แขวงสาละวัน
ความหมายและความเป็นมา
คำว่า “สาละวัน”เป็นนามเมืองที่สยามเปลี่ยนให้กับเมืองนั่นภายหลังที่เข้ามาปกครองลาว โดยตั้งชื่อจากภูมิประเทศของเมืองมั่นที่อุดมด้วย”ต้นฮัง” ซึ่งต้น ”ฮัง” ในภาษาบาลีคือต้น “สาละ” ในขณะที่คำว่า “วนะ”ที่แผลงมาเป็น “วัน” ในภาษาบาลีแปลว่า “ป่า” ดังนั้น “สาละวัน” จึงแปลว่า “ เมืองแห่งป่าต้นฮัง ” ซึ่งโดยความจริงก็เป็นเช่นนั้น แม้ในปัจจุบันที่ตั้งของเมืองสาละวัน และบริเวณโดยรอบอุดมไปด้วยไม้จิกและไม้ฮัง โดยเพฉาะที่ราบสูงโบโลเวนส์ ซึ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตแขวงสาละวัน ปัจจุบันแขวงสาละวันประกอบด้วย 8 เมือง คือ เมืองสาละวัน เมืองเลางาม เมืองคงเซโดน เมืองวาปี เมืองคอนพะเพ็ง เมืองลุ้มลาน เมืองตะโอย และเมืองสะม่วย แขวงสาละวันมีพลเมืองจากการสำรวจครั้งล่าสุด พ.ศ. 2543 ทั้งหมด 294,885 คน หญิง 152,161 คน ชาย 142,724 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 47,000 ครัวเรือน ความหนาแน่นของประชากรแขวงสาละวันประกอบด้วย 14 ชนเผ่า คือ เผ่าลาวลุ่ม เผ่ากะตาง เผ่าส่วย เผ่าละเวน เผ่าโอ้ย เผ่าผู้ไท เผ่าอิน เผ่าแงะ เผ่าต้ง เผ่ากะตู้ เผ่ากะโน และเผ่าอาลัก
ที่ตั้งและภูมิอากาศ
สาละวันมีพื้นที่ทั้งหมดนั้น 10,691 ตารางกิโลเมตร และมีชายแดนทางด้านทิศเหนือที่ติดกับแขวงสะหวันเขตความยาวประมาณ 275 และทางทิศทะวันออกติดกับแขวงเว้ ประเทศเวียดนาม มีความยาว 80 กิโลเมตร มีด่านไลลา เมืองสะม่วยซึ่งเป็นจุดผ่านทางแดนลาวเวียดนามในส่วนนี้ และทิศใต้ติดกับแขวงเซกองความยาวประมาณ 175 กิโลเมตร และแขวงจำปาสักประมาณ 90 กิโลเมตร มรด่านปากตะพานเมืองละครพะเพ็งตรงกันข้ามกับฝั่งไทยคือ บ้านปากแซง กิ่งอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ด้านของภูมิสัณฐานนั้นได้มีพื้นที่แขวงสาละวันแบ่งเป็น 3 เขต คือ เขตที่ราบลุ่มหรือทุ่งเพียงที่กินเนื้อไปประมาณ ร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด อยู่ในเขตเมืองสาละวัน เมืองวาปี เมืองเซโดน เมืองละครพะเพ็ง และเมืองตุ้มลาน เขตที่ราบสูงมีเนื้อที่ร้อยละ 20 คือพื้นที่เมืองเลางาม และส่วนหนึ่งของเมืองวาปีกับเมืองคงเซโดน เขตภูเขากินเนื้อที่ร้อยละ 40 คือพื้นที่เขตเมืองตะโอ้ยและเขตเมืองสะม่วยดังนั้นโดยภาพรวมด้านภูมิประเทศของแขวงสาละวัน จึงมีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำไหลผ่าน
เขตการปกครอง
แขวงสาละวันตั้งอยู่ตอนใต้ของ สปป. ลาว ทิศเหนือ ติดกับแขวงสะหวันนะเขตม,ทิศใต้ ติดกับแขวงจำปาสักทิศ , ตะวันออก ติดกับแขวงเซกองและจ.เถื่อเทียนเว้ เวียดนาม , ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี
รหัสเมือง เมือง (ไทย) เมือง (อังกฤษ)
14-01 สาระวัน
Salavan
14-02 ตะโอ้ย
Ta Oi
14-03 ตุ้มลาน
Toomlarn
14-04 ละครเพ็ง
Lakhonepheng
14-05 วาปี
Vapy
14-06 คงเซโดน
Khongxedon
14-07 เล่างาม
Lao Ngam
14-08 สะม้วย
Samuoi
เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจหลักที่สำคัญของแขวงสาละวันนั้นคือ การทำไฟฟ้าในแขวงและนอกจากนี้ยังส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายไปยังประเทศไทยอีกด้วยซึ่งเป็นรายได้ที่เข้าสู่แขวงสาละวันและเศรษฐกิจที่รองลงมาจากการทำไฟฟ้าคือ การปลูกเกษตรกรรม สามารถปลูกข้าวได้อย่างมีคุณภาพ มีเขตราสูงที่มีพื้นดินภูเขาไฟอุดมสมบูรณ์สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้หลากหลายชนิด เช่น กาแฟ หมากแหน่ง ถั่วชนิดต่างๆ ป่าน ปอ พริก ยาสูบ และไม้กินผล เช่นทุเรียน กล้วย น้อยหน่า เป็นต้น และสามารถจำหน่ายนำรายได้จำนวนมากเข้าสู่ สปป.ลาว นอกจากนี้แขวงสาละวันยังมีพื้นที่เป็นป่าและทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น ควาย วัว หลายแห่ง เช่น ทุ่งหนองบัว เมืองสาละวัน สำหรับแม่น้ำลำธารที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตและระบบเกษตรกรรมของแขวงสาละวันนอกจากแม่น้ำโขงที่ไหลกั้นเขตแดนราชอาณาจักรไทยกับสาละวัน นอกจากแม่น้ำโขงที่ไหลกั้นเขตแดนราชอาราจักรไทยกับสาละวัน นอกจากแม่น้ำโขงที่ไหลกั้นเขตแดนระหว่างอาณาจักไทยกับสาละวันระยะทาง 90 กิโลเมตรแล้ว ยังมีน้ำสายสำคัญคือ ลำน้ำเซโดน เซละนอง เซโปน เซมะนา เซเส็ด ฯลฯ ประชาชนโดยรวมของแขวงสาละวันโดยรวมของแขวงสาละวัน ต่างก็มีทักษะการประกอบอาชีพจากสภาพภูมิประเทศและทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่ของตนเอง เช่น ชนเผ่าลาวเทิงที่เมืองเลางาม มีทักษะพื้นฐานและความชำนาญในการปลูกกาแฟ พริกไท กล้วย และพืชอุตสาหกรรมอื่นๆ ในขณะที่ประชาขนในเขตพื้นที่ราบเมืองสาละวัน คงเซโดน วาปี ละครเพ็ง ละตุ้มลาน มีทักษะ พื้นฐานในการปลูกข้าวนาปี ข้าวนาแซง สำหรับประชาชนในเขตภูเขา ซึ่งเป็นชนเผ่าลาวเทิง กลุ่มต่างๆ ที่มีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม กำลังได้รับการพัฒนาให้สามารถเลี้ยงสัตว์ และปลูกพืช เศรษฐกิจในขอบเขตทรัพยากรธรรมชาติด้านพื้นที่ทำกินของพวกเอื้ออำนวยความสะดวก อย่างไรก็ตาม สำหรับสิ่งที่ชาวแขวงสาละวันถือว่าเป็นลักษณะเด่นและความภูมิใจของตนเอง คือสิ่งที่สะท้อนผ่านและปรากฏในคำขวัญของแขวงคือ
มะพร้าวน่าไซ ปิ้งไก่นาปง
เหล้าขาวเมืองคง ลำวงสาละวัน
จุดเด่น
มีการ รำวงสาละวัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเมืองสาละวัน และการตั้งชื่อเมืองอีกด้วย
เมืองสำคัญของเขตสาละวัน
ประชาชนที่อยู่อาศัยทั้ง 8 เมืองของเขตสาละวัน มีภาพรวมของการดำเนินชีวิตที่ผูกผันไปพร้อมกับสภาพภูมิประเทศ 3 เขต คือ เมืองละครเพ็ง เมืองคงเซโดน เมืองวาปี เมืองสาละวันและเมืองตุ้มลาน เป็นเขตที่ราบลุ่ม เป็นที่อยู่อาศัยของชาวลาวลุ่ม ยกเว้นบางส่วนของเมืองตุ้มลาน ได้มีการปลูกข้าวนาปีและนาปรังในเขตนี้ด้วย ส่วนเมืองตะโอ้ยกับเมืองสะม่วยอยู่ในเขตภูเขา เป็นเมืองที่อยู่อาศัยของชนเผ่าลาวเทิงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งดำรงชีวิตด้วยการปลูกข้าวไร่ การค้าขายเครื่องป่าของดง ปัจจุบันภาครัฐได้พัฒนาเขตดังกล่าวทั้งด้านการเพาะปลูกและการปศุสัตว์ แต่การพัฒนาก็เผชิญปัญหาระเบิดจำนวนมหาศาลที่ยังฝังกระจายอยู่ในพื้นดิน อันเป็นผลจากการทิ้งระเบิดในช่วงสงครามในช่วงปฏิวัติครั้งล่าสุด ส่วนเขตที่ 3 คือ เขตที่ราบสูงโบโลเวนส์มีศูนย์กลางที่เมืองเลางามเป็นพื้นที่สำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจนำรายได้หลักเข้าสู่แขวงสาละวันและสปป.ลาวเมืองที่มีบทบาทและมีนัยความสำคัญทางด้านการปกครองและระบบเศรษฐกิจของแขวงสาละวันและลาวตอนล่าง ซึ่งจะกล่าวถึงโดยสังเขป 2 เมือง คือ เมืองสาละวันและเมืองเลางาม ดังนี้
เมืองสาละวัน
เมืองสาละวันเป็นเมืองหลัก เป็นเมืองที่ตั้งสำนักงานว่าการแขวงสาละวันและห้องทำการต่างๆของแขวง เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงเดียวกับชื่อแขวงสาละวันเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของแขวง และเป็นจุดศูนย์รวมด้านต่างๆของแขวงสาละวัน สภาพด้านกายภาพของเมืองสาละวันปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ส่วนตามฟากฝั่งน้ำเซโดน ฝั่งซ้ายเป็นเขตเมืองเก่า ซึ่งเดิมเป็นเมืองที่มีประชาชนอยู่อาศัยหนาแน่น และเคยเป็นที่ตั้งสำนักงานแขวงและสถานที่ราชการในช่วงสมัยก่อนการปฏิวัติ ส่วนฝั่งขวาซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองสาละวันและที่ตั้งสำนักว่าการแขวงปัจจุบันในอดีตเป็นชุมชนที่บางเบส แต่มีหน่วยงานรัฐบางส่วนตั้งอยู่บ้าง เนื่องด้วยภายหลังจากฝ่ายรัฐบาลเวียงจันทร์สูญเสียเมืองสาละวันแก่ฝ่ายปฏิวัติ เมืองสาละวันทั้งสองฝั่งน้ำเซโดนจึงได้ถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักหน่วงจนเสียหาย แทบทุกสิ่งทุอย่างในเขตเมืองมอดไหม้วอดวายไปกับระเบิดสารพัดขนาด ยกเว้นที่เหลือมาจนปัจจุบัน คือ อาคารโรงหมอเก่า ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยฝรั่งเศสปกครอง ซึ่งเขียนอักษรย่อตัว H (Hospital) ขนาดใหญ่ไว้บนหลังคา จึงได้รับการยกเว้นไม่ทิ้งระเบิดตามหลักการสงคราม ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ภายหลังการสร้างประเทศสปป.ลาว เป็นต้นมา สาละวันได้ก่อสร้างเมืองอีกครั้ง โดยการวางผังขยายตัวเมืองออกมาทางฝั่งขวาเรียกว่าเขตเมืองใหม่ กระนั้นก็ยังปรากฏร่องรอยสงครามไม่น้อย เช่น วัดเก่า ที่ถูกระเบิดทำลายจนกลายสภาพเป็นวัดร้าง ปัจจุบันทางแขวงได้ใช้พื้นที่วัดเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล ซึ่งลาวเรียกว่า “โรงหมอ” ที่วัดเก่าแห่งนี้มีธาตุโบราณก่อด้วย “ดินจี่” หรือ อิฐเผา ชาวบ้านเชื่อและเข้าใจว่าเป็นธาตุบรรจุกระดูกขององค์แก้ว ซึ่งเป็นวีรบุรุษสมัยต่อตานการปกครองของฝรั่งเศส ในขณะที่บางคนไม่เชื่อ อย่างไรก็ตามธาตุองค์นี้ก็ยังเป็นสถานที่เคารพสักการะของประชาชนชาวลาวสาละวันตราบจนปัจจุบัน เฉพาะในเขตเมืองสาละวันมีประชาชนทั้งสิ้นประมาณ 9,000 คนเศษเป็นเมืองที่รวมไว้ด้วยชนเผ่าหลายชนเผ่า ส่วนหนึ่งของพวกเขาอพยพโยกย้ายตนเองลงมาอยู่ในสถานที่เมืองใหม่ที่ภาครัฐวางผัง และจัดสรรให้ประชาชนถือครอง กลุ่มนี้มีชาวเผ่าต่างๆรวมทั้งคนต่างแขวงที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากทำมาค้าขายอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นชาวลาวลุ่มที่เคยเป็นเจ้าของพื้นที่ซึ่งบ้านได้เกิดความเสียหายบ้านเดิมระหว่างสงคราม ไปอยู่เมืองปากเซ อันเป็นที่มั่นสุดท้ายของฝ่ายเวียงจันทร์และไม่มีการทิ้งระเบิดที่นั่น ในขณะที่ประชาชนส่วนหนึ่งได้อพยพไปหลบซ่อนในเขตป่า เมื่อเหตุการณ์สงบแล้วจึงกลับมาสร้างเป็นถิ่นฐานเดิมของตนเองอีกครั้ง ดังนั้น สาละวันปัจจุบันจึงเป็นเมืองที่รวมประชาชนหลากหลายชนเผ่าหลายวัฒนธรรม แต่พวกเขาจะใช้ภาษาลาวลุ่มเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน มีระบบเศรษฐกิจโดยรอบเมืองด้วยการทำนาปีและนาแซง สินค้าอุปกรณ์ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทย ผ่านเข้ามาจากเมืองปากเซ ในช่วงระยะหลังมีการส่งสินค้าลักษณะเดียวกันจากเวียดนามเข้ามาจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น เพราะราคาถูกกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง และเป็นการจำหน่ายตรงแบบส่งถึงเรือ โดยพ่อค้าเร่ชาวเวียดนาม ที่เข้ามาเป็นกลุ่มใหญ่ เช่าบ้านในเขตเมืองเพื่อพักสินค้า แล้วบรรทุกใส่รถจักรยานออกเร่จำหน่ายตามหมู่บ้านต่างๆ สำหรับวัดในเมืองสาละวันมีหลายวัด วัดกลางสาละวัน เป็นวัดสำคัญทางพุทธศาสนา เดิมมีหอไตรที่งดงามมาก มีโบสถ์ขนาดใหญ่ และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม แต่ที่น่าเสียดายที่ศาสนสถานแห่งนี้โดนระเบิดถล่มใน พ.ศ. 2513 เสียหาย โดยเฉพาะอาคารหอพระไตรถูกไฟไหม้เหลือเพียงซากเสาในหนองน้ำ ส่วนอาคารโบสถ์ถูกระเบิดทำลาย แต่ทางแขวงก็ยังอนุรักษ์ซากโบราณสถานนี้ไว้ อย่างไรก็ตาม ภายหลังสงครามประชาชนที่อพยพเดินทางกลับมายังสาละวัน ก็ได้ทำการรื้อฟื้นซ่อมแซมวัดกลางสาระวันอีกครั้งโดยตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมให้เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนของพระสงฆ์สามเณรเช่นเดิม
เมืองเลางามศูนย์กลางเศรษฐกิจของที่ราบสูงโบโลเวนส์
เมืองเลางาม เป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของแขวงสาละวันและลาวภาคใต้ รวมถึง สปป.ลาวด้วย เพราะเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโบโลเวนส์ที่อุดมสมบูรณ์คำว่า “เลางาม” เป็นชื่อบ้านนามเมืองที่มีความหมายว่า เป็นเมือง “ป่างาม” ด้วยคำว่า “เลา” เพี้ยนสำเนียงมาจากคำว่า “เหล่า” คำว่า “เหล่า” ในภาษาลาวลุ่มและลาวอีสานหรือไทยอีสานมีความหมายว่า “ป่าดง” ดังนั้นเมืองเหล่างามก็คือ เมืองที่มีคนลาวลุ่มใช้เรียกเมืองที่ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโบโลเวนส์ที่มีป่าไม้พืชพรรณอุดมสมบูรณ์ แต่ด้วยภาษาลาวนั้นยึดเอาสำเนียงการออกเสียงแทนรากศัพท์ ภาษาเขียนที่เขียนถึงเมืองนี้จึงเหลือเพียง “เลางาม” นอกจากนี้เมืองเลางาม หรือเหล่างามยังเป็นที่รู้จักและมีบทบาทสำคัญต่อลาวภาคใต้มานานด้วยเป็นเมืองทางแยกผ่านของการเดินทางไปยังแขวงอื่นๆ 2 กลุ่ม เมื่อเริ่มต้นจากเมืองปากเซ กล่าวคือ การเดินทางจากเมืองปากเซไปยังเมืองสาละวันจะต้องเดินทางผ่านเมืองเลางามและขณะที่เดินทางจากปากเซไปยังแขวงเซกองและอัตตะปือ ก็ต้องเดินทางจากปากเซเข้าสู่เลางามแล้วจึงแยกออกไปยังเมืองท่าแตงที่ทางแยกบ้านแบ่ง เขตเมืองเลางามเพื่อเข้าสู่เมืองละมาม แขวงเซกอง และสู่เมืองสามักคีไช แขวงอัตตะปือ ดังนั้นในเชิงการคมนาคม เมืองเลางามจึงเป็นเมืองสำคัญของลาวภาคใต้ เพราะเป็นจุดรวมการเดินทางเชื่อมทั้ง 4 แขวง คือ จำปาสัก สาละวัน เซกองและอัตตะปือ แต่ปัจจุบันภาครัฐได้พัฒนาเส้นทางจากปากเซตัดเข้าสู่เมืองท่าแตง แขวงเซกองโดยตรง จึงไม่ต้องอาศัยเส้นทางที่ตัดผ่านเมืองเลางาม จุดเปลี่ยนผ่านของเส้นทางสำคัญในลาวภาคใต้ จึงได้ย้ายจากเลางามเป็นเมืองปากซ่อง แขวงจำปาสักแทนอย่างไรก็ตาม เมื่อสภาพการผลิตกาแฟ ผลเร่ว ผลไม้และผลิตผลการเกษตรบนที่ราบสูง โบโลเวนส์ได้ขยายปริมาณการผลิตเพิ่มนั่นขึ้นเรื่อยๆเมืองเลางามได้กลายเป็นเมืองรุ่งเรือง ด้วยการเป็นจุดรับซื้อผลผลิตเพื่อนำไปจำหน่ายต่อยังโรงงานที่ปากเซ รวมทั้งส่งออกต่างประเทศ มีนักธุรกิจชาวลาวลุ่มจากเมืองปากเซ รวมทั้งส่งออกต่างประเทศ มีนักธุรกิจชาวลาวลุ่มจากเมืองปากเซและเมืองสาละวันมารับซื้อ ตัวเทศบาลเมืองเลางามจึงกลายเป็นที่รวมของชนเผ่าลาวเทิงและลาวลุ่มที่เกี่ยวพันกันด้วยสินค้าพืชเศรษฐกิจข้างต้น นอกจากนี้เลางาม ยังเป็นตลาดจำหน่ายอุปโภคและบริโภคแก่ชนเผ่า ที่มีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิต สินค้าดังกล่าวส่วนใหญ่จะนำเข้าจากด่านช่องเม็ก-วังเต่า ประเทศไทย ซึ่งชาวลาวเรียกได้ว่า “ต่อเขต” เป็นสำคัญ และมีสินค้าจากจีนและเวียดนามบางส่วนมาจำหน่ายด้วยเมืองเลางามจึงเป็นเมืองที่มีระบบเศรษฐกิจที่ดีที่สุดเมืองหนึ่ง ของสาละวันและลาวตอนล่าง โดยเฉพาะในช่วงประมาณ 4-5 ปีที่ผ่านมา การปลูกกาแฟในประเทสบราซิลไม่ได้ผลสาเหตุจากภัยธรรมชาติ ทำให้ราคากาแฟของลาวในบริเวณที่ราบสูงโบโลเวนส์พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวในการขยายพื้นที่ปลูกกาแฟ โดยมีการ โดยมีชาวลาวลุ่มที่เป็นข้ารัฐการและนักธุรกิจจากภาคเมือง เข้ามาซื้อที่ดินปลูกกาแฟแข่งกับชนเผ่าลาวเทิงเจ้าของพื้นที่ จาก พ.ศ. 2538 มีพื้นที่การปลูกกาแฟ 29,738 ไร่ พ.ศ. 2539 พื้นที่ปลูกกาแฟเพิ่มเป็น 45,140 ไร่และขยายพื้นที่การปลูกกาแฟเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึง พ.ศ. 2543แขวงสาละวันมีพื้นที่การปลูกกาแฟมากถึง 84,302 ไร่ ได้ผลผลิตกาแฟทั้งหมดใน พ.ศ. 2543 ทั้งหมด 152,927 ไร่ และมีผลผลิตกาแฟใน พ.ศ. 2543 จำนวน 11,00 ตัน นอกจากการปลูกกาแฟอย่างมากแล้วนั้น เกษตรกรที่อยู่อาศัยในที่ราบสูงโบโลเวนส์ ยังพัฒนาการปลูกต้นเร่วหรือหมากแหน่งในเชิงพาณิชย์ จากทีพวกชนเผ่าละเวนเจ้าของพื้นที่เดิม รู้จักการเก็บผลเร่วที่มีอยู่ตามธรรมชาติไปแลกเปลี่ยนเครื่องอุปโภคกับชาวจีนและเวียดนามที่มาจากปากเซแล้ว ปัจจุบันบริเวณที่ราบสูงแห่งนี้มีการปลูกต้นเร่วอย่างจริงจัง มีทั้งปลูกเป็นไร่เร่วโดยตรง และปลูกแทรกไปกับต้นกาแฟกับต้นกล้วย ซึ่งผลเร่วนับเป็นพื๙เศรษฐกิจที่รายได้ให้แก่เกษตรกรไม่น้อยเช่นกัน
เมืองตะโอ้ย
เมืองตุ้มลาน
เมืองละครเพ็ง
เมืองวาปี
เมืองคงเซโดน
เมืองสะม้วย
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองสาละวัน
อนุสรณ์องค์แก้ว ซึ่งเป็นคนที่เกิดในเมืองสาละวันและได้เป็นวีรบุรุษปฎิวัติของลาวในสมัยสงครามโลกที่ได้ต่อต้านฝรั่งเศสและอเมริกา จึงได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของเมืองสาละวันซึ่งผู้คนในแขวงสาละวันให้ความเคารพและศรัทธาเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เมืองสาละวันเป็นเมืองเกษตรกรรมที่ได้มีการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ซึ่งอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่ล้อมรอบอยู่และยังเป็นจุดศูนย์กลางที่เป็นทางเชื่อมต่อไปยังเขตของเวียดนามอีกด้วย
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองตะโอ้ย
เป็นเมืองที่มีทรัพยากรธรรมชาติและมีการทำเกษตรกรรม คือ การทำไร่ ทำสวน นอกจากนี้ยังมีชนเผ่าตะโอ้ยซึ่งเป็นชนเผ่าที่ใหญ่ที่สุดในแขวงสาละวัน สังเกตได้จากการปลูกบ้านเรือนของเผ่าตะโอ้ย บันไดทางขึ้นบ้านจะใช้ไม้ไผ่ลำเดียวในการสร้างบ้าน นอกจากนี้ชนเผ่าตะโอ้ยยังมีการนับถือผีหรือพิธีกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับวิญญาณ โดยจะมีหอกวน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของชนเผ่า
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองสะม้วย
เป็นเมืองที่ติดกับพรมแดนเวียดนามเป็นด่านท้องถิ่นที่สามารถเดินทางออกไปยังแขวงที่ใกล้เคียงได้ มีภูมิประเทศที่สวยงามและมีภูเขาที่สลับซับซ้อนกันกับอากาศที่ค่อนข้างหนาวเย็น ซึ่งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รวมทั้งการทำเกษตรกรรมในพื้นที่ที่มีการปลูกกล้วยน้ำว้าส่งออกไปยังประเทศเวียดนาม เป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเพราะมีป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองคงเซโดน
เป็นเมืองที่ติดกับเส้นทางหมายเลข 13 ที่ขึ้นชื่อเรื่องการต้มเหล้าขาวและไก่ย่างที่อร่อยที่สุดใน สปป.ลาว นอกจากนี้ยังมีการส่งสินค้ามาจากแขวงเวียงจันทร์ ตรงด่านท้องถิ่นของเมืองคงเซโดนจะมีที่จำหน่ายของใช้จำพวกอุปโภคและบริโภคที่นักท่องเที่ยวสามารถไปซื้อสินค้าได้
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองตุ้มลาน
เป็นเมืองเกษตรกรรมและมีสายน้ำเซบั้งเหียน ซึ่งเป็นสายน้ำที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตของชาวเมืองตุ้มลานมาอย่างยาวนาน มีการทำไร่ ทำนา ตามวิถีชีวิตของชาวเมืองตุ้มลานที่มีความเป็นอยู่แบบเรีบยงานและสงบ
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองละคอนเพ็ง
เป็นเมืองที่ติดกับเมืองสุหวันเขตและติดกับแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านเมืองละครเพ็ง นอกจากนี้ยังมีด่านไทย-ลาว เป็นการซื้อขายและส่งสินค้ากัน สินค้านั้นเป็นสินค้าพื้นบ้าน
สถานที่เที่ยวเมืองวาปี
เป็นเมืองที่มีการทำเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่มีแม่น้ำ 2 สายไหลผ่าน คือ เซบั้งนวลและคงเซโดนโดยการปลูกข้าวทำนาปรังและนาปีเพื่อนำไปขายอีกส่วนหนึ่งจะเก็บไว้บริโภคในครอบครัวของตนเอง และมีชนเผ่าอาศัยอยู่ในเมืองวาปี ในปัจจุบันทางภาครัฐด้มีการพัฒนาเส้นทางการเดินทางได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองเลางาม
มีน้ำตกตาดเลาะเป็นน้ำตกที่เกิดจากสายน้ำเซเซไหลลัดเลาะผ่านหมู่บ้านลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง ชาวบ้านจึงเรียกว่า ตาดเลาะ เป็นน้ำตกที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าในลาว และจำหน่ายกระแสไฟฟ้ามายังเมืองไทย ตัวน้ำตกสูง 10 เมตร จุดเด่นอยู่ที่สายน้ำที่ไหลผ่านชั้นของตัวน้ำตกลดหลั่นลงสู่แอ่งน้ำใหญ่ สามารถเล่นน้ำได้มีจุดนั่งชมวิวทิวทัศน์ และสามารถเดินเข้าไปชมน้ำตกจาดรังซึ่งอยู่ด้านบนของน้ำตกตาดเลาะได้