Line ID: 0863399940



 

ลาวเหนือ แขวงเวียงจันทน์
ประวัติความเป็นมา

เป็นเมืองที่มีมาเก่า ตามตำนานการสร้างเมืองบางสำนวนได้กล่าวว่า มีฤๅษีสามพี่น้องมาปักหลักไม้จันทน์หมายเป็นเขตสร้างบ้านเมืองบริเวณนี้จึงได้ว่าเวียงจันทร์ พ.ศ. 2103 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างแทนเมืองเชียงดง-เชียงทอง(หลวงพระบาง) มีกษัตริย์ปกครองต่อเรื่อยมา จนกระทั่งลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นคอมมิวนิสต์ นครเวียงจันทร์จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเมืองหลวงของประเทศตั้งแต่พ.ศ. 2518 นครเวียงจันทร์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ตรงข้ามอำเภอ ศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เป็นเมืองที่ยังคงมีร่องรอยสมัยอาณานิคมอยู่มาก ถนนล้านช้างเป็นถนนสายสำคัญที่สุด สองฟากถนนเรียงรายไปด้วยสถานที่ทำการของรัฐบาล ธนาคาร บริษัทท่องเที่ยว ฯลฯ โดยอาคารบางส่วนเป็นตึกแบบยุโรปจากสมัยที่ลาวเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสเป็นแขวงหนึ่งที่ขึ้นกับแขวงกำแพงนครเวียงจันทน์ ซึ่งได้แยกจากกันในปี 1983 มีเนื้อที่บริเวณโดยรอบทั้งหมด 19,900 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันกำลังได้รับการพัฒนาและการเอาใจใส่เป็นพิเศษจากรัฐบาลมีพลเมืองทั้งหมดประมาณ 313,000 คน ประกอบด้วย 9 ตัวเมืองใหญ่ๆ คือ เมืองโพนโฮง, เมืองทุระคม, เมืองวังเวียง, เมืองแก้วอุดม, เมืองกาสี, เมืองไชยสมบูรณ์, เมืองฮ่ม, เมืองชะนะคาม และเมืองเฟืองมีชายแดนติดกับแขวงหลวงพระบาง, แขวงเชียงขวาง, แขวงบริคำไช, แขวงไชยะบุรี และแขวงกำแพงนครเวียงจันทน์แขวงเวียงจันทน์เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และมูลมรดกอันล้ำค่าเช่นมีป่าดงหนา และสานน้ำลำธารที่ใสเย็นซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของอู่ข้าวอู่น้ำในการทำมาหากินเลี้ยงชีพของประชาชนในเขตนี้ อ่างน้ำงึมถูกสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าไปรับใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและนำส่งออกขายต่างประเทศ นอกจากนั้นอ่างน้ำงึม ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศลาว ณ ที่นี้ แขวงเวียงจันทน์เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และมูลมรดกอันล้ำค่าเช่นมีป่าดงหนา และสานน้ำลำธารที่ใสเย็นซึ่งเป็นแหล่งกำเนินดของอู่ข้าวอู่น้ำในการทำมาหากินเลี้ยงชีพของประชาชนในเขตนี้ อ่างน้ำงึมถูกสร้างขึ้นด้วยการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าไปรับใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และนำส่งออกขายต่างประเทศ นอกจากนั้นอ่างน้ำงึม ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและสวยงานที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศลาวณ ที่นี้ ท่านจะได้สัมผัส กับธรรมชาติอันแท้จริงโดยเฉพาะแล้วชาวนครเวียงจันทน์ และชาวต่างประเทศจะใช้เป็นสถานที่พักผ่อนแบบปิคนิคสุดสัปดาห์ โดยการนั่งเรือล่องไปตามหมู่เกาะ ดอนน้อย, ใหญ่ ต่างๆ เวลากลับถึงฝั่งท่านก็จะสามารถแวะรับประทานอาหารด้วยเนื้อปลาสดๆ เมื่อมุ่งหน้าไปตามเส้น ทางหมายเลข 13 เหนือที่คดเคี้ยวไปตามสันภูประมาณ 152 กิโลเมตรจากกำแพงนครเวียงจันทน์ ก็จะถึงเมืองวังเวียงซึ่งเป็นเมืองที่มีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น และมีธรรมชาติที่สวยสดงดงาม เปรียบเสมือนกับเครื่องประดับของเมืองนี้ ผาท้อ, วังเวียง, ถ้ำจัง และสายน้ำโขงเป็นมิ่งขวัญของชาวเมือง ซึ่งใครๆ ก็ไม่อาจจะหลงลืมได้ เช่นเดียวกับผาต่อ-หน่อคำ ไม่เพียงแต่เท่านี้ วังเวียงยังเป็นดินแดนแห่งข้าวขาวสาวงาม ประชาชนขยันขันแข็ง วีระอาจหาญ ตั้งแต่ปู่ย่าตายาย ซึ่งได้มรดกทางด้านศิลปวัฒนธรรมสืบทอดมาให้ลูกหลานตราบเท่าทุกวันนี้
การเมืองการปกครอง
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ ซึ่งมีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยม ประมุข-ประธานประเทศ หรือตำแหน่งประธานาธิบดี คือ พลโท จูมมะลี ไชยะสอน หัวหน้ารัฐบาล-นายกรัฐมนตรี คือ นายบัวสอน บุบผาวัน
ภูมิประเทศ
เป็นเขตภูเขาสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,500 เมตรเขตที่ราบเวียงจันทน์ (อยู่ตอนใต้ของน้ำงึม) ที่ เป็นที่ราบซึ่งรวมเอาเนื้อที่ 1/4 ของประเทศนี้ เป็นดินเพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์ งอกงาม เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ
ภูมิอากาศ
เป็นแขวงที่มีอากาศร้อนเพราะเป็นที่ราบ
ประชากร
ประมาณ 450,006 คน

เศรษฐกิจ
เขื่อนน้ำงึม 1 ตั้งอยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ประมาณ 90 กิโลเมตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2515 เสียพื้นที่ป่าไปประมาณ 250 ตารางกิโลเมตร เพื่อกักเก็บน้ำ ในลำน้ำงึมไว้ ทำให้เกิดทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ มีเกาะเล็กเกาะน้อยกระจายอยู่หลายร้อยเกาะ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้พอใช้ในเวียงจันทน์และยังมีเหลือส่งออกมาขายทางฝั่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเศรษฐกิจหลักของแขวงเวียงจันทร์
เงินตรา
เงินตราและสกุลเงิน สกุลเงิน อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 กีบ = 4.05 บาท สัญลักษณ์ ₭หรือ ₭N

การแบ่งเขตการปกครอง

รหัสเมือง เมือง (ไทย) เมือง (อังกฤษ)
10-01 โพนโฮง
Phonhong
10-02 ธุรคม (ธุรคมหงส์สถิต)
Thoulakhom
10-03 แก้วอุดม
KeoOudom
10-04 กาสี
Kasy
10-05 วังเวียง
Vangvieng
10-06 เฟือง
Feuang
10-07 ชะนะคาม
Xanakharm
10-08 แมด
Mad
10-09 หินเหิบ
Hinhurp
10-10 เวียงคำ
Viengkham
10-11 ไชยสมบูรณ์
Xaisomboun
10-12 หมื่น

10-13 ฮ่ม (ร่ม)
Hom

เขตการติดต่อ
จุดผ่านแดนถาวร อ.เชียงคาน จ.เลย ตรงข้ามด่านท้องถิ่นเมืองซะนะคาม แขวงเวียงจันทน์
จุดผ่านแดนถาวร อ.ปากชม จ.เลย ตรงข้ามด่านท้องถิ่นบ้านวัง เมืองหมื่น แขวงเวียงจันทน์


ประวัติเมืองวังเวียง
เมืองที่เต็มไปด้วยธรรมชาติ ทิวเขา สายน้ำซอง ไร่นาแบบขั้นบันได และหมู่บ้านชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติต่างหลงไหลแวะเวียนกันมาท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสายและขึ้นชื่อเรื่องเมืองแห่งธรรมชาติ ทัศนียภาพอันงดงามตระการตาของทิวเขา ไร่นาแบบขั้นบันได และหมู่บ้านชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ ของลาว เช่น ลาวสูง ลาวเทิงลาวม้ง ไทลื้อ ชมความยิ่งใหญ่ของขุนเขาที่เต็มไปด้วยป่านานาพันธุ์ที่ขึ้นตามธรรมชาติ ระหว่างทางชมผาตั้ง ซึ่งเป็นภูเขาลูกเดียวที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว ด้านหน้าของภูเขามีน้ำซองไหลผ่าน ภูเขารูปร่างแปลกตา สลับซับซ้อนสวยงามยิ่ง นักท่องเที่ยวต่างขนานนามว่า “กุ้ยหลินเมืองลาว”ที่ตั้ง ตัวเมืองวังเวียง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำซอง ห่างจากเมืองหลวงกรุงเวียงจันทน์ 154 กิโลเมตร และห่างจากเมืองหลวงพระบาง 210 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเทือกเขาสูง มองเห็นสายน้ำกว้างสลับเนินทราย โดยมีเทือกเขาหินปูนเป็นฉากหลัง และได้ฉายาว่า กุ้ยหลินแห่งเมืองลาว เป็นแหล่งท่องเที่ยงของประเทศลาว
การเมืองการปกครอง
หมู่บ้าน ผู้บริหารของหมู่บ้านคือ นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)
เมือง (อำเภอ) ผู้บริหารเมือง คือ คณะกรรมการปกครอง (เจ้าเมือง)
แขวง (จังหวัด) ผู้บริหารแขวง คือ คณะกรรมการปกครอง(เจ้าแขวง)
เจ้าแขวง นายคำเมิง พงทะดี
รองเจ้าแขวง นายบุนมี พุดทะวง
เศรษฐกิจเมืองวังวียง
เป็นการทำเกษตรกรรมการปลูก ข้าว ข้าวโพด ลูกเดือย เพราะเป็นพื้นที่ราบ
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองวังเวียง
ถ้ำจัง เป็นถ้ำขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงที่สุด ถ้ำจัง ตั้งอยู่ห่างจากเมืองวังเวียงประมาณ 1 กิโลเมตร ก่อนจะเดินทางขึ้นถ้ำจัง นักท่องเที่ยวจะต้องเดินผ่านสะพานข้ามแม่น้ำซอง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อีกแห่งหนึ่งของถ้ำจังเพราะสะพานจะมีสีส้มสะดุดตา ส่วนการเดินทางขึ้นไปถ้ำจังนั้น จะต้องเดินขึ้นบันได 147 ขั้น เป็นทางลาดชัน เมื่อเดินขึ้นไปถึงก็จะพบกับถ้ำจัง ซึ่งแบ่งเป็น 2 โซนด้วยกันคือ ถ้ำฝั่งซ้ายมือ เมื่อเดินเข้าไปก็จะไปถึงจุดชมวิว จากจุดนี้สามารถมองเห็นวิวแม่น้ำซอง กับทุ่งนาสีเขียว กับธรรมชาติที่สมบูรณ์ของเมืองวังเวียง ส่วนโซนขวามือ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับหินงอกหินย้อยในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ภายในถ้ำอากาศเย็นสบาย เนื่องจากมีแม่น้ำไหลออกจากปากถ้ำสู่พื้นด้านล่าง จึงทำให้เป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวและเด็ก ๆ ในบริเวณจะมาเล่นน้ำกันเป็นจำนวนมาก
ถ้ำช้าง บ้านนาดาว เป็นถ้ำเล็กๆ ภายในมีพระพุทธรูปและรอบพระพุทธบาทและเป็นที่ตั้งของพระธาตุที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2511 และหินธรรมชาติที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายช้างตั้งเด่นอยู่ด้านขวาของถ้ำเป็นที่มาของชื่อถ้ำและหมู่บ้าน ทุกปีในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ บริเวณถ้ำช้างจะเป็นที่จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ ร้านค้าและวงดนตรีจะมาตั้งร้านค้าขาย ร้องรำกันอย่างสนุกสนาน
กุ้ยหลินเมืองลาว เมืองที่เต็มไปด้้วยธรรมชาติ ทิวเขา สายน้ำซอง ไร่นาแบบขั้นบันได และหมู่บ้านชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติต่างหลงไหลแวะเวียนกันมาท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสายซึ่งเต็มไปด้วยธรรมชาติ ทัศนียภาพอันงดงามตระการตาของทิวเขา ไร่นาแบบขั้นบันได และหมู่บ้านชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ ของลาว เช่น ลาวสูง ลาวเทิงลาวม้ง ไทลื้อ ชมความยิ่งใหญ่ของขุนเขาที่เต็มไปด้วยป่านานาพันธุ์ที่ขึ้นตามธรรมชาติ ระหว่างทางชมผาตั้ง ซึ่งเป็นภูเขาลูกเดียวที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว ด้านหน้าของภูเขามีน้ำซองไหลผ่าน ภูเขารูปร่างแปลกตา สลับซับซ้อนสวยงามยิ่ง นักท่องเที่ยวต่างขนานนามว่า “กุ้ยหลินเมืองลาว”
ถ้ำหอย เป็นถ้ำที่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าเป็นถ้ำลึกหลายกิโลเมตร ซึ่งเมื่อเข้าไปชมพุทธรูปนั้นมีความสวยงามเป็นอย่างมากชาวลาวเชื่อกันว่าถ้ำทุกถ้ำจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยคุ้มครอง ที่มาของชื่อถ้ำหอย มาจากลักษณะภายในของถ้ำที่คดเคี้ยวเหมือนหอยและยังเป็นถ้ำที่เดินค่อนข้างลำบากเนื่องจากมีน้ำขัง ภายในเป็นถ้ำมีดไม่มีไฟฟ้า คุณควรพกไฟฉายเข้าไปด้วย ถ้ำหอยมีความยาวประมาณ 1,400 เมตร ถูกสำรวจโดยนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส เหมาะแก่การเดินชมประมาณ 750 เมตร เท่านั้น เพราะหลังจากนี้จะพบแอ่งน้ำไม่สามารถเดินต่อไปได้
ถ้ำพูคำ อยู่ที่บ้านนาทอง ทางเข้าถ้ำต้องเดินผ่านป่าขึ้นไปประมาณ 200 เมตร ภายในประดิษฐานพระนอนสำริดจากประเทศไทย
วัดต่างๆในเมืองวังเวียง เก่าอายุราว 400-500 ปีอยู่หลายแห่ง ได้แก่วัดสีเสียงทอง หรือ วัดธาตุ วัดคัง วัดหัวพัน วัดสีสุมาน และวัดพงเพ็ญ

ประวัติเมืองกาสี
เป็นเมืองหนึ่งของแขวงเวียงจันทน์ เป็นทางผ่านสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังลาวตอนเหนือ เมืองกาสีมีเส้นทางที่สามารถเดินทางไปยังเมืองหลวงพระบางได้ 2 เส้นทางก็คือ เส้นทางสายเดิมสามารถเดินทางผ่านพูคูน กิ่วกระจำ เชียงเงินก็สามารถเดินทางไปถึงหลวงพระบาง และอีกเส้นทางสายใหม่ที่เดินทางจากเมืองกาสีผ่านเมืองนานแล้วเข้าสู่เมืองเชียงเงิน จะล่นระยะเวลาในการเดินทางได้อีก และเส้นทางสายใหม่นี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่น่าสนใจอีกได้แก่ถ้ำขุนลาง และมีน้ำตกแห่งใหม่เกิดขึ้นด้วย บรรยากาศระหว่างการเดินทางจะเป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีวิวสวย ๆ ของภูเขามากมาย เห็นภูเขาหัวโล้น และทิวเขาแต้มด้วยสายหมอก แต่ระหว่างการเดินทางจะไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ และหมู่บ้านของผู้คนก็ยังมีน้อยเพราะทางนี้เพิ่งจะเริ่มสร้างเสร็จได้ไม่นานกาสีเป็นอีกเมืองหนึ่งที่เป็นทางผ่านของเส้นทางที่จะเดินทางขึ้นไปตามเส้นทางภาคเหนือของประเทศลาว ตามเส้นทางหมายเลข13เหนือ ซึ่งว่าเมืองนี้ก้อเป็นเมืองที่ชาวบ้านทำนา และไร่ ปลูกพืช เป็นอาชีพ และล้อมรอบไปด้วยภูเขา นอกจากนี้ยังมีเขาที่เป็นจุดพิเศษ เช่นเขานมสาวที่เป็นเขาสองลูกนั้นอยู่คู่กัน และ มีเขายักษ์อ้าปาก ซึ่งมองไปแล้วเหมือนกับรูปยักษ์อ้าปากนอนอยู่ ภูเขาสองลูกนี้จึงเป็นที่มาของนิทานเลากันมา ว่า เมืองกาสีกาลครั้งหนึ่งเป็นเมืองที่สมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติและแหล่งทำอาชีพของคนเมืองนี้ แต่มาในวันหนึ่งมียักษ์ตนหนึ่งมานั่งจำศีลอยู่เมืองนี้ทำให้บ้านเมืองมืดมิด คนใดชายใดข้าไปต่อสู้ก็ถูกจับกินเป็นอาหารกระทั่งเจ้าเมืองหาวิธีแก้ไขไม่ได้นั้น จึงได้ให้ลูกสาวของตนเองไปปราบซึ่งนึกขึ้นได้ว่ายักจะโดนตัวหญิงสาวไม่ได้ พอแต่ลูกสาวเจ้าเมืองเดินทางเข้าไปนั้นเอามือไปผลักหน้าอกของยักษ์จึงทำให้ยักษ์ตนนั้นศีลขาดทำให้ยักนั้นตายกลายเป็นยักษ์อ้าปาก และลูกสาวเจ้าเมืองนั้นอับอายที่โดนแตะต้องตัวจากนั้นจึงตรอมใจตายนอนหงายกลายเป็นเขานมสาว
การเมืองการปกครอง
หมู่บ้าน ผู้บริหารของหมู่บ้านคือ นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)
เมือง (อำเภอ) ผู้บริหารเมือง คือ คณะกรรมการปกครอง (เจ้าเมือง)
แขวง (จังหวัด) ผู้บริหารแขวง คือ คณะกรรมการปกครอง(เจ้าแขวง)
เจ้าแขวง นายคำเมิง พงทะดี
รองเจ้าแขวง นายบุนมี พุดทะวง
เศรษฐกิจเมืองกาสี
การทำเกษตรกรรมต่างๆเช่น ปลูกข้าว มัน เผือก เป็นต้น
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองกาสี
ตลาดเมืองกาสี เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ของเมืองกาสี ซึ่งพ่อค้า แม่ค้า นำของที่หาได้จากป่า หรือจำพวกพืชผักต่างๆนำมาขาย นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาซื้อสินค้าหรือแวะชิมอาหารของตลาดเมืองกาสีและนอกจากนี้นักท่องเที่ยวจะได้ชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนเมืองกาสีที่ใช้ชีวิตอยู่แบบเรียบง่ายและมีความสุข
ประวัติเมืองเฟือง
เป็นเมืองทิศใต้ติดกับเมืองหมื่นและทิศเหนือติดกับเมืองกาสี ทิศตะวันออกติดกับเมืองหินเหิบ ทิศตะวันตกติดกับเมืองแมด เป็นเมืองที่มีขนาดเล็กและทำเกษตรกรรมยางพารามีเทือกเขาแต่ไม่สูงมากนัก มีสายน้ำซองไหนผ่าน เป็นสายน้ำที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตของชาวเมืองเฟืองที่อาศัยอยู่ริมน้ำแห่งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถชื่นชมธรรมชาติและวิถีชีวิตจากชาวเมืองเฟืองได้ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียงและเรียบง่ายโดยการปลูกพืชผักต่างๆเพื่อนำมาประกอบอาหาร
การเมืองการปกครอง
หมู่บ้าน ผู้บริหารของหมู่บ้านคือ นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)
เมือง (อำเภอ) ผู้บริหารเมือง คือ คณะกรรมการปกครอง (เจ้าเมือง)
แขวง (จังหวัด) ผู้บริหารแขวง คือ คณะกรรมการปกครอง(เจ้าแขวง)
เจ้าแขวง นายคำเมิง พงทะดี
รองเจ้าแขวง นายบุนมี พุดทะวง
เศรษฐกิจเมืองเฟือง
การทำเกษตรกรรมต่างๆ
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองเฟือง
ชมวิถีชีวิตชนเผ่าม้ง หรือ เผ่าลาวสูง นักท่องเที่ยวสามารถมาชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าม้งได้ โดยทุกๆปีจะมีการจัดงานชนเผ่าม้ง นอกจากนี้การแต่งกายของชนเผ่าม้งนั้นมีความแตกต่างของชนเผ่าอื่นๆและมีประเพณีต่างๆที่จัดขึ้นเพื่อทำพิธีต่างๆตามความเชื่อของชนเผ่า


ประวัติเมืองชะนะคาม
ทิศตะวันออกติดกับเมืองหมื่น ทิศตะวันตกติดกับเมืองตืดกับเมืองปากลายและแกนท้าวแขวงไชยบุรี ทิศใต้ติดกับจังหวัดเมืองเชียงคานประเทศไทย ทิศเหนือติดกับเมืองแมด เมืองชะนะคามเป็นเมืองที่มีสายน้ำโขงและน้ำเลยที่ไหลมาบรรจบกัน นอกจากจากนี้เมืองชะนะคามยังมีด่านพรมแดนไทย-ลาว และยังมีเส้นหมายเลข11 เป็นถนนที่มีการส่งถ่ายสินค้า สถานที่แหล่งท่องเที่ยวมีการล่องเรือจากเมืองปากลายมาเมืองชะนะคามและมีการส่งสินค้าทางเรือและทางบก รวมทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองชะนะคาม
การเมืองการปกครอง
หมู่บ้าน ผู้บริหารของหมู่บ้านคือ นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)
เมือง (อำเภอ) ผู้บริหารเมือง คือ คณะกรรมการปกครอง (เจ้าเมือง)
แขวง (จังหวัด) ผู้บริหารแขวง คือ คณะกรรมการปกครอง(เจ้าแขวง)
เจ้าแขวง นายคำเมิง พงทะดี
รองเจ้าแขวง นายบุนมี พุดทะวง
เศรษฐกิจเมืองชะนะคาม
เป็นเมืองที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขงจึงมีปลูกข้าว และพืชผักต่างๆ เพราะในบริเวณที่ติดกับแม่น้ำโขงนั้นจะมีพื้นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลกพืชต่างๆ
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองชะนะคาม
ตลาดเช้าเมืองชะนะคาม เป็นตลาดในตอนเช้าของเมืองที่จะมีชาวบ้านเมืองชะนะคามนำเนื้อสัตว์ พืชผัก ผลไม้ นำมาวางขาย และนอกจากนี้ยังมีของหายากที่อยู่ในป่าที่นำมาขายอีกด้วย โดยผู้คนในเมืองก็จะมาทั้งเพื่อขายของและซื้อของกันเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ตลาดเช้าเมืองชะนะคามนั้นคึกคักกันด้วยผู้คนมากมายพร้อมทั้งอาหารการกินที่แปลกและมีความแตกต่างจากที่อื่นๆอีกด้วย


ประวัติเมืองโพนโฮง
เมืองโพนโฮง เป็นเมืองหนึ่งของแขวงเวียงจันทน์ สำหรับคนที่จะเดินทางจากนครหลวงเวียงจันทน์ ไปวังเวียง หรือหลวงพระบาง ต้องขับรถไปทางหมายเลข 13 และต้องผ่านเมืองโพนโฮงแห่งนี้ และที่เมืองโพนโฮงยังเป็นเส้นทางที่จะเดินทางเข้าไปเขื่อนน้ำงึมได้อีกเช่นกัน โพนโฮงเป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยพอสมควร ระหว่างการเดินทางเข้ามาเมืองโพนโฮงจะมีร้านค้าร้านอาหารและที่พัก หรือรีสอร์ทให้แก่นักท่องเที่ยว นอกจากเขื่อนน้ำงึมที่อยู่ในเมืองโพนโฮงนั้นเป็นเขื่อนที่สำคัญจองใน สปป.ลาว อีกแห่งหนึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับภายในประเทศของตนเองและจัดจำหน่ายไปยังประเทศไทยอีกด้วย
การเมืองการปกครอง
หมู่บ้าน ผู้บริหารของหมู่บ้านคือ นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)
เมือง (อำเภอ) ผู้บริหารเมือง คือ คณะกรรมการปกครอง (เจ้าเมือง)
แขวง (จังหวัด) ผู้บริหารแขวง คือ คณะกรรมการปกครอง(เจ้าแขวง)
เจ้าแขวง นายคำเมิง พงทะดี
รองเจ้าแขวง นายบุนมี พุดทะวง

เศรษฐกิจเมืองโพนโฮง
การทำเกษตรกรรมคือ ปลูกข้าว ข้าวโพด ลูกเดือย และพืชผักตลอดทั้งปีเพราะเมืองโพนโฮงเป็นที่ราบและในบางพื้นที่มีการเลี้ยงสัตว์
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองโพนโฮง
ตลาดโพนโฮง มีสินค้ามากมายให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อสินค้าซึ่งจุดพักรถนั้นอยู่ที่เมืองโฮงโพน ที่นักท่องเที่ยวต้องมาพักรถที่ตลาดนี้ และนอกจากนี้ยังมีร้านอาหารมากมายให้นักท่องเที่ยวได้ชิมอาหาร และสินค้าต่างๆไปเป็นของฝากจากเมืองโพนโฮงได้อีกด้วย


เมืองธุรคม
เป็นเมืองที่ทิศใต้นั้นอยู่ติดกับเมืองไชธานีกำแพงนครหลวงเวียงจันทร์ ทิศเหนืออยู่ติดกับเมืองเวียงคำ ทิศตะวันอยู่ติดกับเมืองท่าพระบาท ทิศตะวันตกอยู่ติดกับเมืองโพนโฮง เมืองนี้มีสายน้ำเมืองซึ่งเป็นสายน้ำหลักๆของเมืองธุรคมเป็นสายใหญ่ และมีการเลี้ยงปลากระชัง ปลานิล อยู่ตามริมน้ำซึ่งชาวบ้านได้เลี้ยงไว้เป็นอาหารและปลูกพืชผักต่างๆเพราะเป็นเขตทุ่งเพียง มีชีวิตอยู่แบบเรียบง่ายตามวิถีชีวิตของชาวเมืองธุรคม นอกจากนี้ยังมีสถานีและบ่อพักไฟฟ้าอยู่ในเมืองธุรคมอีกด้วย เมืองนี้เป็นเมืองที่รักสงบเป็นอย่างมากจึงทำให้เมืองธุรคมอยู่แบบเรียบง่าย
การเมืองการปกครอง
หมู่บ้าน ผู้บริหารของหมู่บ้านคือ นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)
เมือง (อำเภอ) ผู้บริหารเมือง คือ คณะกรรมการปกครอง (เจ้าเมือง)
แขวง (จังหวัด) ผู้บริหารแขวง คือ คณะกรรมการปกครอง(เจ้าแขวง)
เจ้าแขวง นายคำเมิง พงทะดี
รองเจ้าแขวง นายบุนมี พุดทะวง

เศรษฐกิจเมืองธุรคม
การทำการเกษตรกรรม เพราะเมืองธุรคมอยู่ในเขตทุ่งเพียงเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าว
ข้าวโพด มัน เผือก อ้อย เป็นต้น
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองธุรคม
ประเพณีตามเดือนต่างๆ เมืองธุรคมนั้นเป็นเมืองที่เป็นที่ราบและทำการเกษตรใช้ชีวิตอยู่แบบเรียบง่ายสถานที่ท่องเที่ยวนั้นไม่มี แต่มีงานประเพณีตามงานต่างๆของ สปป.ลาว เท่านั้น


เมืองแก้วอุดม
ทิศใต้ติดกับเมืองเวียงคำ ทิศเหนือติดกับเมืองวังเวียง ทิศตะวันออกติดกับเมืองไชสมบูรณ์และเมืองฮ่ม ทิศตะวันตกติดกับเมืองหินเหิบ เขื่อนน้ำงึมนั้นติดกับเมืองอุดมไชมีพื้นที่อยู่ในเขตแก้วอุดม 65% ของพื้นที่ และอีก 35% เป็นพื้นการทำเกษตรกรรมของเมืองแก้วอุดม นอกจากนี้ยังมีการปลูกยางพาราเพื่อส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือ เวียดนาม เมืองแก้วอุดมนั้นเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยไม้ไผ่มีพื้นที่ราบ
การเมืองการปกครอง
หมู่บ้าน ผู้บริหารของหมู่บ้านคือ นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)
เมือง (อำเภอ) ผู้บริหารเมือง คือ คณะกรรมการปกครอง (เจ้าเมือง)
แขวง (จังหวัด) ผู้บริหารแขวง คือ คณะกรรมการปกครอง(เจ้าแขวง)
เจ้าแขวง นายคำเมิง พงทะดี
รองเจ้าแขวง นายบุนมี พุดทะวง
เศรษฐกิจเมืองแก้วอุดม
การหาปลาและจับปลานำมาขาย นอกนี้ยังนำปลาที่จับได้นำมาแปรรูปเป็นอาหารต่างๆ

สถานที่ท่องเที่ยวเมืองแก้วอุดม
เขื่อนน้ำงึมตั้งอยู่ห่างจากนครเวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2515 มีลักษณะเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ กักเก็บน้ำในลำน้ำงึมเอาไว้ เขื่อนน้ำงึมแห่งนี้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในปริมาณที่มากพอสำหรับใช้ในนครเวียงจันทน์ และยังมีเหลือพอส่งออกมาขายทางฝั่งไทย การสร้างเขื่อนน้ำงึมต้องเสียพื้นที่ป่าไปประมาณ 250 ตารางกิโลเมตร ภายในเขื่อนน้ำงึมมีเกาะเล็กเกาะน้อยกระจัดกระจายอยู่หลายร้อยเกาะ เหมือนอ่างเก็บน้ำทั่วๆ ไป และที่ท่าเรือบ้านนาคะนูนจะมีเรือของชาวบ้านให้เช่าออกไปเที่ยวตามเกาะแก่งต่างๆ ในอ่างเก็บน้ำพุร้อนชื่นชมธรรมชาติอันงดงามภายในอ่างเก็บน้ำ


เมืองแมด
เป็นเมืองที่ทิศตะวันออกนั้นติดกับเมืองเฟืยง ทิศตะวันตกติดกับเมืองปากลายแขวงไชยบุรี ทิศใต้อยู่ติดกับเมืองชะนะคามและเมืองหมื่น ทิศเหนืออยู่ติดกับเมืองกาสี เป็นเมืองที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขงเป็นเมืองที่การเดินทางที่สะดวกสบาย เมืองแมดเป็นเมืองที่แม่น้ำโขงไหลผ่านตรงพรมแดนระหว่างเมืองปากลายและเมืองแมดนั้นก็คือแขวงเวียงจันทน์และแขวงไชยบุรี มีวิถีชีวิตอยู่กับสายน้ำโขงและเรียบง่าย โดยพื้นที่ที่อยู่ติดกับริมน้ำโขงนั้นจะมีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกเพื่อทำเกษตรกรรมเมืองแมดจึงเป็นเมืองที่มีการปลูกข้าวซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวเมืองแมด
การเมืองการปกครอง
หมู่บ้าน ผู้บริหารของหมู่บ้านคือ นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)
เมือง (อำเภอ) ผู้บริหารเมือง คือ คณะกรรมการปกครอง (เจ้าเมือง)
แขวง (จังหวัด) ผู้บริหารแขวง คือ คณะกรรมการปกครอง(เจ้าแขวง)
เจ้าแขวง นายคำเมิง พงทะดี
รองเจ้าแขวง นายบุนมี พุดทะวง
เศรษฐกิจ
การปลูกข้าว เพราะพื้นที่บริเวณน้ำโขงเป็นดินที่มีความอุดมสมณ์


เมืองหินเหิบ
เป็นเมืองที่ทิศใต้นั้นติดกับเมืองสังค์ทองกำแพงนครหลวงเวียงจันทร์ ทิศเหนือติดกับเมืองวังเวียงทิศตะวันออกติดกับเมืองแก้วอุดม ทิศตะวันตกติดกับเมืองเฟือง เมืองหินเหิบนั้นมีสะพานเก่าที่มีสายน้ำซองไหลผ่านเมืองหินเหิบไหลผ่านตลอดทั้งปีซึ่งจะไหลไปประจบกับสายน้ำงึม และก่อนที่จะเดินทางไปเมืองหลวงพระบางจะต้องเดินทางผ่านเมืองหินเหิบและจะสามารถมองเห็นสะพานเก่าของเมืองหินเหิบ มีเส้นทางหมายเลข 13 เมื่อเดินทางไปหลวงพระบางจะพบว่าสองข้างทางนั้นชาวบ้านจะนำพืชผัก ผลไม้ ที่ชาวบ้านได้ปลูกนำมาขายให้กับนักท่องเที่ยวซึ่งจะมีผลไม้ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นบ้าน
การเมืองการปกครอง
หมู่บ้าน ผู้บริหารของหมู่บ้านคือ นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)
เมือง (อำเภอ) ผู้บริหารเมือง คือ คณะกรรมการปกครอง (เจ้าเมือง)
แขวง (จังหวัด) ผู้บริหารแขวง คือ คณะกรรมการปกครอง(เจ้าแขวง)
เจ้าแขวง นายคำเมิง พงทะดี
รองเจ้าแขวง นายบุนมี พุดทะวง
เศรษฐกิจเมืองหินเหิบ
การทำเกษตรกรรมเช่น การปลูกแตง ข้าวโพด เป็นต้น
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองหินเหิบ
นั่งเรือสายน้ำงึม นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนชาวเมืองหินเหิบและชมโขดหินต่างๆ นอกจากนี้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์นั่งท่องเที่ยวจะพบชาวเมืองหินเหิบเล่นน้ำกันอยู่ที่สะพานเก่าและสะพานใหม่ของเมืองหินเหิบ


เมืองเวียงคำ
ทิศใต้อยู่ติดกับเมืองธุรคม ทิศเหนืออยู่ติดกับเมืองแก้วอุดม ทิศตะวันออกนั้นอยู่ติดกับเมืองร่ม ทิศตะวันตกอยู่ติดกับเมืองโพนโฮง เมืองเวียงคำเป็นเมืองเอกของแขวงเวียงจันทน์ที่เศรษฐกิจดีเพราะมีการทำเขื่อนน้ำงึม นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารต่างๆอยู่มากมายในบริเวณเขื่อนน้ำงึม และการทำไฟฟ้าส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ทำให้เมืองเวียงคำนั้นมีความเจริญเป็นอย่างมาก
การเมืองการปกครอง
หมู่บ้าน ผู้บริหารของหมู่บ้านคือ นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)
เมือง (อำเภอ) ผู้บริหารเมือง คือ คณะกรรมการปกครอง (เจ้าเมือง)
แขวง (จังหวัด) ผู้บริหารแขวง คือ คณะกรรมการปกครอง(เจ้าแขวง)
เจ้าแขวง นายคำเมิง พงทะดี
รองเจ้าแขวง นายบุนมี พุดทะวง
เศรษฐกิจเมืองเวียงคำ
การทำไฟฟ้าส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศไทย

สถานที่ท่องเที่ยวเมืองเวียงคำ
ตลาดน้ำงึม เป็นตลาดที่มีการค้าขายและคึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยวร่วมทั้งชาวเมืองเวียงคำ นอกจากนี้ยังมีเครื่องไม้แกะสลักซึ่งผู้ทำนั้นมาจากนักโทษในเรือนจำในเขตเกาะท้าวเกาะนาง และมีร้านอาหารที่คอยบริการนักท่องเที่ยวที่มีตลาดน้ำงึม นอกจากนี้ยังของฝากขึ้นชื่อของตลาดน้ำงึมคือ ปลาส้ม และมีเรือหางยาวคอยบริการนักท่องเที่ยวเพื่อพาชมสายงึมและเที่ยวชมหมู่ต่างๆในเขื่อนน้ำงึมซึ่งมีความสวยงามและยังได้สัมผัสถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในเมืองเวียงคำอีกด้วย
เมืองไชยสมบูรณ์
เป็นเมืองที่ทิศใต้อยู่ติดกับเมืองฮ่ม ทิศเหนืออยู่ติดกับเมืองผาไชยแขวงเชียงขวางและเมืองคูณของแขวงหลวงพระบาง ทิศตะวันออกติดกับเมืองท่าทมและเมืองโทงแขวงเชียงขวาง ทิศตะวันตกติดกับเมืองวังเวียง เมืองไชยสมบูรณ์เป็นเมืองที่มีพื้นที่มากกว่าเมืองอื่นๆ มีเส้นทางหมายเลข 5 เป็นหลัก เมืองไชยสมบูรณ์เมื่อก่อนเป็นเขตพิเศษไชยสมบูรณ์ มีสายน้ำงึมเป็นสายน้ำหลักที่ไหลผ่านเมืองไชยสมบูรณ์ ในปัจจุบันนี้มีการสร้างเขื่อนไฟฟ้าอยู่ที่เมืองไชยสมบูรณ์
การเมืองการปกครอง
หมู่บ้าน ผู้บริหารของหมู่บ้านคือ นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)
เมือง (อำเภอ) ผู้บริหารเมือง คือ คณะกรรมการปกครอง (เจ้าเมือง)
แขวง (จังหวัด) ผู้บริหารแขวง คือ คณะกรรมการปกครอง(เจ้าแขวง)
เจ้าแขวง นายคำเมิง พงทะดี
รองเจ้าแขวง นายบุนมี พุดทะวง
เศรษฐกิจเมืองไชยสมบูรณ์
การทำไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายและการปลูกยางพาราส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน


เมืองหมื่น

เป็นเมืองที่มีการทำอุสาหกรรมคือโรงงานแป้งมันที่เมืองหมื่นในเมืองหมื่นและนอกจากนี้ยังมีการทำเกษตรกรรมอีกด้วยเช่นการปลูกกล้วย แตง เผือก มัน เป็นต้น ผู้คนในเมืองหมื่นนั้นใช้วิถีชีวิตอยู่แบบเรียบง่ายและพอเพียง
การเมืองการปกครอง
หมู่บ้าน ผู้บริหารของหมู่บ้านคือ นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)
เมือง (อำเภอ) ผู้บริหารเมือง คือ คณะกรรมการปกครอง (เจ้าเมือง)
แขวง (จังหวัด) ผู้บริหารแขวง คือ คณะกรรมการปกครอง(เจ้าแขวง)
เจ้าแขวง นายคำเมิง พงทะดี
รองเจ้าแขวง นายบุนมี พุดทะวง
เศรษฐกิจเมืองหมื่น
การทำเกษตรกรรมและโรงงานอุสาหกรรม

เมืองฮ่ม
เป็นเมืองที่มีการทำเกษตรกรรมเช่น ปลูกข้าว แตง ข้าวโพด กล้วย เผือก มัน เป็นต้นและมีการเลี้ยงสัตว์ในบางพื้นที่ และชาวเมืองฮ่มใช้ชีวิตกันอย่างเรียบง่ายและพอเพียง
การเมืองการปกครอง
หมู่บ้าน ผู้บริหารของหมู่บ้านคือ นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)
เมือง (อำเภอ) ผู้บริหารเมือง คือ คณะกรรมการปกครอง (เจ้าเมือง)
แขวง (จังหวัด) ผู้บริหารแขวง คือ คณะกรรมการปกครอง(เจ้าแขวง)
เจ้าแขวง นายคำเมิง พงทะดี
รองเจ้าแขวง นายบุนมี พุดทะวง
เศรษฐกิจเมืองหมื่น
การทำเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์