหลถาโถมผ่านเนินหินโขดหินลงมาด้วยกำลังแรงแตกเป็นละอองสีขาวไปทั่วแก่งดูสวยงามตื่นตามาก
หลี่ เป็นภาษาลาว หมายถึง เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายลอบ ส่วนคำว่า ผี หมายถึงศพคนตาย ซึ่งบริเวณน้ำตกหลี่ผีจะมีกระแสน้ำไหลบ่าตามพื้นที่ราบ ผ่านแผ่นหิน แล้วไหลตกลงมาตรงช่องซอกเขาที่แตกแยกออกจากัน กระแสน้ำสีเขียวเข้มในหน้าแล้งหรือสีชาในฤดูฝนจะไหลบ่าตกลงมาเบื้องล่าง จากนั้นไหลบ่าตกลงมา เบื้องล่าง จากนั้นจึงไหลไปตามรอยแยกของซอกเขาเป็นทางยาวหลายกิโลเมตร จุดที่พบศพจำนวนมากคือบริเวณร่องหินของน้ำตกหลี่ผี บริเวณนี้กระแสน้ำจะไหลมารวมตัว กัน เป็นแอ่งขนาดใหญ่ จากนั้นน้ำจะวนไปมาแล้วจึงไหลตกลงไปด้านล่างซอกและหลืบหินแคบๆ ทำให้ศพของทหารในสมัยสงครามอินโดจีนจำนวนมากลอยมาติดในหลี่จับปลา ชาวลาวจึงเรียกน้ำตกแห่งนี้ว่า หลี่ผี

เมื่อเพื่อนเดินทางมาถึงลาวใต้แล้ว ก็คงหนีไม่พ้น การเดินทางท่องเที่ยวแบบผจญภัยอย่างแน่นอนครับ ถ้าเกิดใครได้มาทัวร์ลาวใต้ การเที่ยวชมน้ำตกเป็นอะไรที่ไม่ควรพลาดอย่างเด็ดขาดครับ หลังจากที่แนะนำ ไนแองการ่าแห่งเอเชียไปแล้ว อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่ยอดฮิตในลาวใต้นี้ยังมีอีกเพียบครัวสำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่เราจะแนะนำกันในวันนี้นั้น เป็นน้ำตกเช่นเคยครับ “น้ำตกหลี่ผี ” นั่นเองครับ ฟังจากชื่อแล้ว ไม่น่าไปเลยใช่ไหมครับ คงมีผีเยอะน่าดู
แต่ไม่ต้องกังวลไปหรอกครับ ถ้าน่ากลัวขนาดนั้นคงไม่จัดให้เป็นสถานที่ยอดฮิตหรอกครับ ถ้าเพื่อนๆที่ต้องการเดินทางไปลาวใต้ แล้วเที่ยว น้ำตกหลี่ผีแห่งนี้ เรามาฟังเรื่องราวของสถานที่แห่งนี้กันก่อน เป็นข้อมูลก่อนการเดินทางครับ
น้ำตกหลี่ผี (ตาดสมพะมิด) น้ำตกหลี่ผีแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตดอนคอนครับ ช่วงที่เหมาะสมแก่การเที่ยวชมคือเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายนนั่นเองครับ เพราะเพื่อนๆจะเห็นสายน้ำจำนวนมาก ในแก่งหลี่ผีที่ไหลถาโถมผ่านเนินหินโขดหินลงมาด้วยกำลังแรงแตกเป็นละอองสีขาวไปทั่วแก่งดูสวยงามตื่นตามากครับ
หลี่ เป็นภาษาลาวครับ หมายถึง เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายลอบ ส่วนคำว่า ผี หมายถึงศพคนตายนั่นเองครับ ซึ่งบริเวณน้ำตกหลี่ผีแห่งนี้จะมีกระแสน้ำไหลบ่าตามพื้นที่ราบ ผ่านแผ่นหิน แล้วไหลตกลงมาตรงช่องซอกเขาที่แตกแยกออกจากันนั่นเอง
กระแสน้ำสีเขียวเข้มในหน้าแล้งหรือสีชาในฤดูฝนนั้นจะไหลบ่าตกลงมาเบื้องล่าง จากนั้นจึงไหลไปตามรอยแยกของซอกเขาเป็นทางยาวหลายกิโลเมตร ส่วนจุดที่พบศพจำนวนมากนั้น คือ บริเวณร่องหินของน้ำตกหลี่ผีนั่นเองครับ บริเวณนี้กระแสน้ำจะไหลมารวมตัวกัน กลายเป็นแอ่งขนาดใหญ่ จากนั้นน้ำจะวนไปมาแล้วจึงไหลตกลงไปด้านล่างซอกหลืบหินแคบๆ ทำให้ศพของทหารในสมัยสงครามอินโดจีนจำนวนมากลอยมาติดในหลี่จับปลานั่นเองครับ ชาวลาวจึงเรียกน้ำตกแห่งนี้ว่า หลี่ผี
สำหรับการเดินทางไปแก่งหลี่ผีนั้น แก่งหลี่ผีจะอยู่ใกล้กับน้ำตกคอนพะเพ็งครับ เพียงแต่ต้องนั่งเรือหางยาวจากบ้านนากะสัง ลัดเลาะแม่น้ำโขงสู่บ้านดอนคอนนั่นเองครับ จากนั้นเดินผ่านหมู่บ้านริมแม่น้ำโขงไปแก่งหลี่ผีอีก 2 กิโลเมตร หรือใครจะเลือกนั่งรถอีแตกก็ได้นะครับ ไป-กลับ ราคาอยู่ที่ 40 บาทครับ แต่ฝากเตือนนักเที่ยวไว้หน่อยก็แล้วกันครับ เส้นทางที่ไปน้ำตกหลี่ผี นั้นเป็นเส้นทางที่ทรหดอดทนพอสมควรครับ เพราะฉะนั้นเตรียมใจไว้เลยครับ

4.น้ำตกตาดฟาน ที่ตั้ง ใช้ทางหลวงหมายเลข 23 เส้นทางไปปากซอง มาถึงหลักกิโลเมตรที่ 38 มีทางแยกเข้าขวามือ ตาดฟาน เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในแขวงจำปาสัก เรียกอีกชื่อว่า น้ำตกดงหัวสาว จุดเดินอยู่ตรงสายน้ำ 2 สาย ที่ไหลลงจากหน้าผาสูงราว 120 กิโลเมตรโดยสายน้ำทางซ้ายมือไหลมาจากห้วยผักกูด และทางขวามือเป็น สายน้ำที่ไหลมาจากเขตอุทยานแห่งชาติดงหัวสาว มีจุดชมวิวที่ตั้งอยู่คนละฟากเขากับตัวน้ำตกในระดับความสูงเท่าๆ กัน จากตรงนี้สามารถชมวิวตัวน้ำตกในมุมสูง ได้อย่างชัดเจน และในยามเช้ายังเป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามอีกด้วย
น้ำตกอีกแห่งในลาวใต้ที่มีความสวยงามเช่นกัน ถนนหนทางที่จะไป เมื่อแยกจากถนนเส้นหลักแล้ว ก็ไม่ไกลมากนัก รถบัสเข้าไปถึงสองข้างทางเต็มไปด้วยไร่ชากาแฟของชาวบ้านเป็นจำนวนมาก มัคคุเทศก์ลาวบอกว่า เขตเมืองนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำสวนทำไร่ สวนทุเรียน ไร่ชากาแฟ มิหน้าล่ะผมมองจากการเดินทางสองข้างทางเส้นหลัก บ้านทุกหลังจะเห็นต้นทุเรียนหน้าบ้าน ข้างบ้าน หลังบ้าน สวนชากาแฟก็เยอะแยะ
ถึงน้ำตกก็เห็นร้านค้าของชาวบ้านเรียงสองริมทางเดินเชิญชิมชา ดื่มกาแฟ และซื้อของฝากของที่ระลึก มีต้นกาแฟ กล้วยไม้หลากหลาย ปากทางเข้าน้ำตกมีที่นั่งแหกตาสามัคคี (ถ่ายภาพหมู่) มีสามภาษาติดไว้“ความหมายคือ นั่ง นั่นแหละครับ” มีต้นไม้หลากหลายสูงใหญ่ร่มรื่น อากาศสดชื่น จุดชมวิวมีบ้านไม้หลังใหญ่หลังหนึ่ง ข้างล่างบริการเครื่องดื่มนักท่องเที่ยว ซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งนั่งดื่มชากาแฟ เติมเต็มรสชาดวิวธรรมชาติ บรรเลงด้วยเสียงขับกล่อมนานาชนิดและเสียงแว่วกระทบโกรกหินของน้ำตกตาดฟาน
น้ำตกตาดฟาน เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในแขวงจำปาสัก เรียกอีกชื่อว่า น้ำตกดงหัวสาว (ฟาน แปลว่า เก้ง) จุดเด่นอยู่ตรงสายน้ำ 2 สายที่ไหลลงจากหน้าผาสูงราว 120 เมตร โดยสายน้ำทางซ้ายมือไหลมาจากห้วยผักกูด และทางขวามือเป็นสายน้ำที่ไหลมาจากอุทยานแห่งชาติดงหัวสาว แต่วันนี้พวกเราเห็นสายน้ำตกไม่มากนัก เป็นช่วงหน้าแล้ง
จุดชมวิวที่ตั้งอยู่คนละฟากหุบเขากับตัวน้ำตก ในระดับความสูงเท่าๆ กัน จากตรงนี้สามารถชมวิวมองน้ำตกในมุมสูงได้อย่างชัดเจน คุณไกด์บอกว่าในยามเช้ายังเป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามอีกด้วย แต่สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสกับความยิ่งใหญ่ของน้ำตกแห่งนี้สามารถเดินลงไปชมตัวน้ำตกบริเวณด้านล่างได้ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร จากจุดชมวิว ด้านบน ใช้เวลาเดินเท้าค่อนข้างนาน ต้องเตรียมอาหารและอุปกรณ์กางเต็นท์ไปเองเพื่อพักแรมบริเวณด้านล่าง 1 คืน และเดินกลับขึ้นมาในวันรุ่งขึ้น สำหรับผมไม่เอาด้วยหรอก กลัวน้ำป่าอิ่มหนำสำราญกับธรรมชาติน้ำตกตาดฟานแล้ว คณะเราก็ออกเดินทางต่อไป เพื่อจะไปพักในเมืองปากเซค่ำคืนนี้จะได้พักผ่อนในฝั่งลาว

5.น้ำตกตาดผาส้วม ที่ตั้งมาตามทางหลวงหมายเลข 23 จนถึงบ้านห้วยแร่ประมาณกิโลเมตรที่ 21 เลี้ยวซ้ายมาตามทางหลวงหมายเลข 20 มาประมาณ 13 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่ตัวน้ำตก คำว่า ส้วม ภาษาลาวหมายถึง ห้องนอนที่กั้นไว้สำหรับลูกสาวลูกเขยโดยเฉพาะ ส่วน ตาด แปลว่าลานหินที่เป็นชั้นๆ จุดเด่นของน้ำตกตาดผาส้วมคือ สายน้ำที่ไหลผ่านหินผาขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นแท่งๆ รูปร่างคล้ายห้องหอของคู่บ่าวสาวดูสวยงามมาก นอกจากนี้ในอุทยานยังมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวม เอาหมู่บ้านโบราณของหลายชนเผ่ามาจัดแสดงให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชม เช่น บ้านขอชาวกระต้าง ซึ่งเป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รอบๆ น้ำตกนี้ บ้านของชาวเผ่าอาลัก บ้านของชาวกระตู้ หอกวน ที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมของชาวเผ่าละแว ภายในจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของชาวเผ่าให้ชมเป็นจำนวนมาก และหอสูงของชาวละแวที่ใช้ เป็นที่สังเกตการณ์ภายในหมู่บ้าน และที่น่าสนใจที่สุดคือบ้านพักของอุทยานที่ตกแต่งอย่างสวยงามลงตัว ด้วยวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น
น้ำตกผาส้วมเป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งของแขวงจำปาสัก เป็นน้ำตกที่ไหลลงมาจากที่สูง โดยตัวน้ำตกมีลักษณะโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม
ส่วนเรื่องชื่อของน้ำตกนั้น ชื่อนี้มีความหมายครับ คำว่า “ส้วม” ของลาว หมายถึง ห้องนอนของเจ้าบ่าว-เจ้าสาว หรือห้องหอนั่นเองครับ ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า “ส้วม”ของไทยเราที่ทำให้หลายๆคนนั้นเข้าใจผิดไปไม่น้อย น้ำตกแห่งนี้ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี และมีธรรมชาติป่าไม้ให้ร่มเงา นำมาซึ่งความชุมชื้นและร่มเย็น ให้กับนักท่องเที่ยวได้สัมผัสไอน้ำอันเย็นฉ่ำ พร้อมชมความงามของน้ำตก ท่ามกลางแท่งหินยักษ์ เหมือนกับถูกนำมาเรียงร้อยตกแต่งไว้ เป็นห้องนอนสวยงามยิ่งใหญ่อลังการ
หลังจากที่เดินข้ามสะพานแขวนไม้ไผ่สานแห่งนี้ ก็มองเห็นภาพสวยงามของน้ำตก เป็นน้ำตกที่ไหลลงมาจากที่สูง โดยตัวน้ำตกมีลักษณะโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม เห็นชื่อส้วมๆอย่างนี้ ที่นี่เขาก็มีประวัติที่ไม่ส้วมนะครับ แถมน้ำตกแห่งนี้ก็ยังเป็นฝีมือการออกแบบของคนไทยอีกซะด้วย น้ำตกผาส้วมถูกสร้างขึ้นมาโดย คุณวิมล กิจบำรุง ใช้เวลาสำรวจที่ดินผืนนี้นาน 2 ปี และเริ่มดำเนินการก่อสร้างด้วยเครื่องทุ่นแรงที่หาได้ในสมัยนั้น คือมีเพียงช้าง 1 เชือก และแรงงานคนท้องถิ่น 80 ชีวิต กว่าโครงการน้ำตกตาดผาส้วมจะสวยงามได้อย่างที่นักท่องเที่ยวหลายต่อหลายคนที่ได้มีโอกาสเดินทางมา เอ่ยปากชมกัน คุณวิมลใช้เวลาก่อสร้างสถานที่แห่งนี้นานถึง 5 ปี อาศัยซากไม้ที่ล้มตายไหลมาตามลำห้วยเพื่อสร้างร้านอาหาร มีการขนก้อนหินจำนวนมากมาจัดเรียงให้เป็นกำแพงกั้นดินที่ต่างระดับ ที่สำคัญ คุณวิมลได้ปลูกไม้กฤษณา ซึ่งเป็นไม้มีค่าหายากที่สูญพันธุ์แล้วในวันนั้น และไม้อื่นๆ กว่า 25,000 ต้น น้ำตกสายเล็กๆ ที่คุณวิมลตกแต่งเติมก้อนหิน เพื่อให้น้ำตกกระทบอย่างงดงาม และแผ่กว้างขึ้นหลายจุดจนเป็นน้ำตกขึ้นชื่อของเมืองจำปาสัก
แม้ว่าความงดงามที่เกิดขึ้นบนพื้นที่น้ำตกตาดผาส้วมแห่งนี้ คุณวิมล จะได้มีโอกาสชื่นชมกับน้ำพักน้ำแรงของตนเองได้เพียง 2 วัน ทราบว่าในขณะก่อสร้าง ท่านประสบกับไข้มาลาเรียขึ้นสมองด้วย เนื่องจากสถานที่แห่งนี้ชุกชุมไปด้วยยุง จนทำให้สลบไปถึง 8 วัน พอฟื้นขึ้นมาท่านก็เป็นอัมพาตและดวงตาของท่านไม่สามารถใช้การได้ แต่ในภายหลังก็ได้รับการรักษาจนหายจากอาการอัมพาต และสามารถมองเห็นภาพในลักษณะขาวดำ
ปัจจุบันน้ำตกตาดผาส้วมมีบริการต่างๆ ให้กับนักท่องเที่ยวมากมาย ทั้งบ้านพักหลากหลายรูปแบบ ร้านอาหาร พิพิธภัณฑ์ชนเผ่า 8 เผ่า เช่น กะเหรี่ยง ส่วย ลาวลุ่ม เป็นต้น
ไม่เพียงแต่น้ำตกผาส้วมเท่านั้น ที่นี่ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกหนึ่งที่ระหว่างทางเข้าน้ำตก เป็นสถานที่ที่มีการรวบรวมหมู่บ้านโบราณหลายชนเผ่าที่ยังมีเอกลักษณ์เหลืออยู่ เรียกว่า อุทยานบาเจียง เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวลาวที่น่าเที่ยวอีกแห่ง

6.น้ำตกตาดเยือง ที่ตั้ง ใช้ทางหลวงหมายเลข 23 เส้นทางไปปากซอง มาถึงหลักกิโลเมตรที่ 40 มีทางแยกเข้าขวามือเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ตาดเยืองเป็นน้ำตก ที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองปากซอง คำว่าเยืองแปลว่าเลียงผา ส่วนคำว่าฟานแปลว่าเก้ง แม้จะเป็นน้ำตกขนาดกลางไม่สูงใหญ่เท่าตาดฟานก็ตาม แต่มีข้อดีกว่า คือคุณสามารถเข้าไปชมได้ใกล้ชิดถึงตัวน้ำตก จุดเด่นน่าชมคืออยู่ที่สายน้ำสีขาวที่ไหลอาบมาตามหน้าผากระทบโขดหินแตกเป็นละอองสีขาวจัดกับสีดำเข้มของโขดหิน ท่ามกลางบรรยากาศอันร่มรื่นและเป็นส่วนตัว
น้ำตกตาดเยื้องเป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งของแขวงจำปาสัก สายน้ำที่ทอลงมาจากหน้าผา ทำให้น้ำแตกกระเซ็นเป็นละอองที่สวยงาม และยังมีจุดชมวิวสำหรับถ่ายรูปที่เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ถ้าเราได้ไปยืนที่บริเวณจุดชมวิวน้ำตกด้านล่างจะได้สัมผัสกับสายลมพร้อมละอองน้ำที่ปลิวมาด้านล่างอย่างเย็นสบาย ๆ จุดนี้ทำให้นักท่องเที่ยวอดไม่ได้ที่จะอยู่จุดนี้ให้นานที่สุด ด้านบนน้ำตกจะเป็นลำธารน้ำที่ไหลมาก่อนจะถึงตกลงสู่เบื้องล่าง ประมาณ 500 เมตร จุดนี้สามารถเล่นน้ำได้ (แต่อย่าฝ่าฝืนป้ายห้ามเข้าในบางจุด) จุดเด่นที่น่าชมอยู่ที่สายน้ำสีขาวที่ไหลออกมาตามหน้าผากระทบโขดหินแตกเป็นละอองสีขาวตัดกับสีดำเข้มของโขดหิน ท่ามกลางบรรยากาศอันร่มรื่นและเป็นส่วนตัว
น้ำตกตาดเยืองเป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำไหลแรงมาก จึงทำให้ละอองนน้ำตกเป็นสีขาวสวยงาม ลักษณะการเที่ยวน้ำตกตาดเยืองจะแตกตาสงกับน้ำตกฟาน ตรงที่สามรถเดินเท้าเข้าชมและสัมผัสเล่นน้ำได้อย่างใกล้ชิด และการเดินลงไปเล่นน้ำตกด้านล่าง ทางลงจะค่อนข้างชัน นักท่องเที่ยวควรใช้ความระมัด ระวังมากในการเดินทางครั้งนี้

การเดินทาง
จาก จ.อบลราชธานี ในประเทศไทย ด่านตม. ตรงช่องเม็ก ข้ามสะพานญี่ปุ่น-ลาว ไปยังปากเซเป็นระยะทางประมาณ 40 กม. จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 13 จะผ่านทางแยกไปคอนพะเพ็งตรงหลักกม.ที่ 8 ( ไม่ต้องเลี้ยว) ขับตรงมาตรงหลัก กม.ที่ 40 ให้เลี้ยวขวาเข้ามาอีกประมาณ 3 กม. ก็จะถึงบริเวณน้ำตกตาดเยือ

7.ตลาดดาวเรือง ตลาดดาวเรืองเป็นตลาดที่ใหญ่แห่งหนึ่งของแขวงจำปาสัก โดยตลาดแห่งนี้ได้สร้างขึ้นโดยเจ้ดาวเรือง (เจ้าของตลาด) และตลาดดาวเรืองยังเป็นที่จำหน่ายสินค้ามากมายทั่วไปไม่ว่าจะเป็นเครื่องเงิน เครื่องหนัง เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ขนม อาหาร ยารักษาโรค ฯ ตลาดแห่งนี้เป็นศูนย์รวมของประชาชนชาวลาวที่มาประกอบอาชีพและทำธุรกิจที่นี่เป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้ตลาดแห่งนี้พลุกพล่านไปด้วยผู้คนมากมายไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มาจับจ่ายซื้อสินค้า พ่อค้าแม่ค้า และนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามาที่ตลาดแห่งนี้อย่างไม่ขาดสาย
ตลาดเช้าและ เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของนครจำปาสัก เมืองปากเซ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสะพานมิตรภาพ ลาว-ญี่ปุ่น ถือว่าเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญของเมืองปากเซ มีทั้งโซนที่เป็นสินค้าสด เช่นผัก ผลไม้ ปลา เนื้อสัตว์ เป็นต้น และส่วนที่เป็นโซนสินค้าอุปโภค เสื้อผ้า ที่นำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านเช่น ไทย จีน ค่ะ หากมีเวลาเช้าแวะเข้ามาเดินเที่ยวเล่น ซื้อสินค้ากันได้
"ดาวเรือง" เป็นชื่อของผู้หญิงคนหนึ่งที่ต่อสู้ชีวิตมาตั้งแต่เด็ก เคยทำงานลำบากตั้งแต่เลือกกาแฟ ก่อนที่จะค่อยๆ ประสบผลสำเร็จขึ้นๆ จนวันนี้คุณดาวเรืองเป็นเจ้าของตลาดดาวเรือง โรงแรม และอื่นๆอีกมากมาย รวมทั้งร้านขายไวน์ที่อยู่ที่ด่านช่องแมกฝั่งลาวด้วย ทุกวันนี้คุณดาวเรืองก็ยังคงอยู่
"ตลาดดาวเรือง" ตลาดเช้าเช้าของปากเซที่นี่ใหญ่มากจริงๆ ใหญ่ว่าที่ผมเห็นที่อื่นๆในลาว รวมทั้งหลวงพระบาง หรือเวียงจันทน์ก็ตาม ตลาดนี่มีของเยอะมาก ผมตื่นแต่เช้าเวลา 06.00 น. แล้วไปเดินตลาดนี้ไม่ผิดหวังเลยจริงๆ ทั้งผลไม้ ผัก ปลา ของสดมากมายครับ ผมถ่ายคลิปให้ชมทุกโซนเดียวลงคลิปให้ดูด่านล่าง
แนะนำว่าให้หาของกินที่ตลาดดาวเรืองด้วยเลยตอนเช้าเพราะมีร้านขายอาหารเพียบหลายร้านดูสะอาดน่ากินทั้งเฝอ ข้าว หรืออาหารตามสั่ง และที่สำคัญราคาที่ถูกกว่าข้างนอกครับ ส่วนใหญ่คนปากเซจะมากินกันที่นี่ จากตลาดดาวเรืองเดินไปทางริมแม่น้ำโขงแล้วเดินไปทางขวาจะมีท่าเรือเล็กที่เขากลับจากหาปลาตอนเช้าพอดีหากโชคดีอย่างผมก็จะเห็นปลาน้ำโขงตัวโตๆ

การเดินทาง
จาก จ.อุบลราชธานี ในประเทศไทย ด่านตม. ตรงช่องเม็กไปยังปากเซเป็นระยะทางประมาณ 40 กม. ข้ามสะพานญี่ปุ่น-ลาว จะพบด่านเก็บค่าธรรมเนียมลาว จากนั้นจะมีสี่แยกให้เลี้ยวซ้ายได้เลย ก็จะเป็นตลาดดาวเรือง(ติดถนน)
ตลาดดาวเรือง ดิ้วตี้ฟรี ดาวเรือง ตลาดเมืองปากเซ เมืองปากเซ ปากเซ จำปาสัก ข้อมูลการเดินทาง ภาพ
คนลาวเรียก แม่ดาวเรือง คือเศรษฐี ผู้มั่งมี ในลาวใต้ผู้เป็นเจ้าของตลาดดาวเรือง

การเตรียมตัวก่อนการเดินทางไปลาวใต้
• สิ่งที่ควรนำติดตัว : กล้องถ่ายรูป, ของใช้ส่วนตัว, ยารักษาโรคประจำตัว, รองเท้าสวมใส่สบาย
ช่วงหน้าฝนควรจะเตรียมร่มหรือเสื้อกันฝน,หมวก
• หมายเหตุ : รายการทัวร์ อาจมีการเปลี่ยนแปลง โดยสลับสถานที่ท่องเที่ยวก่อน-หลังได้ค่ะ โดยคำนึงถึง

สภาพอากาศ
• ข้อมูลท่องเที่ยวเพิ่มเติม
• ลาวใต้ เมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของลาวทางวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับเมืองนี้เน้นเที่ยวโบราณสถานและน้ำตกเป็นส่วนใหญ่ มีทั้งน้ำตกที่เกิดจากแม่น้ำโขงและเกิดจากลำธารภูเขา บรรยากาศที่เรียบง่าย ไม่เร่งรีบแข่งกับเวลามากนักและจิตใจอันดีงามของคนลาว
• เล็กน้อยก่อนเที่ยวลาวใต้ ปากเซจำปาสัก
1.โปรแกรมทัวร์เที่ยวลาว เดี๋ยวนี้สบายค่ะ เรื่องภาษาก็สื่อกันรู้เรื่อง
2.การท่องเที่ยวลาว ท่านสามารถแต่งตัวแบบตามสบายได้เลย ไม่มีกฎระเบียบข้อบังคับค่ะ
3.การเที่ยวลาว เป็นทัวร์กึ่งธรรมชาติและวัฒนธรรม
4.ช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่อากาศกำลังสบาย หนาวนิดหน่อยค่ะ
5.เส้นทางท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยางและล่องเรือ
6.ที่พักที่ลาว : โรงแรมระดับมาตรฐานระดับปานกลางค่ะ มีแอร์ พัดลม ทีวี น้ำอุ่น เคเบิ้ลทีวี
7.สำหรับท่านที่ติดหนัง ติดละครหลังข่าว ที่ลาวดูทีวีไทยชัดแจ๋วทุกช่องเลยค่ะ
8.อาหารการกิน : ก็เป็นอาหารแบบไทยภาคกลาง โดยจะเน้นจำพวกผักและปลาเยอะหน่อยค่ะ
9.การใช้จ่ายในประเทศลาว ใช้เงินบาทไทยได้เลยค่ะ มีแค่จุดเล็กๆในส่วนของชาวเขาที่นำสินค้ามาค้าขายให้กับนักท่องเที่ยวที่จะต้องใช้เป็นเงินกีบเงินกีบ
10. อัตราแรกเปลี่ยนเงินกีบ ในขณะนี้ประมาณ 250 – 259 กีบ ต่อ 1 บาท ไทย ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องเช็คเป็นรายวันกับทางธนาคารค่ะ
หมายเหตุ ในวันเดินทางอย่าลืม นำ บัตรประชาชน ตัวจริง

จุดเด่นของแขวง แขวงจำปาสัก
1. มีศักยภาพที่จะพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และ
ภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แขวงสามารถผลิตพืชผลทางเกษตรเพียงพอสำหรับการบริโภค และการส่งออก เช่น ข้าว เมล็ดกาแฟ ผักผลไม้ และพืชไร่ต่างๆ โดยเฉพาะเมือง ปากช่อง ซึ่งเป็นเมือง ที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูง มีสภาพอากาศเย็นตลอดทั้งปี และมีฝนตกชุก เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการ เพาะปลูก นอกจากนั้น แขวงมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าสนใจ

2. เป็นจุดเชื่อมเครือข่ายคมนาคมทางบกระหว่างประเทศให้กับแขวงอื่นๆ ภายในประเทศ โดยเฉพาะแขวง ที่ไม่มีด่านพรมแดน ได้แก่ แขวงสาละวัน เซกอง และอัตตะปือ ดังนั้น นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทาง จากจังหวัดอุบลราชธานี ไปยังตอนใต้ของสปป.ลาวจะผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรที่ด่าน ช่องเม็ก-วังเต่า รวมทั้ง สินค้านำเข้า-ส่งออกระหว่างไทย-ลาว
3. ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เป็นจุดเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมทางบกระหว่างไทย-ลาว-กัมพูชา ตามเส้นทาง
อุบลราชธานี-จำปาสัก-อัตตะปือ- สตรึงเตรง (กัมพูชา) และจุดเชื่อมต่อไทย-ลาว-เวียดนามโดยเชื่อมต่อไทยกับ ทะเลจีนใต้ ตามเส้นทางอุบลราชธานี-จำปาสัก-ดานัง-เว้ หรือ เชื่อมต่อไทยไปยังปาก แม่น้ำโขงตามเส้นทางอุบลราชธานี-จำปาสัก-โฮจิมินห์-คุชิ-วุงเตา (เวียดนาม) อีกด้วย