Line ID: 0863399940



 

พระวิหาร
จังหวัดพระวิหาร เป็นจังหวัดสำคัญทางภาคเหนือของประเทศกัมพูชา มีชายแดนติดกับประเทศไทยทางด้านจังหวัดศรีสะเกษ มีเมืองพนมตะแบงเมียนเจ็ยเป็นเมืองหลวงของจังหวัด จังหวัดนี้เป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร ซึ่งอยู่ในบริเวณชายแดนของไทย-กัมพูชาที่มีปัญหาเรื่องพื้นที่ทับซ้อน และได้เกิดกรณีพิพาทเรื่องปราสาทหินนี้จนต้องมีการตัดสินในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2505 และจังหวัดนี้ยังเป็นที่ตั้งของเกาะแกร์ (Koh Ker) เมืองหลวงเก่าของขอมโบราณก่อนนครวัด เกาะแกร์นี่คือปิรามิดแห่งเอเซีย จังหวัดนี้จึงเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญเรื่องการท่องเที่ยวมาก
การแบ่งเขตการปกครอง
จังหวัดพระวิหารมีการแบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น 7 อำเภอ ได้แก่
• ชัยแสน
• แฉบ
• จอมกระสานต์
• กูแลน
• ระเวียง
• สังคมถเม็ย
• ตะแบงเมียนเจ็ย (เมืองหลวง)

สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพระวิหาร
• เกาะแกร์ (Koh Ker) (ปิรามิดแห่งเขมร เมืองหลวงเก่าของขอม) เกาะแกร์ ในอดีตมีนามว่า “โชคครรยาร์” หมายถึง เกาะแห่งความรุ่งโรจน์ เกาะแกร์คือชื่อของกลุ่มปราสาทเก่าโบราณมากถึง 96 แห่งแบ่งเป็น ศาสนสถานขนาดใหญ่ประมาณ 30 แห่ง โดยเกาะแกร์นี้ เป็นชื่อของเมืองหลวงของอาณาจักรขอมในอดีต เกาะแกร์อยู่ห่างจากเสียมราฐประมาณ 100 กิโลเมตร เป็นนครที่ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่สี่ ในช่วงปี พ.ศ. 1464 – 1487 เกาะแกร์ถือเป็นเมืองหลวงเก่าของอาณาจักรขอม คนทั่วไปจะรู้จักกันในนามพีระมิดแห่งเมืองขอม โดย ขอมได้สร้างนครแห่งนี้ก่อนที่จะย้ายไปสร้างที่นครวัด อาจเป็นเพราะตำแหน่งที่สร้างไม่สะดวกในเรื่องน้ำ ทำให้เมืองเกาะแกร์(Koh Ker) เป็นนครที่ถูกลืม ที่ซ่อนอยู่ในป่าเป็นพัน ๆ ปี จนกระทั้งในปี ค.ศ. 2003 หรือ พ.ศ. 2546 ที่ผ่านมานี่เองพึ่งจะมีการค้นพบอีกครั้ง ซึ่งเมืองแห่งนี้ถูกโลกลืมไปถึง 1059 ปี สิ่งที่เป็นสิ่งปลูกสร้างหลักทำให้โลกตะลึงคือปราสาทที่มีรูปร่างคล้าย พีระมิด นั่นเอง และปิรามิดแห่งนี้มีขั้นบันไดหินขึ้นไปจนถึงบนยอด โดยหลายคนมีความเชื่อและเรียกเส้นทางนี้ว่า “ถนนสู่สวรรค์” และเมื่อมองจากหอคอยลงมาจะสามารถมองเห็นภูเขาและปราสาทพระวิหารได้ ซึ่งถือเป็นจุดชมวิวที่มีความสวยงามมากๆที่หนึ่ง

• ปราสาทพระวิหาร เป็นปราสาทหินตามแบบศาสนาฮินดูที่ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก สูงจากระดับทะเลปานกลาง 657 เมตร ที่ตั้งของศาสนสถานแห่งนี้รู้จักกันในนาม พนมพระวิหาร หมายถึง บรรพตแห่งศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ อยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเคยเป็นทางขึ้นสู่ปราสาทที่สะดวกที่สุด ปราสาทเขาพระวิหารแห่งนี้เดิมทีมีชื่อเรียกเก่าสุดว่า ภวาลัย ในรายงานของกรมวิชาการ และมีชื่ออื่นๆอีก ได้แก่ ศรีศิขรีศวร, วีราศรม และตปัสวีนทราศรม เป็นต้น และเมื่อ พ.ศ. 2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้เสด็จไปยังปราสาทแห่งนี้ และทรงขนานนามว่า "ปราสาทพรหมวิหาร" ซึ่งต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า "ปราสาทพระวิหาร" ส่วนนามของปราสาทพระวิหารตามที่ปรากฏในศิลาจารึกคือ "ศีรศิขเรศวร" แปลว่า ภูเขาแห่งพระอิศวร ซึ่งเกิดจากการสมาสกันของคำว่า "ศิขร" (ภูเขา) และ "อิศวร" ปราสาทพระวิหารประดิษฐานอยู่บนผาเป้ยตาดีของเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ทั้งนี้ ปราสาทตั้งอยู่ห่างจากปราสาทนครวัดในเมืองพระนคร ไป 140 กิโลเมตร และห่างจากกรุงพนมเปญไป 320 กิโลมตร

 เขตการปกครอง ปัจจุบันกัมพูชากำหนดให้มีการแบ่งเขตการปกครอง
ออกเป็น 1ราชธานี(พนมเปญ) และ 24 จังหวัด ได้แก่
1. จังหวัดกระแจะ (Kratie)
2. จังหวัดเกาะกง (Koh Kong)
3. จังหวัดกันดาล (Kandal)
4. จังหวัดกัมปงจาม (Kampong Cham)
5. จังหวัดกัมปงชนัง (Kampong Chhnang)
6. จังหวัดกัมปงธม (Kampong Thom)
7. จังหวัดกัมปงสะปือ (Kampong Speu)
8. จังหวัดกัมปอต (Kampot)
9. จังหวัดตาแก้ว (Tek’eo)
10. จังหวัดรัตนคีรี(Ratanakiri)
11. จังหวัดพระวิหาร (Preah Vihear)
12. จังหวัดพระตะบอง (Battambang)
13. จังหวัดตบูงขมุม(Tabungkamum)
14. จังหวัดโพธิสัต (Pursat)
15. จังหวัดบันเตียเมียนเจย (Banteay Meanchey)
16. จัดหวัดไปรเวง (Prey Veng)
17. จังหวัดมณฑลคีรี (Mondulkiri)
18. จังหวัดสตึงเตรง (Stung Treng)
19. จังหวัดสวายเรียง (Svay Rieng)
20. จังหวัดเสียมราฐ (Siem Reap)
21. จังหวัดอุดรมีชัย (Oddar Meancheay)
22. จังหวัดไพลิน (Pailin)
23. จังหวัดแกบ (Kep)
24. จังหวัดพระสีหนุ(Sihanouk/KampongSom)