ลาวเหนือ แขวง หลวงพระบาง
ประวัติความเป็นมา
ประวัติหลวงพระบาง เมืองหลวงพระบางหรือเมื่อก่อนนั้นคืออาณาจักรล้านช้าง ในอดีตกาลเมือง หลวงพระบางเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของชาวลาว พระเจ้าฟ้างุ้มได้รวบรวมแคว้นต่างๆของชนเผ่าไท-ลาวในเขตลุ่มน้ำโขง น้ำคาน น้ำอู และก่อตั้งอาณาจักรล้านช้าง ในริมน้ำโขงซึ่งคือหลวงพระบาง เมื่อปี พ.ศ. 1896 – 1916 และได้รับการช่วยเหลือของกษัตริย์ขอม (เพราะมเหสีของเจ้าฟ้างุ้มคือพระราชธิดาของกษัตริย์ขอมในขณะนั้น) พร้อมๆกับการรับเอาพุทธศาสนาเข้ามาแทนการนับถือผี ลาว เป็นประเทศหนึ่งที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษเดียวกับชาวไทย แต่ลาวมีชนกลุ่มน้อยมากมายหลายเผ่า ลาวแท้ๆ มีเพียง 50 % ท่านั้น ซึ่งมักจะอาศัยอยู่ที่ราบริมน้ำโขง ส่วนชาวเขานิยมอยู่บนเทือกเขา เมื่ออดีตเริ่มแรก อาณาจักรล้านช้างมีชื่อเรียกว่า “เมืองชวา” มีชาวชวาอาศัยอยู่มากกว่าในกลุ่มอื่น พ.ศ. 1900 เปลี่ยนมาใช้ชื่อ เมืองเชียงทอง จนกษัตริย์ขอมได้พระราชทานพระพุทธรูปองค์หนึ่งให้แก่พระเจ้าฟ้างุ้ม มีชื่อว่า พระบาง เป็นพระพุทธรูปศิลปะสิงหล เจ้าฟ้างุ้มจึงทรงเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น หลวงพระบาง จนในปี พ.ศ. 2088 พระเจ้าโพธิสารราชเจ้า โปรดฯ ให้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ แม้หลวงพระบางจะไม่ได้เป็นเมืองหลวงต่อไป แต่เจ้ามหาชีวิตยังคงประทับที่หลวงพระบาง ต่อมาอาณาจักรล้านช้างแตกออกเป็นสามอาณาจักร คือ
1.อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง
2.อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์
3.อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์
กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง คงสืบทอดบัลลังก์กระทั่งถึงยุคสิ้นสุดของราชวงศ์ เนื่องจากลาวนั้น ตกเป็นเมืองขึ้นของสยาม เวียดนาม และ ฝรั่งเศส ตามลำดับ ด้วยเหตุนี้เองที่เมืองหลวงพระบางมีความเป็นมายาวนาน เป็นราชธานีเก่าแก่ วัดวาอารามมากมาย และมีธรรมชาติที่วิเศษ เมื่อองค์การ ยูเนสโก้ ยกให้หลวงพระบางเป็นเมืองมรดกโลก ชื่อของหลวงพระบางจึงรู้จักกับนักท่องเที่ยวทั่วไป การท่องเที่ยวเมืองหลวงพระบางจึงมีชื่อเสียงมากที่สุดของลาว
ตัวเมืองหลวงพระบาง ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำคานและแม่น้ำโขง เต็มไปด้วยวัดวาอาราม อาคารบ้านเรือนเก่าแก่ที่ยังคงรักษารูปแบบสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างผสมยุโรป ผู้คนมีวิถีชีวิตเรียบง่าย ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและพุทธศาสนา เป็นเหตุให้บ้านเมืองสงบ ร่มเย็นและงดงาม จนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลกเมื่อ พ.ศ 2540
การเมืองการปกครอง
แขวงหลวงพระบางแบ่งออกเป็น 12 เมือง 821 จำนวนหมู่บ้าน ผู้หญิง 215,440 ผู้ชาย 215,999 รวม 431,439
รหัสเมือง เมือง (ไทย) เมือง (อังกฤษ) รหัสเมือง เมือง (ไทย) เมือง (อังกฤษ)
6-01 หลวงพระบาง
Louangphrabang 6-02 เชียงเงิน
Xieng Ngeun
6-03 นาน
Nan 6-04 ปากอู
Park Ou
6-05 น้ำบาก
Nambak 6-06 งอย
Ngoi
6-07 ปากแซง
Pak Xeng 6-08 โพนชัย
Phonxay
6-09 จอมเพชร
Chomphet 6-10 เวียงคำ
Viengkham
6-11 ภูคูน
Phoukhoune 6-12 โพนทอง
Phonthong
ที่ตั้ง แขวงหลวงพระบางตั้งอยู่ทางเหนือของนครหลวงเวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร เชื่อมต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 13 ใช้เวลาเดินทางราว 8 – 10 ชั่วโมงจากเวียงจันทน์ สภาพถนนต้องลัดเลาะไปตามไหล่เขา มีเครื่องบินจากนครหลวงเวียงจันทน์ถึงแขวงหลวงพระบางโดยสายการบินลาว ใช้เวลาบินประมาณ 45 นาที
ด้านทิศเหนือ ติดกับ แขวงพงสาลี ทิศตะวันออก ติดกับ แขวงหัวพันและแขวงเชียงขวางทิศใต้ติดกับ แขวงเวียงจันทน์ และทิศตะวันตก ติดกับ แขวงอุดมชัย และไชยบุรี
พื้นที่ 16,875 ตารางกิโลเมตร 85% เป็นภูเขา
ภูมิอากาศ ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น อุณหภูมิต่ำสุดที่ 20.1 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดที่ 31.1 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,708.7 มิลลิเมตร ต่อปี แสงแดดเฉลี่ย 6 ชั่วโมงต่อวัน
ประชากร มีชาวลาวลุ่ม และไทลื้อเป็นส่วนมาก ทั้งยังมีชาวลาวสูงเผ่าต่างๆ เช่นขมุ, เย้า, อีก้อ, ม้ง เป็นอาทิอาศัยอยู่ตามภูเขาสูงประชาชนส่วนใหญ่ของที่นี่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท และยังมีกลุ่มที่นับถือศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาคริสต์ และยังมีพวกที่นับถือความเชื่อดั้งเดิมบ้างในกลุ่มชาวเขาบางส่วน
เศรษฐกิจ ปัจจุบันโครงการที่หลวงพระบางต้องการให้มีผู้ลงทุนมีหลายโครงการคือการปลูกผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงสัตว์ปีก สัตว์ใหญ่การส่งเสริมการปลูกไม้สัก ไม้กฤษณา พืชน้ำมัน อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร โรงแรม เฮือนพัก รีสอร์ท ร้านอาหาร การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การสำรวจและขุดค้นแร่ธาตุต่างๆเช่น ทองคำ เงิน อัญมณี ฯลฯ ทั้งนี้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแขวงหลวงพระบางกำหนดให้พัฒนาการท่องเที่ยวเป็นหลัก ให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการศึกษาและการบริการสาธารณสุข รวมถึงพัฒนาด้านอุตสาหกรรมพลังงานและเหมืองแร่ โดยมียุทธศาสตร์รวมคือ ลดการส่งออกวัตถุดิบในปี 2563 ส่งเสริมการผลิตสินค้าที่มีศักยภาพ ส่งเสริมการผลิตสินค้าที่มีตลาด ส่งเสริมการผลิตสินค้าที่ผู้ลงทุนมีตลาดแล้ว ส่งเสริมการผลิตสินค้าส่งออกภายใต้ระบบการให้สิทธิพิเศษ และส่งเสริมการผลิตสินค้าส่งออก ในแขวงหลวงพระบางมี”ตลาดมืด” หรือตลาดกลางคืนคล้ายๆ กับไนท์บาร์ซาร์ของเชียงใหม่ที่เป็นที่รวมของหัตถกรรมพื้นบ้านที่ทำด้วยมือทุกชนิดที่นำมาขายให้นักท่องเที่ยวเป็นเครื่องที่ระลึกด้วย และนักท่องเที่ยวยังนิยมการไปร่วมใส่บาตรพระสงฆ์ในตอนเช้าของทุกวัน
เงินตราและสกุลเงิน สกุลเงิน อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 กีบ = 4.05 บาท สัญลักษณ์ ₭ หรือ ₭N
จุดเด่นและถือเป็นความได้เปรียบที่สำคัญในลาวภาคเหนือคือ การได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกเมื่อเดือนธันวาคม หน่วยงานราชการของแขวงหลวงพระบาง ให้ความสำคัญต่อการรักษาวัฒนธรรม และสภาพบ้านเรือนที่สวยงามของยุคกว่า 100 ปี มีการอนุรักษ์รูปแบบอาคาร การก่อสร้างที่แสดงให้เห็นถึงการรับวัฒนธรรมจากฝรั่งเศส
เมืองในแขวง หลวงพระบาง
1 เมือง หลวงพระบาง
หลวงพระบางเป็นเมืองเก่าแก่ของอาณาจักรล้านช้าง ตั้งแต่สมัยสถาปนาอาณาจักร ซึ่งแต่เดิมมีชื่อว่าเมืองซวา (ออกเสียงว่า ซัว) และเมื่อ พ.ศ. 1300 ขุนลอ ซึ่งถือเป็น ปฐมกษัตริย์ลาวได้ทรงตั้งเมืองซวาเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างและได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่าเชียงทอง เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ. 1896 - พ.ศ. 1916) เสด็จกลับจากกัมพูชา อันเนื่องจากพระองค์และพระบิดาต้องเสด็จลี้ภัยเพราะถูกขับไล่จากกษัตริย์องค์ก่อน ซึ่งแท้จริงก็คือพระอัยกาของเจ้าฟ้างุ้มนั่นเอง เจ้าฟ้างุ้มทรงรวบรวมกำลังขณะอยู่ในเสียมเรียบ และนำกองทัพนับพันกำลังเพื่อกู้ราชบัลลังก์กลับคืน และสถาปนาอาณาจักรขึ้น ต่อมาในสมัยพระโพธิสารราชเจ้าพระองค์ได้อาราธนาพระบางซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงคำ ขึ้นมาประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงทองอันเป็นนครหลวง เมืองเชียงทองจึงถูกเรียกว่า หลวงพระบาง นับแต่นั้นมา
การเมืองปกครอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ ซึ่งมีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยม เมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
ประมุข-ประธานประเทศ หรือตำแหน่งประธานาธิบดี คือ พลโท จูมมะลี ไชยะสอน (8 มิถุนายน พ.ศ. 2549)
หัวหน้ารัฐบาล-นายกรัฐมนตรี คือ นายบัวสอน บุบผาวัน (8 มิถุนายน พ.ศ. 2549)
เศรษฐกิจ เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ทำรายได้เข้าประเทศได้อย่างมากมาย
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองหลวงพระบาง
สี่แยกกลางเมือง ตลาดเช้าและตลาดม้ง
นักท่องเที่ยวเกือบทุกคนจะเริ่มต้นเที่ยวหลวงพระบางที่สีแยกกลางเมือง สี่แยกนี้ใครมาหลวงพระบางก็ต้องรู้จัก ถือเป็นใจกลางเมืองสำหรับยุคท่องเที่ยวก็ว่าได้ เพราะอยู่บนถนนสายหลักหรือถนนเส้นกลางเมืองซึ่งมีความสับสเรื่องชื่อมากที่สุดบ้างที่เรียกว่าถนนสีระหว่างวง บ้างก็เรียกถนนเชียงทอง หรือถนนหน้าวัง บางช่วงกลายเป็นถนนเจ้าฟ้างุ้มก็มี แม้แต่แผนที่หลายๆ ฉบับทางการลาวเอง แต่ละฉบับของทางลาว แต่ละฉบับก็เรียกชื่อต่างกัน เอาเป็นว่าเรียกถนนกลางเมืองก็เป็นถนนกลางเมืองก้เป็นอันเข้าใจกันแล้ว หลวงพระบางเกือบทั้งหมด และตัดกับถนนลงสู่แม่น้ำโขง สำหรับมุมเด่นที่สุดของสี่แยกกลางเมืองนี้น่าจะเป็นมุมที่ตั้งของโรงแรมพูสี โรงแรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของหลวงพระบาง จากโรงแรมพูสีข้ามไปถนนไปจะเป็นที่ทำการไปรษณีหรือห้องกานไปสะนี สถานที่ส่งจดหมาย โทรสาร ลมีตู้โทรศัพท์สาธารณะอยู่ข้างๆหากตรงไปทางทิศตะวันตกหรือไปแม่น้ำโขงจะผ่านตลาดเช้า ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าจะติดตลาดขายของสดกันแต่เช้ามืด เมื่อเดินมาจนถึงถนนเลียบแม่น้ำโขงซึ่งเป็นท่าเรือข้ามฟากไปฝั่งเมืองเชียงแนน จะสังเกตุว่ามีต้นมะม่วงใหญ่เลยทางซ้ายมือ ใต้ร่มมะม่วงมีเพิงขายกาแฟเล็กๆอยู่ คือร้านกาแฟปะชานิยม ขายกาแฟลาว ขนมคู่กับปาท่องโก๋ รสชาติกาแฟที่อยากลิ้มลองกาแฟคั่วบดซึ่งสั่งตรงจากลาวภาคใต้เลยที่เดียว ส่วนตอนเย็นบริเวณนี้จะมีแม่ค้าตั้งแผงขายอาหารปรุงสำเร็จไก่ย่างหมูย่าง ข้าวเหนียว
สิ่งที่น่าสนใจสี่แยกตลาดเช้า แม่ค้าฝั่งเชียงแมนนำผลิตผลทางการเกษตรมาวางขายตามถนนเลียบแม่น้ำโขงที่ตลาดเช้าเป็นประจำทุกวันเชียงแมนซึ่งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำโขงกับหลวงพระบาง เป็นพื้นที่ผลิตพืชผักป้อนเมืองหลวงพระบางมาแต่อดีต
ตลาดม้ง เป็นบริเวณที่มีชาวเผ่าม้งหรือชาวลาวสูงมาตั้งแผงแบกะดินขายสินค้าที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นงานหัตถกรรมประเภทผ้า ย่ามผ้าปักลวดลายแปลกๆราคาไม่สูง สามารถต่อรงอได้อย่างสนุกสนาน เดิมตลาดม้งมีเฉพาะหัตถกรรมของชาวลาวสูงหรือม้งนั้นเอง ปัจจุบันขยายตัวไปสู่ของที่ระลึกอื่นๆจากหลวงพระบางทั้งผ้าทอมือแบบลาว งานไม้ เครื่องเงินและของเก่า
พระธาตุจองพูสี พระธาตุหลักเมืองของหลวงพระบาง
พระธาตุจอมพูสีหรือธาตุพูสี เปรียบเสมือนหลักเมืองของหลวงพระบางมีตำนานกล่าววว่า ฤาษีสองพี่น้องคืออามะละฤาษีและโยทิกะฤาษีได้ เดินทางเสาะหาสถานที่สำหรับตั้งบ้านเมือง เมื่อมาเห็นชัยภูมิที่นี่ดี เป็นราบกว้างและมีเนินเขาอยู่กลาง จึงเลือกเนินเขานี้เป็น ใจเมือง กำหนดขอบเขตเมือง บนยอดพูสี ซึ่งเป็นองค์พร้ะธาตุที่สำคัญที่สุดของเมืองหลวงพระบาง ตั้งแต่ยอดปลีขึ้นไปทาสีทองสุกปลั่ง ใครที่มาถึงหลวงพระบางจะได้เห็นพระธาตุพูสีนี้แต่ไกลถือเป็นมิ่งขวัญของชาวหลวงพระบางคนส่วนมากที่จะไปเที่ยวหลวงพระบางก็จะอยากไปไหว้พระธาตุจองพูสี
สิ่งที่น่าสนใจ พระธาตุจอมพูสี หรือพระธาตุพูสี สร้างในปี พ.ศ 2374 สมัยเจ้าอนุรุทธราชมาบูรณะอีกครั้งในปี พ.ศ 2457 โดยหุ้มพระธาตุด้วยแผ่นทองเหลืองฉาบทองคำ องค์พระธาตุกว้างด้านละ 10-55 เมตร สูง 21 เมตร
ซุ้มจำปา พระธาตุจองพูสี ทางขึ้นพระธาตุพูสีร่มรื่นด้วยซุ้มจำปาลาวหรือลั่นทม ดอกไม้ประจำชาติลาว ในช่วงเดือนเมษายนซึ่งตรงกับปีใหม่ลาว จำปาจะออกดอกบานสะพรั่งเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น
ทิวทัศน์จากพูสีจากยอดพูสีจะมองเห็นตัวเมืองหลวงพระบางได้ทั่วทั้งหมด และทุกเย็นมักมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากขึ้นมาชมอาทิตย์ลับฟ้าบนพูสี
ตักบาตรพูสี วันสังขารขึ้นในช่วงบุญปีหรือสงกรานต์ของชาวลาวคนหลวงพระบางจะเดินทางขึ้นพูสีนำอาหารไปวางไว้ตามทางเดินและโยนขึ้นไปยังองค์พระธาตุ ถือเป็นการถวายทานและทำบุญรับปีใหม่ที่ชาวหลวงพระบางขาดไม่ได้
หอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง พระราชวังเดิม
ทางข้ามกับบันไดทางขึ้นพูสีคือหอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบางแต่เดิมเคยเป็นพระราชวังหลวงที่พำนักของเจ้ามหาชีวิต เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ 2447 ในสมัยพระเจ้าสักกะรินและมาแล้วเสร็จใน พ.ศ 2452 ในสมัยของพระเจ้าศรีสว่างวงค์ ภายหลังเปลี่ยนระบอบการปกครองในประเทศลาวเมื่อ พ.ศ 2518 รัฐบาลลาวได้ใช้พระราชวังหลวงนี้เป็นหอพิพิธภัณฑ์ และเปิดทำการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ 2519 เมื่อผ่านประตูมาทางเข้าแล้ว จุดเด่นของที่นี้คือ แถวของต้นตาลขนาดใหญ่ที่ขนาบอยู่ที่ซ้ายและขวา นำสายตาของผู้มาเยือนตรงไปสู่อาคารพระราชวังเดิมซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกกับตะวันตก โดยโครงสร้างด้านล่างของอาคารเป็นการสร้างตามตึกฝรั่ง ส่วนด้านบนมณฑปตามแบบตะวันออก ทำให้ดูคล้ายคลึงกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังของไทย ด้านขวามือของประตูทางเข้าคือที่ตั้งของ หอพระบาง เป็นวิหารขนาดใหญ่ทางล้านช้าง หลังคาปีกนกสามชั้น แต่ไม่ต่ำแบบสิมช้างแท้ๆ หอนี้เดิมตั้งใจสร้างเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบาง แต่จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ
สิ่งที่น่าสนใจ
อนุสาวรีย์พระเจ้าศรีสว่างวงค์ เจ้ามหาชีวิตผู้ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ 2448-2502 และเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เขียนขึ้นโดยชาวลาวเมื่อ พ.ศ 2590
แถวต้นตาลหน้าพระราชวัง จุดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของหอพิพิธภัณฑ์คือแถวต้นตาลขนาดใหญ่ที่ขนาบสองข้างทางเดินเข้า ตามประวัติเล่ากันพระเจ้าศรีสว่างวงค์โปรดให้ปลูกขึ้น เพื่อให้สอดรับกับมุมมองจากท้องพระโรงไปยังพูสี
ยอดมณฑปทอง แต่เดิมพระราชวังนี้ออกแบบโดย M . Servoise สปานิกชาวฝรั่งเศส โดยสร้างเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูง รูปทางยุโยปแบบโคโลเนียลต่อมาใน พ.ศ 2473 พระเจ้าศรีสว่างวงค์โปรดให้สร้างหลังคาแบบมณฑปเพิ่มเติมขึ้น เพื่อให้มีรูปลักษณ์แบบศิลปะตะวันออก โดยมีรูปช้างสามเศียร อันเป็นสัญลักษณ์ของ ราชอาณาจักรลาว อยู่บนหน้าบันเหนือมุขทวารด้านหน้า
หอพระบาง เริ่มก่อตั้งแต่ พ.ศ 2503 สมัยพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา เพื่อ ฉลองปีกึ่งพุทธกาล ตามดำริของพระราชบิดา-พระเจ้าสว่างวงค์ การสร้างยังไม่ทันแล้วเสร็จ ประเทศลาวก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาเริ่มก่อสร้างใหม่ในปี พ.ศ 2538 แล้วยังไม่เสร็จจนกระทั่งปัจจุบัน
วัดหัวเชียง วัดมะหาทาด และบริเวณน้ำพู
หากจากสี่แยกกลางเมือง มุ่งหน้าลงทางทิศใต้ตามถนนเส้นกลางเมือง ทางช้ายมือมีวัดติดกันอยู่สองวัด วัดแรกคือวัดหัวเชียง ซึ่งสังเกตจำง่ายจากบันไดทางขึ้นวัดที่เป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียรขนาบอยู่สองข้าง หากถัดไปคือวัดมะหาทาดหรือชาวบ้านเรียกว่าวัดทาดน้อย วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ 2091 สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ชื่อของวัดมีที่มาจากเจดีย์องค์ใหญ่หลังสิมซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สร้างวัด เจดีย์ไชยเชษฐาธิราชเลยจากวัดมะทาดไปจนถึงน้ำพุที่มีรูปปั้นพระแม่ธรณีบีบมวยผมอยู่กลางสระน้ำขนากย่อมและอยู่เยื้องกับทางเข้าโรงแรมสุวันนะพูมบริเวณนี้เรียกว่าบ้านหัวเชียง ขวามือเป็นร้านขายที่ระลึกติดกันอยู่หลายร้าน ร้านที่น่าสนใจต้องเดินเข้าซอยซึ่งมีปากซอยมีป้ายว่า Silver smith เป็นร้านที่ขายเครื่องเงินฝีมือดีที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน ท้าวเพ็งเคย มะนีพอน ช่างเงินฝีมือดีที่ยังเหลืออยู่ปัจจุบัน ท้าวเพ็งเคยเป็นช่างเงินประจำราชสำนักหลวงพระบางมาก่อน ร้านนี้จึงมีเครื่องเงินสไตล์หลวงพระบางแท้ๆ
สิ่งที่น่าสนใจ
ราวเทียน วัดมะหาทาด วัดมะหาทาดปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในปี พ.ศ 2453 โดยเจ้ามหาอุปราชบุญคง ภายในสิมแบบล้านช้างมีราวเทียนรูปนาค 24 ตัว ฝีมือการแกะวิจิตรงดงาม เจ้ามหาอุปราชบุญคงมอบให้ตั้งแต่ปี พ.ศ 2460
ธาตุเจ้าเพชรราช หน้าสิมของวัดมะหาทาดมีเจดีย์ใหญ่บรรจุอัฐิของเจ้าเพชรราชรัตนวงศา อดีจนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศลาวยุคใหม่
วัดใหม่สุวันนะพูมาราม
วัดใหม่สุวันนะพูมารามสร้างเมื่อปี พ.ศ 2337 ในรัชสมัยพระเจ้าอนุทธราช ต่อมาในปี พ. ศ 2364 ตรงกับสมัยพระเจ้ามันธาตุราชได้ทางปฏิสังขรณ์วัดนี้ใหม่ พระธาตุ อูบมุง และหอขวางที่เห็นอยู่ในปัจจุบันก็สร้างขึ้นในสมัยนี้ เมื่อปฏิสังขรณ์แล้วได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดใหม่สุวันนะพูมาราม แต่ชาวบ้านทั่วไปนิยมเรียกสั้นๆว่า วัดใหม่ ในปี พ.ศ 2437 สมัยพระเจ้าสักกะริดได้อัญเชิญพระบางจากวัดวิชุนมาประดิษฐานที่วัดใหม่ แล้วใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาต่อหน้าองค์พระบาง วัดแห่งนี้ถือว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของหลวงพระบางนอกจากจะเป็นวัดซึ่งสมเด็จพระยอดแก้ว พระสังฆราชพระองค์สุดท้ายของลาวเคยประทับมาแล้วในช่วงสงกรานต์จะอัญเชิญพระบางจากหอพิพิธภัรฑ์เมืองหลวงพระบางมาไว้ที่วัดใหม่เป็นเวลา 3 วัน เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ บานประตูสิมวัดใหม่ สิมมีลักษณะคล้ายกับวัดวิชุน บานประตูเป็นฝีมือสลักไม้แบบเชียงขวาง ด้านข้างเป็นลวดลายแกะสลักเรื่องพระเวสสันดรโดยฝีมือของเพี้ยตันศิลปินแห่งชาติของลาว ซึ่งมีฝีไม้ลายมือโดดเด่นด้านการแกะสลักไม้ รูปแบบงานแกะสลักของเพี้ยตันได้รับการบกบ่องให้เป็นสกุลช่างสายชนิดของงานศิลปะลาว
วัดป่าฮวก
ซึ่งเป็นวัดร้างซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่แต่เพียงสิมหลังเดียวเท่านั้น ภายในสิมมีภาพจิตรกรรมฝาหนังแบบปูนเปียก presco ที่งดงามและสมบรูณ์ที่สุดของหลวงพระบาง เป็นศิลปะการเขียนภาพแบบสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีภาพวิถีชีวิตและการค้าขายของคนลาว ภาพพ่อค้าจีนพร้อมขบวนม้า และภาพพุทธประวัติต่างๆ สิมวัดป่าฮวก มีความโดดเด่นด้วยงานปูนปั้นตรงหน้าบัน ซึ่งเป็นรูปพระอินทร์ทางช้างเอราวัณและลายเครือเถาเหนือขอบประตู หลังคาไม่มีช่อฟ้าแบบวัดลาวทั่วไป ภายในสิมมีภาพจิตรกรรมฝาหนังแบบปูนเปียกที่สวยงามควรเข้าชมวัดนี้ขึ้นพูสี
ย่านบ้านเจ็กและเฮือนมรดกเชียงม่วน
จากหอพิพิธภัณฑ์ไปจะเข้าสู่ย่านตึกแถวโบราณของเมืองหลวงพระบาง ที่ทอดตัวยาวอยู่สองฝั่งถนนสีสว่างวงเป็นย่านการค้าเก่าแก่ของเมือง บริเวณนี้ชาวหลวงพระบางเรียกว่า ย่านบ้านเจ็ก เนื่องจากสมัยก่อนเป็นย่านร้านค้าและที่อยู่อาศัยของคนเชื้อสายจีน ตึกแถวในละแวกนี้มีลักษณะเป็นห้องตึกแถวแบบจีน แต่ประดับตกแต่งลวดลายคล้ายแบบยุโรปจนกลายจนกลายเป็ยเอกลักษณะเฉพาะตัวอาคารส่วนใหญ่สร้างในสมัยพระเจ้าศรีสว่างวงค์ โดยผู้เป็นกำลังสำคัญในการปรับปรุงพัฒนาเมืองหลวงพระบางก็คือ เจ้าอุปราชบุญคงกล่าวได้ว่าสภาพผังเมืองหลวงพระบางในปัจจุบัน รวมทั้งอาคารที่ทำการของรัฐส่วนมากซึ่งก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมผสมยุโรปนั้นเกิดขึ้นในสมัยนั้น ตึกแถวสองภนนสีสะหว่างวงนับจากหอพิพิธภัณฑ์จนมาสิ้นสุดที่ย่านบ้านเจ็ก ปัจจุบันปรับปรุงเป็นร้านขายของที่ระลึก ร้านอินเตอร์เน็ต ร้านดื่มกิน และร้านอาหารนานาชาติ รวมทั้งแหล่งที่พักราคาย่อมเยาสำหรับนักเดินทางประเภทแบกเป้อีกด้วย ซึ่งส่วนมากอยู่ด้านหลังตึกแถวอาคารพาณิชย์ของบ้านเจ็ก บริเวณนี้จึงเป็นแหล่งชุมนุมของนักท่องเที่ยวตลอดทั้งกลางวันและกลางคืนจนถูกขนานอย่างล้อเลียนจากนักท่องเที่ยวชาวไทยว่า ถนนข้าวสารแห่งหลวงพระบาง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งซื้อของใช้ ของฝากและของกินแล้วยังมี เฮือนมรดกโลกเชียงม่วน ที่ทางยูเนสดโกกล่าวว่า เป็นอาคารไม้ซึ่งเก่าที่สุดในหลวงพระบาง เดิมเป็นเรือนของพระยาหมื่นนา ขุนนางในราชสำนักล้านช้าง ในสมัยหนึ่งขุนนางและคหบดีเมืองหลวงพระบางนิยมปลูกกเรือนตึกแบบฝรั่ง ทำให้อาคารไม้แบบเดิมถูกรื้อไปมาก ที่เหลือสภาพสมบูรณ์อยู่ก็เฉพาะเรือนหลังนี้ ปัจจุบันได้ทำการซ่อมแซมจนมีสภาพที่สมบูรณ์ นับว่าเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นมรดกโลกที่องค์การยูเนสโกได้อนุรักษ์ไว้เป็นแบบอย่างของบ้านลาวยุคโบราณ
วัดป่าไผ่
เดิมบริเวณวัดเป็นป่าไผ่ ในเขตบ้านหอเจ้าฟ้าเหลือม ในสมัยพระเจ้าอนุรุทธราชมีการสร้างวัดขึ้นตรงป่าไผ่นี้จึงเรียกว่า วัดป่าไผ่ และเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็นบ้านป่าไผ่ไปด้วย สิมเป็นศิลปะแบบหลวงพระบาง ด้านหน้ามีภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวลาว ภายในสิมวักป่ามีงานจิตรกรรมฝาผนังที่ใช้การลงปิดทางหรือพอกคำ เป็นเรื่องราวในชาดกต่างๆ งานลงรักปิดทองนี้นับว่าสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในบรรดาวัดทั้งหลายหลวงพระบาง
วัดสีพุดทะบาด วัดป่าแคและวัดป่าฝาง
วัดสีพุดทะบาด วัดป่าแคและวัดป่าฝาง เป็นกลุ่มวัดในอาณาบริเวณเดียวกันที่เชิงพูสีด้านทิศเหนือ วัดป่าแคและวัดป่าฝางเป็นวัดร้างเมื่อครั้งวัดสีพุดทะบาดขึ้นจึงรวมวัดทั้งสองเข้ามาด้วย ปัจจุบันที่นี้เป็นโรงเรียนสำหรับพระสงฆ์และสามเณร จึงเห็นเณรน้อยมาบริเวณนี้แทบทุกวัน จากมุมมองทางศาลาติดกับรอยพระพุทธบาท จะมองเห็นแม่น้ำคาน สะพานเหล็ก พระธาตุเพนพา และภูซวง ได้ชัดเจนทั้งหมดถือว่าจุดนี้หมายถึงสัญลักษณ์ของเมืองหลวงพระบาง
วัดป่าฝาง หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัดเชียงงาม สร้างในสมัยพระเจ้าอนุรุทราช เป็นวัดที่มีศิลปะแบบล้านช้างที่ชัดเจนมาก ปัจจุบันกำลังได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ โดยห้องกานมอละดก เป็นโครงการที่ 2 ต่อจากเฮือนมรดกเชียงม่วน
วัดป่าแค สร้างดดยพระเจ้านันทราชใน พ.ศ 2396 ตัวสิมเป็นศิลปะแบบเวียงจันทน์ นักท่องเที่ยวมักมาชมประตูหน้าบานซ้ายสุดซึ่งแกะสลักเป็นรูปฝรั่งผู้หนึ่ง ฟรังซีส การ์นิเยร์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสซึ่งเดินทางมาที่หลวงพระบางศตวรรษที่ 19 กล่าวว่าจะน่าเป็นรูปของ เจอราร์ด ฟาน วูสตอฟ Gerard Van Wusthof ชาวฮอลแลนด์ ซึ่งเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เดินทางมาถึงอาณาจักรล้านช้างเมื่อปี พ.ศ 2184 ในสมัยพระเจ้าสุริยะวงศาธรรมมิกราช แต่นักวิชาการฝ่ายทางลาวเชื่อว่าวัดนี้สร้างในสมัยที่อาณาหลวงพระบางเป็นเมืองลาด(ประเทศราช)ของสยามตรงกับมสัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งศิลปะต่างๆ ในลาวได้รับ อิทธพลจากสกุลช่างฝ่ายไทยไปไม่น้อย เช่น ตาม ระเบียงสิมที่ประดับเครื่องเคลือบจีน เชิงบันไดประดับตุ๊กตา สิงห์แบบสิงโตจีน ตามอย่างวัดไทยในสมัยรัชกาลที่ 3
วัดหนองสีคูนเมือง วัดหนอง
วัดหนองสีคูนเมือง อยู่ที่บ้านวัดหนอง แยะจากถนนสีสะสว่างตรงด้านข้างของโรงแรมวิลล่าสันติ เดิมชื่อ วัดสีคูนเมือง สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ 2272 เป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าองค์แสน พระพุทธรู้ที่สำคัญของเมือง ที่ได้ชื่อเช่นนี้เนื่องจากมีน้ำหนัก 1แสน ซึ่งประมาณ 120 กิโลกรัม พระเจ้าองคืแสนเป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบเชียงแสนตามแม่น้ำโขงมาแต่เชียงแสน แลมาขึ้นที่เมืองหลวงพระบาง ชาวหลวงพระบางเชื่อถือว่าพระเจ้าองค์แสนมีความศักดิ์สิทธิ์มาก เนื้องจากในปี พ.ศ 2317 ได้เกิดเหตุไฟไหม้สิมจนหมดสิ้น แต่องค์พระพุทธรูปซึ่งเป็นทองสำริดมิได้ไหม้ไปด้วย ชาวบ้านมาบนบานของสิ่งต่างๆจากพระพุทธรูปองค์นี้เสมอ ในปี พ.ศ 2348 ชาวบ้านได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่และได้รวมฟื้นที่หนองน้ำใกล้ๆเข้ามาในเขตพัทธสิมาด้วย จึงเรียกชื่อใหม่ว่า วัดหนอง หรือ วัดหนองสีคูนเมือง วัดหนองได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ที่เป็นเชื้อพระวงค์เก่า จึงมีความใหญ่โตโอ่อ่า สิมที่เห็นในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ด้วยรุปแบบศิลปะเวียงจันทน์ ซึ่งชาวบ้านศรัธาบูรณะขึ้นในปี พ.ศ 2507 บานประตูหน้าต่างไม้แกะสลักมีความงดงามวิจิตรไม่น้อย ฝีมือสกุลช่างเพี้ยตัน
วัดแสนสุขาราม ชาวหลวงพระบางมักเรียกว่าสั้นๆ ว่า วัดแสน อยู่บนถนนสีสะหว่างวงบนเส้นทางไปวัดเชียงทอง สร้างในปี พ.ศ 2261 สมัยพระเจ้ากิ่งกิดสะราช ถือว่าเป็นสถานที่เก่าแก่อันเป็นศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของหลวงพระบาง วัดนี้บรูณะมาหลายครั้ง ครั้งล่าสุดเป็นครั้งที่บูรณะครั้งใหญ่ มีการประดับดอกดวงด้วยมุกประดับทองคำที่สวยสดงดงามตามระเบียงและพัทธสีมา สิมของวัดแสนตกแต่งลวดลายพอกคำอย่างวิจิตร ตัวสิมเป็นศิลปะหลวงพระบางตอนกลางศตวรรษที่ 20 สังเกตเสาแปดเหลี่ยมและยอดเสารูปกลับบ้ว ด้านนอกสิมเป็นโรงเรือแข่งหรือซ่วงซึ่งมีอายุที่เก่าแก่ที่สุดของหลวงพระบาง และยังใช้แข่งขันในงานบุญเดือน 9 อยู่จนปัจจุบันติดกับโรงเก็บเรือแข่งเป็นหอพระพุทธรูปยืนปางเปิดโลก แบบเดียวกับพระพุทธรูปปางเปิดโลก แบบเดียวกับพระอัฏฐารสที่วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย คนหลวงพระบางเรียก พระพุทธว่า พระเจ้า ๑๘ สอก เนื่องจากความสูง ๑๘ ศอก
วัดศีรี ตั้งอยู่เลยวัดพระแสนไปทางวัดเชียงทอง สร้างในปี พ.ศ 2316 โดยกลุ่มชนชาวพวน เพื่ออุทิศให้กับทหารพวนที่ร่วมรบในสงครามระหว่างพม่าและล้านช้าง สิมที่สร้างใหม่จะเห็นว่ามีลักษณะไปทางสถาปัตยกรมมแบบตะวันตก มีความแปลกแตกต่างจากอื่นๆไปหลวงพระบาง
วัดเชียงทอง สุดยอดแห่งสถาปัตยกรรมล้านช้าง
วัดเชียงทองสร้างขึ้นระหว่างปี พ .ศ 2102-2103 ในรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ถือเป็นวัดซึ่งมีความโด่นเด่น ที่สุดบนแผ่นดินลาว และนับว่าเป็นตัวแทนอันสมบูรณ์ที่สุดของสิลปะสกุลช่างล้านช้าง สำหรับลักษณะศิลปะและสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ในวัดเชียงทองที่เห็นอยู่ในปัจจุบันสร้างขึ้นเมื่อมีการบูรณะครั้งใหญ่ในปี พ.ศ 2471 สมัยเจ้ามหาชีวิตสว่างวงค์ และต่อมาถึงเจ้ามหาชีวิต ศรีสว่างวัฒนาซึ่งเป็นกษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรลาวอุปถัมภ์แก่วัดเชียงทองมากเป็นพิเศษ ศิลปะล้านช้างในวัดเชียงทองที่ปรากฏเด่นชัดได้แก่ สิม หรือ อุโบสถซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมล้านช้างที่สมบูรณ์แบบ ถือเป็นตัวแทนศิลปะแบบล้านช้าง ทั้งภายนอกและภายในสิมมีภาพจิตรกรรมฝาผนังลายรดน้ำ ภายนอกเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา เช่น ไตรภูมิ ทศชาติ ส่วนภายในเป็นนิทานพื้นบ้าน เช่น เรื่องท้าวจันทะพานิด ภาพฝาผนังนี้ใช้เทคนิคการลงรักปิดทองซึ่งเรียกแบบชาวลาวว่า พอกคำ เยื้องกับด้านหน้าของสิมเป็น โรงเก็บราชรถ หรือชาวลาวเรียกว่า โรงเมี้ยนโกศ เป็นมี่เก็บพระโกศของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงค์ซึ่งสร้างในปี 2504 สมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ด้านหลังสิมมีวิวารน้อยที่สำคัญสองหลัง คือ หอพระม่านและหอพุทธไสยาสน์ ทั้งสองหลังมีความงดงามในแบบศิลปะไร้มายา คือศิลปะที่สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา หอพระม่าน ตัวหอตกแต่งด้วยกระจกสีเช่นเดียวกับหอพระพุทธไสยาสน์ พระม่าน ถือเป็น พระพุทธรูปที่สำคัญหนึ่งในสามองค์ของเมืองหลวงพระบาง อีกสององค์คือ พระบางและพระแสน หอพระพทุธไสยาสน์ ภายในมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์อายุราว 400 ปี
สิ่งที่น่าสนใจวัดเชียงทอง
ลายต้นทอง ด้านหลังสิม ด้านหลังสิมมีลายประดับกระจกสีเป็นรูปต้นไม้ใหญ่ มีนกและสัตว์หลายชนิดอาศัยอยู่ รูปลายนี้หมายถึงต้นทองหรือต้นงิ้วในภาษาไทย เนืองจากในสมัยก่อนบริเวณนี้เป็นป่าต้นทอง ชื่อเมืองเชียงทองและวัดเชียงทองก็ได้มาจากป่าต้นทองนี้ กล่าวกันว่าเมื่อร้อยปีที่ผ่านมายังมีต้นทองใหญ่ขนาดสามสี่คนโอบขึ้นอยู่ในบริเวณวัด เมื่อพระเจ้าศรีสว่างวัฒนาได้ปฏิสังขรณ์วัดเชียงทอง จึงให้ช่างประดับดอกดวงติดแก้วสี่เป็นรูปต้นทองไว้ที่หลังสิม เพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นนิมิตหมายถึงชื่อ เชียงทอง
อูบมูง ปกติอูบมุงใช้เป็นที่เก็บพระพุทธรูปพบเห็นได้ตามวัดต่างๆ ในหลวงพระบางและวัดบางแห่งทางภาคเหนือของไทยซึ่งเคยเป็นอาณาจักรล้านนามาก่อนก็ยังปรากฏอูบมุงหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง บางแห่งพระสงฆ์ก็ใช้เป็นที่ปฏิบัติกรรมฐาน ส่วนที่วัดเชียงทองเป็นที่เก็บพระพุทธรูปปางห้ามญาติ
วัดวิชุน วัดวิชุนราช
วัดวิชุนราช สร้างโดยพระเจ้าวิชุนราชในปี พ.ศ 2046 เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบางและตั้งชื่อวัดตามพระนามของพระองค์เองตัวสิมหรืออุโบสถเป็นงานงานแบบสกุลช่างไทยลื้อ หากแต่บานประตูเป็นไม้แกะสลักในแบบเชียงขวาง สังเกตได้จากภาพแกะสลักรูปพระพรหม แสดงการนุ่งผ้าแบบเบี่ยงทิ้งชายซึ่งเป็นลักษณะแบบเชียงขวาง ภายในสิมนากจากพระธานองค์ใหญ่แล้ว ด้านข้างและด้านหลังองค์พระมี พระพุทธรูปทั้งไม้และสำริดรวมทั้งศิลปวัตถุต่างๆซึ่งรวบรวมมาจากวัดร้างทั้งหลายในหลวงพระบาง ทางด้านหน้าสิมคือพระธาตุ หมากโม ซึ่งเป็นจุดสนใจที่สำคัญของวัด เนื่องจากรูปทรงที่แตกต่างจากพระธาตุทั้งหลายในเมืองลาว พระธาตุหมากโมเป็นเจดีย์ปทุมหรือพระธาตุดอกบัว แต่ชาวลาวทั่วไปเรียกว่า พระธาตุหมากโม เนื่องจากเก็นว่ามีรูปร่างคล้ายแตงโมผ่าครึ่งหรือทรงโอคว่ำ แตกต่างไปจากพระธาตุทั้งหลายในเมือลาว
วัดอาฮาม
เป็นวัดเล็กๆ ซึ่งเป็นสถานที่เก็บชุด ปู่เยอ-ย่าเยออยู่ติดกับวัดวิชุนราช สร้างโดยพระเจ้ามันธาตุราชเมื่อประมาณ พ.ศ 2361 ตรงบริเวณที่เจ้าฟ้างุ้มตั้งหอเสื้อเมืองเมื่อครั้งสถาปนานครศรีสัตนาคนหุตล้างช้างร่มขาว จุดตั้งวัดจึงเป็นสะดือเมืองของหลวงพระบาง เดืมชื่อว่าบ้านหอเลื้อเมือง มามสัยพระเจ้าโพธิสะราชได้รื้อศาลผีทั้งหลายในเมืองหลวงพระบางจนหมดสิ้นเพื่อให้คนลาวเลิกนับถือผี ภายหลังจึงสร้างขึ้นใหม่ที่ด้านข้างสิมเพื่อเป็นที่เก็บชุด ปู่เยอ ย่าเยอ เมื่อสร้างวัดอาฮามขึ้นแล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านอาฮาม
บัวกลางบึง
สระบัวกลวงบึง เป็นสระที่ขุดขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ สระมีลักษณะนี้สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในเมืองหลวงพระบาง นับว่าเป็นความชาญฉลาดของบรรพบุรุษชาวลาวที่ได้ขุดสระขึ้นมากมายในเมืองเพื่อเป็นแหล่งรับน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก ซึ่งน้ำในแม่โขงจะมีปริมาณมากจนดันไม่ให้น้ำในแม่น้ำคานไหลลงไปได้ ทำให้แม่น้ำคานเอ่อท้นเข้าท่วมตัวเมือง หากไม่มีการขุดสระเหล่านี้ขึ้น เมืองหลวงพระบางจะต้องท่วมทุกปี
วัดมะโนรม
ตั้งอยู่บริเวณบ้านมะโน เป้นวัดเก่าแก่ที่สุดในซึ่งยังเหลืออยู่ในหลวงพระบางวัดนี้สร้างใน พ.ศ 1915 โดยพระเจ้าแสนไท สร้างทับลงบนวัดเก่า ชื่อว่า วัดเชียงกลาง ซึ่งคณะสังฆทูตจากกัมพูชาเป็นผู้สร้างไว้แต่แต่ครั้งเดินทางเข้ามาเผยแผ่พุทธศาสนาบนแผ่นดินล้างช้างในสมัยเจ้าฟ้างุ้ม ถือเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในหลวงพระบางและเคยเป็นที่ประดิษฐานพระบางในระหว่างปี พ.ศ 2045-2056 พระประธานภายในสิมคือ ประพุทธรูปสำริดซึ่งใหญ่ประมาณและเก่าแก่ที่สุดในประทเศลาว หล่อขึ้นพร้อมกับการสร้างวัดพระพุทธรูปองค์นี้เป็นศิลปะสุโขทัย ในสมัยทัพฮ่อเข้าปล้มเมืองหลวงพระบาง วัดมะโมก็ถูกทำลายเช่นกัน พระประธานในสิมถูกตัดแขนทั้งสองข้างออกกล่าวกันว่าพวกฮ่อนึกว่าเป็นพระทองคำแขนข้างหนึ่งถูกพวกฮ่อนำไปอีกข้างพวกฮ่อขนไปไม่ทัน ทุกวันนี้แขนข้างดังกล่าวยังวางอยู่ข้างองค์พระธานในปี พ.ศ 2515 ชางหลวงพระบางช่วยกันสมทบุทนก่อสร้างสิมขึ้นใหม่ พร้อมทั้งหล่อแขนทั้งสองข้างพระพุทธรุปเติมต่อให้สมบูรณ์ดังที่เห็นในปัจจุบัน เมื่อมาชมภายในสิมและกราบนมัสการพระประธานแล้ว ลองถามพระหรือเณรถึงเรื่อง พระเข้าแขนกีด ท่านอาจจะนำรูปเก่มาให้ดู
วัดทาดหลวง
วัดทาดหลวงมีความโดดเด่นอยู่ด้านหลังชาวบ้านมักเรียกว่า วัดทาดตามตำนานกล่าวว่าวัดนี้สร้างโดยสังฆทูตพระเจ้าอโศกมหาราชวึ่งเดินทางจากอินเดียมาเผยแผ่พุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ 3 พงศาวดารลาวกล่าวว่าวัดนี้สร้างในปี พ.ศ 2361 ในรัชกาลพระเจ้ามันธาตุราช หน้าสิมด้านเหนือมีเจดีย์เล็กๆซึ่งสร้างตั้งมา ในพ.ศ 2363 โดยเจ้าหญิงปทุมมาพระธิดาของเจ้าอนรุทราช ต่อมาในพ.ศ 2508 ได้บรูณะเจดีย์เพื่อเป็นนที่เก็บพระสรีรังคารของพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงค์ การบูรณะครั้งนี้ได้พบโบราณวัตถุหลายอย่างฝังอยู่ใต้ฐานเจดีย์ ปัจจุบันเก็บไว้ภายในหอพิพิธภัณฑ์ ทุกๆปีนี้ วันที่ 29 ตุลาคม ซึ่งครบรอบวันสวรรคของพระองค์ เชื้อพระวงค์เก่าทั้งที่ยังอาศัยอยู่ในเมืองหลวงพระบางและจากต่างประเทศจะกลับมาร่วมกันทำบุญที่วัดแห่งนี้
วัดพะบาด
เดิมเป็นวัดเก่า สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ 1938 สมัยพระเจ้าสามไท สิมดั้งเดิมเป็นศิลปะแบบล้านนา แต่ครั้งปฏิสังขรณ์ในปี พ.ศ 2503 สมาคมชาวญวนเป็นเจ้าศรัทธา จึงเปลี่ยนรูปแบบเป็นเวียดนามอย่างที่เห็นในปัจจุบัน บางครั้งชาวบ้าน เรียกว่า วัดญวนหรือวัดวัดพะบาดใต้ เพื่อให้ชาวต่างจากวัดสีพุดทะบาดซึ่งอยู่ในตุงเมืองตรงพูสี วัดพะบาดอยู่ติดกับแม่น้ำโขง รอยพระพุทธบาทอันเป็นที่มาของชื่อวัดอยู่ตรงบันไดทางลงท่าน้ำ มีอุโมงค์ครอบไว้ชั้นหนึ่งหากเป็นช่วงหน้าน้ำรอยพระพุทธบาทจะจมอยู่ในใต้สายน้ำโขงแต่ผู้ที่มาเที่ยววัดพะบาดส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการชมพระอาทิตย์ตก นับว่าเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกดีที่สุดแห่งหนึ่งในหลวงพระบาง
วัดเชียงแมน วัดร่องคูน วัดถ้ำสักริน
วัดเชียงแมน ซึ่งบางคนนิยมเรียกว่าวัดจอมเพชร สร้างในปี พ.ศ 2135 สมัยพระเจ้าหน่อแก้วกุมาร ต่อมาทรุดโทรมลงจมชาวเมืองเชียงแมนได้ช่วยกันบูรณะขึ้นในปี พ.ศ 2470 ส่วนที่เป็นของเก่าแก่ดั้งเดิมคือ บานประตูและมีวัตถุสำคัญคือ คามหาม ของพระเจ้าองค์นกหรือพระบรมขัตติวงศา ผู้ครองหลวงพระบางระหว่างปี พ .ศ 2256-2266
วัดร่องคูนอยู่ข้ามกับวัดเชียทอง ห่างจากพระธาตุจอมเพชรราว 500 เมตร สร้างในปีพ.ศ 2334 สมัยเจ้าอนุรุทธราช ถายในอุโบรถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติ ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ตองกลาง รัชกาลที่ 3ขึ้นมา วัดร่องคูนเคยได้รับการบูรณะโดยทหารไทยเมื่อครั้งที่เจ้าพระยาสุรศิกดิ์มนตรียกทัพมาปราบฮ่อ เพราะทัพไทยมาตั้งทัพบริเวณนี้
วัดถ้ำเชียงแมน สร้างในสมัยเจ้ามหาชีวิตสักกะริน เมื่อ พ.ศ 2432 บางครั้งจึงเรียกว่า วัดถ้ำสักริน หรือ วัดถ้ำสักริน หรือวัดถ้ำสักรินสุวรรณคูหา ภายในเขตวัดมีถ้ำแห่งหนึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำโขง เป็นที่เก็บพระพุทธรูปไม้มากมายคล้ายกับที่ถ้ำติ่ง เนื่องจากเป็นวัดที่มีอยู่ไกลชุมชน ยากในการบิณฑบาตและส่งจังหัน ภายหลังเป็นวัดร้างมีคนมาสรงน้ำพระพุทธรูปในถ้ำเฉพาะช่วงบุญ ถ้ำเชียงแมนมีความลึกและมืด พื้นถ้ำลื่น จะดีกว่าหากให้ชาวลาวเป้นผู้นำทางปกติ ประตูเหล็กหน้าปากถ้ำจะใส่กุยแจให้ ตามผู้เก็บลูกกุญแจได้ที่วัดร่องคูณ
บ้านซ่างไห
หมู่บ้านนี้อยู่ห่างจากพระบางไปทางทิศเหนือตามถนนหมายเลข 13 เหนือราว 25 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายเข้าบ้านซ่างไหอีกราว 5 กิโลเมตร บ้านซ่างไหอีก 5กิโลเมตร บ้านซ่างไหเป็นหมู่บ้านของชาวลาวลุ่มที่อยู่ริมแม่น้ำโขง มีชื่อเสียงในการทำเหล้าด้วยวิธีการกลั่นแบบพื้นบ้านดั้งเดิม เหล้าไหแห่งบ้านซ่างไหนี้รสชาติร้อนแรง สีเหล้าบริสุทธิ์ ไร้มลทิน แบบที่เรียกว่า ใสเป็นตาตั้กแตน ปัจจุบันแล้วนอกจากจุดเด่นเรื่องเหล้าแล้วยังมีแม่ค้านำของที่ระลึกมาจากหลวงพระบางมาวางขาย ชื่อบ้านซ่างไหไม่ได้มาจากการเป็นหมู่บ้านต้มเหล้าในไหอย่างที่นักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้าใจ แต่เพราะมีการขุดพบเครื่องปั้นดินเผาอายุเก่าแก่ซึ่งชาวลาวเรียกว่า ไห ปัจจุบันหลุมขุดค้นซึ่งสำรวจแล้วโดยนักโบราณคดีจาดอิตาลี เปิดให้เข้าชมทุกวัน หลุ่มอยู่ใกล้วัดประจำหมู่บ้านจากบ้านซ่างไหไปตามถนนเลียบแม่น้ำโขง 10 กิโลเมตร ถนนจะมาสิ้นสุดที่ปากอู เป็นบริเวณซึ่งแม่น้ำอูไหลมารวมกับแม่น้ำโขง มีร้านอาหารบริการนักท่องเที่ยวอยู่หลายร้าน และมีเรือรับจ้างพาข้ามฝั่งไปยังถ้ำติ่ง
ถ้ำติ่ง เป็นถ้ำบนผารินแม่น้ำโขงฝั่งขวาตรงข้ามกับปากน้ำอู ชื่อถ้ำติ่งมีที่มาจากการมีหินงอกหินย้อยอยู่มากและเห็นได้ชัดเจนจาดฝั่งแม่น้ำ ชาวลาวเรียกหินงอกหินย้อยว่า หินตื้ง จึงเรียกว่า ถ้ำติ่ง ถ้ำติ่งมีอยู่สองถ้ำคือ ถ้ำติ่งล่างและถ้ำติ่งบน ถ้ำล่างหริอ ถ้ำลุ่ม ในภาษาลาว อยู่เหนือจากท่าจอดเรือเล็กเรือน้อยมีพระพุทธรูปตั้งแต่ 10 เมตรจนถึง 1เมตรครึ่ง ประดิษฐานอยู่มากมาย 2,500 องค์ มีทั้งพระพุทธรูปไม้และพระพุทธรูปปูนปั้น ส่วนมากเป็นฝีมือช่างพื้นบ้าน การนำพระพุทธรูปมาถวายเป็นพุทธบูชาตามถ้ำเพื่อทำบุญต่ออายุพระศาสนานั้นเป็นความเชื่อซึ่งมีมาแต่โบราณ ในช่วงสงกรานต์ชาวหลวงพระบางนิยมนั่งเรือทวนสายน้ำโขงเพื่อมาสรงน้ำพระและยังนำพระพุทธรูปทั้งที่หล่อหรือแกะสลักไม้มาถวายเพิ่มด้วย โดยถือว่าเป็นโอกาสท่องเที่ยวปีใหม่ไปในตัว จากถ้ำลุ่มมีทางเดินระยะทางราว 300 เมตรขึ้นไปยังถ้ำบนหรือ ถ้ำเทิงในภาษาลาว ถ้ำเทิงมีพระพุทธรูปเก็บไว้น้อยกว่าถ้ำลุ่มเป็นถ้ำที่ลึกและมืดกว่าถ้ำลุ่ม
สิ่งที่น่าสนใจ
ผาแอ่น-ภูโลง จากปากถ้ำติ่งสามารถมองเห็นผาแอ่นและภูโลงซึ่งอยู่ริมปากแม่น้ำอูด้านตรงข้ามกับถ้ำ ผาแอ่น-ภูโลงเป็นสถานที่ซึ่งปรากฏนานอยู่ในตำนานหลวงพระบาง ผาแอ่นเพี้ยน ชื่อมาจากผาแบ่นตามตำนานกล่าวว่าเป็นที่ซึ่งชาวลาวแข่งขันยิงธนูเอาชนะชาวข่าเจ้าของท่องถิ่นดั้งเดิม จึงได้มาครอบครองแผ่นดินหลวงพระบางแทนชาวข่าส่วนภูโลงนั้นเป็นโลงศพของนางอั้ว ตามนิทานพื้นบ้านเรื่องขุนลูนางอั้ว
ภาพเขียนสี จากท่าเทียบเรือหน้าถ้ำติ่ง เลาะตามหน้าผาขึ้นไปทางเหนือน้ำลัก 20 เมตรบนผนังสูงพื้นราวราว 15 เมตร มีกลุ่มภาพเขียนสีบนหน้าผา เป็นรูปคนและลวดล่ยเรขาคณิต เขียนด้วยสนิมเหล็กสีแดงเข้ม คล้ายที่พบในมณฑลกวางซีของประเทศจีน
วัดป่าโพนเพา บ้านผานม และศพมูโอต์
บ้านผานม เป็นจุดท่องเที่ยวซึ่งผู้มาเยือนหลวงพระบางมักถูกกำชับว่า พลาดไม่ได้เลย หบ้านอยู่ห่างจากหลวงพระบางแคเพียง 5 กิโลเมตร โดยแยกจากเส้นทางหมายลข 13 เหนือก่อนถึงสะพานข้านแม่น้ำคานเพียงเล็กน้อย ตรงทางแยกนี้สามารถแวะเข้าไปชมวัดป่าโพนเพา ซึ่งแม้ว่าจะเป็นวัดอายุไม่นานนัก แต่ก็เป็นจุดที่โด่ดเด่นสามารถมองเห็นได้จากตัวเมืองหลวงพระบางเนื่องจากวัดนี้อยู่บนเนินเล็กๆ ซึ่งบนยอดเนินได้สร้างเจดีย์สีทองอร่ามชื่อ สันติเจดีย์ ไว้ เมื่อขึ้นไปบนพูสีแล้วมองมายังทิศตะวันออก จะเห็นสันติเจดีย์สีทองตัดกับฉากหลังสีเขียวของภูซวงได้อย่างชัดเจน เพียงไม่ถึง 2 กิโลเมตรจากทางแยกบนถนนหมายเลข 13 เหนือจะถึงหมู่บ้านผานมของชาวลื้อซึ่งมีชื่อเสียงในการทำผ้าทอมือด้วยกี่กระตุกแบบดั้งเดิม ผ้าทอบ้านผานมมีทั้งผ้าแพรเบี่ยงลวดลายแบบลื้อแท้ๆและผ้าที่ประยุกต์เป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน เดี๋ยวนี้บ้านผานมได้นำผ้าทอมาขายให้กับนักท่องเที่ยวเลือกซึ้อนับว่าเป็นงานหัตถกรรมกลางหมู่บ้าน
สุสานอองรี มูโอต์ Henri Mouhot นักสำรวจชาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้เผยแผ่เรื่องราวของนครวัดให้รู้จักกันทั่วโลก บันทึกและภาพสเกตช์ของเขาทำให้โลกตื่นตะลึงกับความยิ่งใหญ่ของนครวัด หลังจากการค้นพบนครวัดแล้ว อองรี มูโอต์ เดิรทางต่อมายังอาณาล้านช้าง และมาถึงหลวงพระบาง ในพ.ศ 2404 เข้าได้สำรวจพืชพันธุ์และแมลงในป่านอกเมืองหลวงพระบาง ห่างจากบ้านผานมไปออกไป และได้สิ้นชีวิตอยู่ที่รินฝั่งแม่น้ำคานด้วยพิษไข้มาลาเรียระหว่างสำรวจบริเวณภูซวง คนนำทางซึ่งเป็นชาวบ้านผานมได้ฝังศพของเขาไว้ ณ บริเวณแก่งนู้น รินน้ำคานตรงจุดที่เสียชีวิต
น้ำตกกวางซี และน้ำตกตาดแส้
น้ำตกกวางซีหรือตาดกวางซีเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของหลวงพระบาง ชื่อน้ำตกนี้หมายถึงกวางหนุ่มที่เขาเพิ่มเรื่มงอก น้ำตกกวางซีเป็นน้ำตกหินปูน สายน้ำทิ้งตัวจากหน้าผาสูงกว่า 60 สูงสู่แอ่งน้ำกว้างเบื้องล่างทำให้เกิดละอองฝอยของไอน้ำฟุ้งกระจายทั่วบริเวณ ไม่อนุญาตให้เล่นน้ำในแอ่ง เพื่อความปลอดภัยของยักท่องเที่ยว ปัจจุบันน้ำตากวางซีอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ภายใต้การดูแลจากเจ้าหน้าที่กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ การไปเที่ยวน้ำตกจะต้องผ่านด่านตรวจซึ่งปิดในเวลา 13.00 น. นักท่องเที่ยวจึงควรไปก่อนเวลาสำหรับนักท่องเที่ยวชาติต่างชาติต้องเสียค่าเข้าชมน้ำตก ตามเส้นทางสู่น้ำตกกวางซียังจะได้พบกับวิถีชีวิตอันแท้จริงของบรรดาชมเผ่าในลาว โดยเฉพาะหมู่บ้านลาวเทิง เช่น หมู่บ้านท่าแป้น บ้านตาล บ้านอู้ นอกจากน้ำตากวางซีแล้ว ยังมีสามารถชมน้ำตกตาดแส้ ซึ่งเป็นน้ำตกหินปูนที่ไม่สูงนัก แต่ลำธารกว้างและลดหลั่นกันหลายชั้น แต่ละชั้นสามารถเล่นน้ำได้ น้ำตกชั้นสุดท้ายไหลลงสู่แม่น้ำคาน ป่าไม้รอบๆบริเวณร่มรื่นเย็นสบาย มีร้านอาหารให้ท่านเลือกรับประทาน ประเภทปิ้งปลา ปิ้งไก่ ส้มตำ และเหล้าเบียร์บริการอยู่ตรงทางขึ้นน้ำตก
ตลาดมืด ถนนคนเดิน
ช่วงเวลาประมาณ5โมงเย็น บริเวณหน้าพระราชวังเก่า บนถนนศรีสว่างวงศ์ จะเริ่มมีพ่อค้าแม่ค้าชาวหลวงพระบาง มาตั้งเสื้อนั่งขายสินค้า ของที่ระลึกให้กับนักท่อเงที่ยว เรียกแบบภาษาลาวว่า "ตลาดมืด" หรือเรียกแบบภาษาไทยว่า ตลาดค่ำ จัดในลักษณะถนนคนเดิน ปิดถนน จะตั้งขายกันตั้งแต่หน้า พิพิธภัณฑ์แห่งชาติหลวงพระบาง อีกฟากฝั่งที่อยู่ตรงกันข้ามจะเป็นตีนเขาวัดพูสี จากจุดที่จอดรถหน้าวังเจ้าหญิงมณีไลย เดินมาเรื่อยๆ จะเป็นอาคารเก่า รถวิ่งเข้าไม่ได้ เข้าได้เฉพาะคนและจักรยานเท่านั้น ถนนเส้นนี้ยังเป็นแหล่งรวมที่พัก รีสอร์ท โรงแรม เกสต์เฮ้ามากมาย ทำให้เป็นเหมือนจุดศูนย์รวมของนักท่องเที่ยวเมื่อยามเย็นมาถึง กลางวันเราก็ออกไปเที่ยวรอบๆเมือง พอตอนค่ำออกมาหาอะไรกินแล้วก็มาเดินตลาดมืดหาของฝากกัน เป้นการจัดสรรเวลาของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ล้วมีอะไรขายกันบ้างล่ะที่ตลาดมืดฟังจากชื่อ อย่าคิดไปว่าจะมีของเถื่อนขาย ที่ตลาดมืดแห่งนี้เขามีแต่ของท้องถิ่นขาย สิ้นค้าจำพวกทำมือ หัตกรรม ของชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่สามารถซื้อกลับไปฝากเพื่อนๆได้หลายๆคน ส่วนของชิ้นใหญ่ๆจะไม่ค่อยมีครับ เพราะของพวกนั้นไปซื้อเอาตามร้านใหญ่ๆ เครื่องประดับจะเห็นเยอะ ของประดับบ้าน เสื้อยืดที่ระลึก กางเกงผ้าฝ้ายที่ระลึกหลวงพระบาง
ตลาดดารา
ตลาดดารา เป็นตลาดที่ได้รับความนิยมจากคนหลวงพระบางและนักท่องเที่ยวทั่วไป ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง ถนนเชษฐาธิราช เยื้องโรงพยาบาลหลวงพระบาง สินค้าเด่นในตลาดดาราคือ เครื่องเงิน ผ้าทอมือที่มาจากแขวงหัวพัน ซำเหนือ และหลวงพระบาง นอกจากนั้นยังมีผ้าทอของไทลื้อ และผ้าทอจากลาวสูง ทอเป็นผ้าซิ่น หมวก ย่าม ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสินค้าประเภทโทรศัพท์มือถือจากประเทศจีน ราคาถูกๆ วางจำหน่ายอยู่เป็นจำนวนมาก
2 เมืองเชียงเงิน
การเมืองการปกครอง หมู่บ้าน ผู้บริหารของหมู่บ้านคือ นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) เมือง (อำเภอ)ผู้บริหารเมือง คือ คณะกรรมการปกครอง (เจ้าเมือง)
เมืองเชียงเงิน เป็นเมืองที่มีเขตติดกับเมืองหลวงพระบาง เป็นเส้นทางผ่านจากเมืองเวียงจันหรืออีกหลาย ๆ เมืองเข้าสู่เมืองหลวงพระบาง คนที่จะเดินทางทางมายังเมืองหลวงพระบางก็ต้องเดินทางผ่านเมืองเชียงเงินแห่งนี้ เมืองเชียงเงินเป็นเมืองที่มีวิวสวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถมองวิวเมืองเชียงเงินได้ ณ บริเวณจุดชมวิวบนที่สูง เพราะเมืองเชียงเงินอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม หากเรามองเห็นเมืองเชียงเงินจากมุมสูงเราจะเห็นหมู่บ้านจัดสรรมากมายปลูกเรียงรายกันอย่างสวยงาม ไม่ใช่ว่าคนที่เมืองเชียงเงินจะมีเงินมากมาย เพียงแต่รัฐบาลลาวได้สร้างบ้านจัดสรรในเมืองเชียงเงิน เพื่อให้กับประชาชนคนลาวที่มีพื้นที่บริเวณจุดที่สร้างเขือนน้ำคาน ได้ย้ายเข้ามาอยู่บ้านจัดสรรเมืองเชียงเงินแทน ตอนนี้เมืองเชียงเงินจึงมากด้วยพี่น้องชาวลาว และเป็นชุมชนขนาดย่อมที่มีการค้าขาย และการทำงาน และถือว่าเป็นเมืองทางเศรษกิจที่เริ่มดีแล้ว
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองเชียงเงิน
ตลาดสดบ้านปากแวด เมืองเชียงเงิน
ที่บ้านปากแวด เป็นตลาดสดในช่วงเวลายามเย็นเป็นตลาดเล็ก ๆ ที่ขายสินค้าเหมือนตลาดนัดทั่วไป แต่สินค้าของเขาก็มีบางอย่างที่ไม่เหมือนกับประเทศไทย อาทิ ค้างคาว ขนม กับข้าว ที่จะเป็นวิถีการใช้ชีวิตการกินอยู่แบบคนลาว แต่สิ่งที่ไม่แตกต่างกันในเรื่องของสินค้าในตลาดก็คือ พืช ผัก เท่านั้น ดังนั้นการเดินทางมายังเมืองเชียงเงินก็ไม่ควรพลาดในการเดินเที่ยวชมตลาด และซื้ออาหารลาว ชิมขนมลาว เพราะอาหารประเทศลาวก็ไม่แตกต่างกับประเทศไทยมากเท่า
3 นาน
การเมืองการปกครอง หมู่บ้าน ผู้บริหารของหมู่บ้านคือ นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) เมือง (อำเภอ)ผู้บริหารเมือง คือ คณะกรรมการปกครอง (เจ้าเมือง)
เมืองนานเป็นเมืองเล็กๆ เมืองนาน เป็นแขวงหนึ่งของเมืองหลวงพระบาง การเดินทางจากเวียงจันทน์ถึงเมืองนานทางไม่ลำบาก เพราะเป็นถนนหลักหมายเลข 13 ตลอดริมถนนของเมืองนาน จะมีชาวลาวอาศัยอยู่ มีร้านค้า ร้านอาหาร บริการสำหรับชาวบ้านหรือคนที่สัญจรไปมา การเดินทางไปยังเมืองนานมีจากเมืองกาสี มี 2 เส้นทางคือ เส้นทางเก่า จะผ่านเมืองกาสี พูคูน กิ่วกระจำ เมืองนาน โดยใช้เส้นหมายเลข 13 เหนือ ทางใหม่จะวิ่งจากเมืองกาสีเข้าสู่เมืองนานเลย ซึ่งสามารถลดระยะเวลาการเดินทางได้มากกว่าเส้นทางแรก
4ปากอู
เมืองปากอู ปากแม่น้ำอู ห่างจากเมืองหลวงพระบางมาทางตอนเหนือประมาณ 40 กิโลเมตร เป็นเมืองเก่าแก่ เมืองหนึ่งที่มีแม่น้ำอูไหลผ่าน แม่น้ำอู มีต้นน้ำจากเขตที่สูงทางตอนเหนือของแขวงหัวพันหรือแขวงพงสาลี ใตชายแดนจีน โดยไหลผ่านเลียบชายแดนเวียดนามเหนือและลาว ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขงทางด้านตะวันตกที่เมืองปากอู บริเวณบ้านหาดยานี้จะมีสะพานคอนกรีตสำหรับข้ามแม่น้ำอู เรียกว่าสะพานน้อยห้วยเป้า นักท่องเที่ยวจะแวะถ่ายรูปบนสะพานข้ามแม่น้ำอู ซึ่งจุดนี้จะสามารถชมความสวยงามของแม่น้ำอูไม่แพ้ที่ไหน ๆ และบริเวณคอสะพานข้ามแม่น้ำอูยังมีร้านอาหารบริการนักท่องเที่ยวที่สัญจรไปมาด้วย
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองปากอู
วัดปากอู
วัดที่อยู่ตรงกันข้ามกับถ้ำติ่ง วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่อย่างน้อยก็เป็นวัดที่สร้างสมัยเดียวกันกับถ้ำติ่ง ตามผู้เฒ่าผู้แก่พูดว่าโบสถ์วัดปากอูนี้สร้างในยุคเดียวกันกับวัดเชียงทอง ศตวรรษที่ 16 แต่ถูกทำลายโดยกลุ่มคนไม่ประสงค์ดีหลายครั้ง และได้บูรณะคืนหลายครั้งเช่นเดียวกัน โบสถ์นี้ยังรักษาโครงสร้างสถาปัตยกรรมของลาวแบบศตวรรษที่ 16 ได้ดีอยู่ถึงได้มีการบูรณะในหลายครั้งก็ตาม แต่ก่อนวัดนี้มีศาสนาสมบัติที่เก่าแก่ก่อนศตวรรษที่ 16 จำนานหนึ่ง และมีฝาผนังด้านหน้าของโบสถ์ ได้มีรูปวาดเกี่ยวกับพุทธประวัติ ณ ปัจจุบันนี้รูปภาพเก่าที่ติดอยู่ผนังด้านหน้าทิ้งไป แต่ช่างได้วาดรูปใหม่ไว้แทน ถึงแม้ว่าจะวาดขึ้นมาใหม่ก็ไม่มีค่าเท่าภาพเดิมที่เคยมีอยู่ วัดปากอูคือบ้านปากอูที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของ ในตระกูลเผ่าก๊กเข่า และ เผ่าลาวเทิง ลาวไทย ที่อพยพลงมาตามร่องแม่น้ำอูลงสู่แม่น้ำโขง
5น้ำบาก
เมืองน้ำบาก เป็นเมืองแห่งหนึ่งที่เงียบสงบ และนักท่องเที่ยวนิยมแวะมาเที่ยวชมที่เมืองแห่งนี้ ในอดีตเมืองน้ำบากได้รับขนามนามว่าเป็นเมืองแห่งนักรบ เพราะสมัยสงครามปลดปล่อยนักรบกล้าแห่งเมืองน้ำบาก ได้รับชัยจากฝ่ายราชอาณาจักร (ระบอบเก่า) ปัจจุบันเมืองน้ำบากนี้เป็นเมืองท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง และมีสินค้าเรื่องชื่อได้แก่ส้มเกลี้ยง ซึ่งเป็นส้มที่ขึ้นชื่อของประเทศลาว เมืองน้ำบากเป็นเมืองที่มีแม่น้ำบากไหลผ่าน และไปบรรจบกับแม่น้ำอู ปากน้ำบากก็ยังสามารถทะลุแล่นเรือไปยังเมืองงอยได้เช่นกัน ประชาชนชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเมืองน้ำบากจะมี 3 ชนเผ่าหลัก ๆ ก็คือ ชนเผ่าลาวเทิง ชนเผ่าลาวสูง ชนเผ่าลาวลุ่ม การคมนาคมก็สะดวกสบายแล้วเพราะมีรถโดยสารวิ่งตลอดการเดินทาง
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองน้ำบาก
บ้านห้วยห้า
เป็นหมู่บ้านที่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อาหารการกิน ข้าวเหนียวมาจากการทำนาปี แล้วปลูกข้าวโพด ปลูกผักเป็นสวน พวกหอม กระเทียม ฟักทอง มันเทศ และให้ขึ้นโดยดูแลน้อย เช่น ผักกูด ผักตำลึง กระถิน บ้างแต่ส่วนใหญ่จะหาผักจากป่า พวกหน่อไม้ เห็ด หวาย หาปลาตามห้วยหนอง แม่น้ำ เก็บสาหร่ายจากแม่น้ำ ดักหนูนา กระรอกป่า หมูป่า "ถ้าทำนาได้ข้าวแล้ว การหากับข้าวก็ไปตามป่าได้เลย ยังมีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์" เลี้ยงควายก็เอาไปไว้ในป่า สัปดาห์หนึ่งก็เข้าไปดูและอาจจะนอนเฝ้าบ้างบางคราว
6 งอย
เมืองงอย อยู่ห่างจากเมืองหลวงพระบางไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือราว 135 กิโลเมตรตั้งอยู่ท่ามกลางขุนเขาน้อยใหญ่ ช่วงหน้าฝนจนถึงฤดูหนาวจึงมีเมฆหมอกปกคลุมทาบทับอยู่ตลอดทั้งวัน คล้ายๆ กับมีปราการยักษ์และม่านมนต์ปกป้องเมืองเล็กๆ แต่น่ารักเอาไว้ในอ้อมกอดของธรรมชาติ เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวสไตล์ที่ชอบปลีกวิเวกและพักผ่อนแบบสันโดษ เมืองนี้ไม่ใช่เมืองใหม่ แต่มีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปราว 600 ปี เป็นชุมชนเล็กๆ ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านช้างโบราณมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ.1859-1936) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ล้านช้าง (ตรงกับสมัยพระเจ้าอู่ทอง) มีการเล่าขานต่อกันมาว่า ชื่อเมืองแผลงจากชื่อ ท้าวกาดวอย เจ้าเมืองยุคต้นๆ ตอนแรกชาวบ้านเรียก เมืองท้าวกาดวอย ต่อมาเหลือเพียง เมืองวอย ก่อนจะเพี้ยนเป็น งอย ในที่สุด (งอย แปลว่า ใกล้จะตก ) เมืองงอย ถือเป็นเมืองยุทธศาสตร์ทางทหารมาแต่ครั้งโบราณกาลเรื่อยมาจนถึงสมัยสงครามอินโดจีนและสงครามระหว่างรัฐบาลฝ่ายขวากับพรรคประชาชนปฏิวัติลาวฝ่ายซ้าย ในสมัยรัชกาลที่ 5 กองทัพไทยยังเคยยกพลมาตั้งทัพอยู่ที่นี่หลายวันระหว่างไปช่วยทางการลาวปราบกบฏฮ่อ
สถานที่ท่องเที่ยว เมืองงอย
อยู่เหนือหนองแก้วชั่วระยะเรือแล่น 1 ชั่วโมง เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ยังคงมีวิถีชีวิตเรียบง่ายแบบชนบท ชาวบ้านเลี้ยงชีพด้วยการประมงและทำนารายได้ส่วนใหญ่มาจากการเปิดเกสต์เฮาส์ย้อนไป 500 ปีก่อน บริเวณเมืองงอยเหนือเต็มไปด้วยวัดวาอารามมีวัดสำคัญ 3 วัดคือ วัดเหนือ วัดกาง(กลาง) และวัดใต้ วัดทั้งสามและวัดอื่นๆ ถูกทำลายเสียหายยับเยินในสงครามอินโดจีน แต่วัดเหนือและวัดใต้ได้รับการปฎิสังขรณ์ขึ้นใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวในงอยเหนือนอกจากสัมผัสชีวิตความเป็นอยู่แบบชาวบ้านและวักเก่าแก่ ก็มีป่าเขา ธารน้ำ และถ้ำ ได้แก่ ถ้ากาง (กลาง) ที่มีธารใสไหลกลางถ้ำ ถ้ำพะแก้ว (พระแก้ว) ภายในมีพระพุทธรูปหิน นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามรายละเอียดและหาคนนำทางได้จากเกสต์เฮาส์ซึ่งมีมากมายในเมืองนี้ อาทิ มิตรภาพ หมิงหมิง รัตนวงศา ไก่แก้ว นางโพนวิไล วงพระจันทร์ จัณฑาลี เป็นต้น
บ้านสบแจ่ม เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ในแขวงหลวงพระบางอยู่ติดลำน้ำอู การเดินทางต้องนั่งเรือรับจ้างจากเมืองงอยใหม่ ผ่านเมืองงอยเก่า ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง ก็จะถึงบ้านสบแจ่ม บ้านสบแจ่มประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในวันว่างประชาชนจะทอผ้าไหม มาวางจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวไว้ที่หน้าบ้าน ที่บ้านสบแจ่มมีโรงเรียนประจำหมู่บ้าน สำหรับเด็กในชั้นปฐม
7 เมืองปากแซง
เมืองปากแซง เป็นเมืองในแขวงหลวงพรบาง ทางด้านทิศเหนือติดกับเมืองงอย ทิศใต้ติดกับเมืองโพนชัย ตะวันออกติดกับเวียงคำ ทิศตะวันตกติดกับปากอู มีแม่น้ำแซงไหลผ่านมีสะพานน้ำแซงเชื่อมข้าม และมี แม่น้ำแม่เสือมซึ่งเมื่องปากแซงมี 2 แม่น้ำไหลผ่าน ปัจจุบันเมืองปากแซง กำลังมีโครงการสร้างเขื่อนแม่น้ำแซง ตั้งอยู่มีหุบเขาล้อมรอบตัวเมือง
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองปากแซง
ไม่ทราบข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว
8 โพนชัย
เมืองโพนชัยเป็นอีกเมืองในแขวงหลวงพระบาง เมืองโพนชัย หรือโพนไชสำหรับที่ตั้งมีอาณาเขตติดกับทางด้านทิศใต้ติดกับเมืองภูคูนและเมืองภูกูค แขวงเชียงขวาง ทางทิศเหนือติดกับเมืองปากแซง ทิศตะวันออกติดกับเวียงทอง แขวงหัวพัน ทิศใต้ติดกับเมืองหลวงพระบาง และเมืองเชียงเงิน
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองโพนชัย
9 จอมเพชร
เมืองจอมเพชร เป็นอีกเมืองในแขวงหลวงพระบาง มีที่ตั้งอาณาติดกับ ทางด้าน ทิศใต้ติดกับเมืองนาน ทิศเหนือติดกับเมืองงาแขวงอุดมไช ทิศตะวันออกติดกับเมืองหลวงพระบางและเมืองปากอู ทิศตะวันตกติดกับเมือง หงสา แขวงไชยบุรี
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองจอมเพชร
บ้านเชียงแมน
บ้านเชียงแมน คือ หมู่บ้านน้อยๆ อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำโขง ตรงกันข้ามกับเมืองหลวงพระบาง เป็นแหล่งผลิตอาหารและพืชผลทางการเกษตร เพื่อมาจำหน่ายในเมืองหลวงพระบางซึ่งไปมาหาสู่กันง่ายแค่นั่งเรือข้ามฟาก จากริมฝั่งแม่น้ำโขงหลวงพระบาง นั่งเรือข้ามฟากมาเดินชมวัดเก่าและวิถีชีวิตของบ้านเชียงแมน
ริมฝั่งแม่น้ำโขง คือ พื้นที่เกษตรกรรมชั้นดี ปลูกผักก็งาม มองไกลๆ ก็ได้บรรยากาศวิถีของผู้คน
แต่ฤดูที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงสูงก็คงจะท่วมตลิ่ง
บ้านจานเหนือ
บ้านจานเหนือ ตั้งอยู่ เมืองจอมเพชร (ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงทางด้านทิศใต้) เป็นหมู่บ้านหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในหลวงพระบางและภาคเหนือของลาวนักท่องเที่ยวสามารถชมขั้นตอนกรรมวิธีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบโบราณ นั่นคือใช้แรงงานคนทั้งหมดรวมถึงชมเตาดินเผาแบบดั้งเดิมที่อยู่กลางหมู่บ้านโคมไฟดินเผาประดับถนนหนทางในเมืองหลวงพระบางทั้งหมดล้วนแล้วแต่ผลิตมาจากบ้านจานเหนือแห่งนี้
10 เวียงคำ
เมืองเวียงคำ เป็นหนึ่งในห้าเมืองที่มีความกันดารของแขวงหลวงพระบางอยู่ห่างจากเทศบาลแขวงประมาณ 200 กิโลเมตรทางทิศเหนือ (ทางออกสู่แขวงหัวพัน เส้นทางหมายเลข 1) เป็นเมืองที่มีภูเขา มีแหล่งท่องเที่ยวที่ยังไม่ได้พัฒนาจำนวนมาก เช่น น้ำตกตาดค้อง สูงประมาณ 15 -20 เมตรและน้ำตกอื่นๆที่สวยงามอีก 3-4 แห่งอยู่ที่บ้านโพโฮน และตาดสมองที่บ้านน้ำลาว
11 ภูคูน
เมืองพูคูน เป็นเมืองเล็กๆสังกัดแขวงหลวงพระบางเมืองเล็กๆแห่งนี้ประกอบด้วยประชาชนจากชนเผ่าต่างๆหลายเผ่าเพราะเป็นเขตที่สูงชัน อาชีพหลักคือการกสิกรรมเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์เช่น ควาย วัว พืชเศรษฐกิจของเมืองนี้ ได้แก่ ลูกเดือย(หมากเดือย) ข้าวโพด (สาลี)ใบชา มัน ถั่ว ส้ม(หมากเกี้ยง) ผักปลอดสารพิษ และของป่าอื่นๆและอาชีพรอง คือ การให้บริการด้านการท่องเที่ยวปัจจุบันเมืองพูคูนได้ปรับปรุงและพัฒนาในทุกด้านให้ดีขึ้นจากที่เคยเป็นเมืองติดอันดับหนึ่งในห้าเมืองทุกข์ยากของแขวงหลวงพระบางก็ได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่า เมืองพูคูนพ้นภาวะดังกล่าวแล้ว อีกทั้งมีศักยภาพที่สูงขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองภูคูน
ตลาดภูคูน
ตลาดภูคูนเป็นตลาดเพื่อผู้สัญจรผ่านไปมา ทั้งคนลาวและนักท่องเที่ยว มีร้านอาหารที่ปลูกเป็นเพิงเรียงเป็นตับ พืชผัก ของป่าและสัตว์ป่า หลากหลายชนิด ชาวเขาที่มานั่งขายมีหลายชนชาติ บางคนก็บอกว่าป็นลาวเทิง บางคนก็บอกเป็นเผ่าม้ง หากใครมาจอดแวะที่นี่ก็จะได้รับการต้อนรับจากเด็กๆ เชื้อเชิญให้ซื้อข้าวโพดต้มในกระติกน้ำแข็งที่เก็บความร้อน แต่ข้าวโพดลาวจะเป็นพันธ์ข้าวเหนียวสีออกขาวๆ ต่างกับเมืองไทยที่นิยมฝักหลือง หรือพันธ์ Super Sweet เจ้าของพันธ์นี้ถ้าจำไม่ผิดก็น่าจะเป็นของบริษัท ซีพี นำมาเผยแพร่เมื่อราว พ.ศ.2520 หรือ 30 ปีก่อน จากนั้นคนไทยก็ติดอกติดใจกับพันธ์นี้มาตลอด แรกๆก็ตื่นเต้นกับความหวานชนิดที่มดยังตอม และเป็นพันธ์ที่สามารถกินดิบๆได้ ต่างกับพันธ์อื่นๆที่ต้องนำมาต้มอย่างเดียว และมีความหวานน้อยกว่า
12 โพนทอง
เมืองโพนทอง เป็นเมืองหนึ่งในแขวงหลวงบางพระ ที่ตั้งอาณาเขตติดกับทางด้าน ทิศใต้ติดกับเมืองคำ เหนือและเมืองใหม่ แขวงพงสาลี ทิศตะวันออกติดกับเวียดนาม เวียนเวียนฟู ทางด้านทิศตะวันตกติดกับเมืองงอย
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองโพนทอง -