Line ID: 0863399940



 

บันทายมีชัย
ประวัติความเป็นมา

จังหวัดบันเตียเมียนเจย(banteay meanchey) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศกัมพูชา ในภาษาไทยอาจออกเสียงว่า "จังหวัดบ้านใต้มีชัย " หรือ "บันทายมีชัย "จังหวัดบันเตียเมียนเจยอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เมืองหลวงคือศรีโสภณ จังหวัดบันเตียเมียนเจยติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตกที่เมืองปอยเปต คนไทยรู้จักปอยเปตแต่ไม่รู้ว่าเมืองปอยเปตอยู่ภายใต้จังหวัดนี้
จังหวัดบันเตียเมียนเจย เคยเป็นจังหวัดพิบูลสงครามของประเทศไทย ซึ่งในปี พ.ศ. 2450 ประเทศไทยได้ยกพื้นที่นี้ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส และรวมเข้าเป็นจังหวัดพระตะบอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 จังหวัดบันเตียเมียนเจย จึงได้แยกออกจากจังหวัดพระตะบอง เดิมประกอบด้วย 5 อำเภอ คือ มงคลบุรี ธมโปก ศรีโสภณ พระเนตรพระ และพนมศก
การแบ่งเขตการปกครอง
จังหวัดบันเตียเมียนเจยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ (districts)
1. มงคลบุรี (Mongkol Borei)
2. พนมศก (Phnum Srok)
3. เปรียะเนตรเปรียะ (พระเนตรพระ) (Preah Netr Preah)
4. อูร์ชเรา (Ou Chrov)
5. เสะเร็ยโสพ็วน (ศรีโสภณ) (Serei Saophoan)
6. ธมโปก (Thma Puok)
7. สวายจิก (Svay Chek)
8. มาลัย (Malaii)
แหล่งท่องเที่ยว
1. บันทายฉมาร์
มหาปราสาท แม้ไม่เป็นที่รู้จักโด่งดังเท่านครวัด-นครธม แต่ปราสาทแห่งนี้นับว่ามีความน่าสนใจอยู่มาก โดยในบทความ “บันทายฉมาร์ อาณาจักรแห่งนิทรากาล” ที่เขียนโดย “นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว” ได้ระบุถึงความสำคัญของปราสาทแห่งนี้ในเรื่องของ พระพักตร์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ปราสาทนี้ถูกสร้างขึ้นระหว่าง วันที่ 12 และ 13 ศตวรรษ ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าชัยวรมัน ปัจจุบันวัดบันทายฉมาร์ ได้รับความเสียหายเพราะสงคราม และบางอย่างที่ได้ถูกขโมย รูปปั้น หินแกะสลักวัด เพื่อขายให้ประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีบางส่วนที่วัดอื่น ๆ ในจังหวัดบันเตียเมียนเจย ปัจจุบันปราสาทบันทายฉมาร์ กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อ และน่าสนใจในจังหวัดบันเตียเมียนเจย เพราะที่นี่ยังคงมีซากปรักหักพัง และหินรูปร่างต่าง ๆ รวมถึงภาพตามฝาผนังที่บอกเรื่องรายของขอมในสมัยอดีตกาล ที่นี่กำลังได้รับการบูรณะ เพื่อปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยว แต่หิน หรือรูปปั้นบางส่วนยังคงเดิม บริเวณปราสาทบันทายฉมาร์มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นตามแนวปราสาท หรือตัวปราสาทหลายต้น บางต้นมีผึ้งทำรังเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เห็นรากของต้นไม้แทรกไปตามแนวหินปราสาทบันทายฉมาร์
2. ปอยเปต
ตั้งอยู่ตำบลปอยเปต อำเภออูร์ชเรา จังหวัดบันเตียเมียนเจย ปอยเปต เป็นที่รู้จักของคนไทยในเรื่องบ่อนคาสิโนที่ให้นักเสี่ยงโชคหลั่งไหลเข้าไปในยังประเทศกัมพูชา เพราะมีชายแดนติดกับประเทศไทยที่จังหวัดสระแก้ว นอกเหนือจากบ่อคาสิโนที่เรื่องชื่อ ปอยเปตยังมีชายแดนติดกับตลาดโรงเกลือฝั่งประเทศไทย จึงทำให้ชาวกัมพูชาเข้ามาซื้อของ รวมถึงใช้แรงงานในการทำมาค้าขายบริเวณด่านชายแดนปอยเปต กับตลาดโรงเกลือ ด่านปอยเปตยังเป็นด่านสากลที่มีท่ารถประจำทาง รวมถึงแท็กซี่ ที่มีบริการตั้งแต่ช่วงเช้าถึงช่วงค่ำ ที่สามารถเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศกัมพูชา อย่างเสียมเรียบ และพนมเปญ

 เขตการปกครอง ปัจจุบันกัมพูชากำหนดให้มีการแบ่งเขตการปกครอง
ออกเป็น 1ราชธานี(พนมเปญ) และ 24 จังหวัด ได้แก่
1. จังหวัดกระแจะ (Kratie)
2. จังหวัดเกาะกง (Koh Kong)
3. จังหวัดกันดาล (Kandal)
4. จังหวัดกัมปงจาม (Kampong Cham)
5. จังหวัดกัมปงชนัง (Kampong Chhnang)
6. จังหวัดกัมปงธม (Kampong Thom)
7. จังหวัดกัมปงสะปือ (Kampong Speu)
8. จังหวัดกัมปอต (Kampot)
9. จังหวัดตาแก้ว (Tek’eo)
10. จังหวัดรัตนคีรี(Ratanakiri)
11. จังหวัดพระวิหาร (Preah Vihear)
12. จังหวัดพระตะบอง (Battambang)
13. จังหวัดตบูงขมุม(Tabungkamum)
14. จังหวัดโพธิสัต (Pursat)
15. จังหวัดบันเตียเมียนเจย (Banteay Meanchey)
16. จัดหวัดไปรเวง (Prey Veng)
17. จังหวัดมณฑลคีรี (Mondulkiri)
18. จังหวัดสตึงเตรง (Stung Treng)
19. จังหวัดสวายเรียง (Svay Rieng)
20. จังหวัดเสียมราฐ (Siem Reap)
21. จังหวัดอุดรมีชัย (Oddar Meancheay)
22. จังหวัดไพลิน (Pailin)
23. จังหวัดแกบ (Kep)
24. จังหวัดพระสีหนุ(Sihanouk/KampongSom)