เกาะกง
ประวัติความเป็นมา
ชาวเกาะกงทั้งที่มีเชื้อสายเขมรและไทย เรียกเมืองเอกนี้ว่า เกาะกง ซึ่งมีความหมายตรงตัวว่า "เกาะที่ชื่อกง" ต่อมาเมื่อช่วงที่เกาะกงอยู่ภายใต้อิทธิพลของกรุงสยาม รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามเมืองแห่งนี้ว่า ปัจจันตคิรีเขตร ซึ่งมีความหมายว่า "ปลายเขตแดนที่ภูเขา" และตั้งนามเมืองให้คล้องกับเมืองประจวบคีรีขันธ์ (เดิมชื่อ บางนางรมย์) ซึ่งเมืองทั้งสองตั้งอยู่ในแนวรุ้งเดียวกันดังปรากฏไว้ความว่า
“ ขุนสารประเสริฐรับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ สั่งว่า เมืองบางนางรมย์นั้นโปรดเกล้าฯ ให้เรียกเมืองประจวบคีรีขันธ์ กับที่เกาะกงนั้น โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า เมืองปัจจันตคิรีเขตร ให้กรมวัง หมายไปยังกรมพระกลาโหม กรมท่า กรมพระศุภรัต สัสดีซ้ายขวา ให้เรียกชื่อเมืองทั้ง ๒ ให้ถูกตามแบบรับสั่ง" แต่เดิมที่ทำการเมืองเกาะกงตั้งอยู่ที่เกาะเสก็ดและขึ้นต่อจังหวัดกำปอต ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 ได้มีการสร้างที่ทำการเมืองใหม่ที่เสาธงแล้วเสร็จ จึงได้แยกเกาะกงออกมาตั้งเป็นจังหวัดใหม่
สภาพทางภูมิศาสตร์
จังหวัดเกาะกงเป็นจังหวัดทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา มีอาณาเขตติดต่อกับ บ้านหาดเล็ก ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จังหวัดตราด มีประชากรทั้งหมดประมาณ 132,106 คน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเขมร 75% ที่เหลือเป็นชาวไทยเจ้าของถิ่นเดิม 25%
การแบ่งเขตการปกครอง
จังหวัดเกาะกง แบ่งเป็น 8 อำเภอ (สฺรุก) 33 ตำบล และ 131 หมู่บ้าน เกาะกงถือเป็นจังหวัดขนาดเล็กที่มีประชากรอาศัยอยู่ 23,168 หลังคาเรือน และมีประชากรจำนวนทั้งสิ้น 132,106 คน
1. ปทุมสาคร
2. คีรีสาคร
3. เกาะกง
4. สมัครมีชัย
5. มณฑลเสมา
6. แซรอ็อมปิล
7. ทมอบาง
8. กำปงสิลา
ประชากร
จังหวัดเกาะกงมีประชากรทั้งหมดประมาณ 132,106 คน (สถิติปี พ.ศ. 2541) ความหนาแน่นของประชากร 11.8 คน/กม² โดยประชากรส่วนใหญ่จะเป็นชาวเขมร 75% ที่เหลือเป็นชาวไทยเกาะกง 25% สำหรับเมืองหลักที่มีชาวเกาะกง อาศัยอยู่ถึง 22% ของประชากรทั้งหมดคือ สมัคเมียนเจย ส่วนประชากรอีก 75% ไม่ใช่ชาวพื้นเมืองเกาะกง แต่ย้ายมาจากจังหวัดอื่นๆ ของกัมพูชา ส่วนใหญ่จะเข้ามาหางานที่ดีกว่าทำที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา คนเชื้อสายไทยในเกาะกงส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ตามคลองและลุ่มแม่น้ำ เช่น ลุ่มแม่น้ำเกาะปอ, แม่น้ำครางครืน, แม่น้ำตาไต, แม่น้ำบางกระสอบ, แม่น้ำตะปังรุง, แม่น้ำคลองพิพาท, อ่าวเกาะกะปิ, คลองแพรกกษัตริย์, อ่าวยายแสน, อ่าวพลีมาศ, อาหนี และอาจเลยไปถึงนาเกลือ (ปัจจุบันกัมพูชาเรียกแซร์อ็อมปิล) ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง นอกจากนี้คือธุรกิจท่องเที่ยว รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมอีกจำนวนมากที่ตั้งอยู่ในในเกาะกงซึ่งมีสวัสดิการที่ดีและมีความั่นคงทางอาชีพสูง
สถานที่ท่องเที่ยว
1. น้ำตกตาไต หรือน้ำตกทาไท
ตั้งอยู่ในหมู่บ้านทาไท มีคนกัมพูชาอาศัยอยู่ประมาณ 84 ครัวเรือนบริเวณน้ำตกทาไท อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 20 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันออกของเมืองเกาะกงไปตามถนนแห่งชาติ 48 เส้นทางหลวงประมาณหลักกิโลเมตรที่ 134 เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ 2 ชั้น ชั้นแรกมีความสูงประมาณ 5-6 เมตร ชั้นที่สองสูงประมาณ 12-15 เมตร ได้รับการพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมทั้งคนในประเทศและต่างประเทศ ตามตำนานเล่าว่า ผู้ชายคนหนึ่งชื่อตาไทและลูกชายไปหาปลาที่น้ำตก เพราะที่นี่เป็นจุดร่วมกันระหว่างน้ำจืดและน้ำเค็ม เมื่อมีพายุฝนมากและถูกน้ำท่วมส่งผลให้ลูกตาไทหายไปตา แต่หลังจากนั้น 4-5 วันต่อมาเด็กผู้ชายคนนั้นถูกค้นพบในจุดเดียวกันที่หายไปในน้ำตก "เมื่อตาไทถามลูกชายเขาเรื่องนี้ ลูกชายตาไทตอบว่า "มีคนพาเขาไปสถานที่ลี้ลับมีอะไรซักอย่างที่อยากจะฆ่าเขา แต่ก็มีนักบวชปรากฏตัวเพื่อช่วยเขา" หลังจากที่ตาไทและภรรยาได้ยินเรื่องนี้จึงเชื่อว่าฤาษีได้ช่วยเหลือลูกชายของเขา นับตั้งแต่นั้นมาที่นี่จึงมีชื่อเรียกว่าน้ำตกทาไท หรือน้ำตกตาไต หรือน้ำตกฤาษี
2. ป่าชายเลนเกาะกง
เป็นอุทยานครึ่งบกครึ่งน้ำในพื้นทีป่าชายเลนของเกาะกงประเทศกัมพูชา มีน้ำจืดของแม่น้ำเกาะกง กับน้ำเค็มของทะเลอ่าวไทยมาบรรจบกันบริเวณป่าชายเลน จึงทำให้ป่าชายเลนแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ทะเลนานาชนิดมากมาย ปัจจุบันเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าเที่ยวชมโดยการเดินชมป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ รวมได้มีกิจกรรมการนั่งเรือท่องเที่ยวหมู่บ้านชาวประมง ล่องเรือไปเที่ยวชายหาดบนเกาะกลางทะเล รวมถึงมีกิจกรรมจักรยานน้ำ และตกปลา ด้านในตัวอุทยานยังมีร้านค้าขายอาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ ของที่ระลึกบริการนักท่องเที่ยวมากมายราคาก็ไม่แพง ส่วนที่พักก็มีรีสอร์ทบริเวณป่าชายเลนให้นักท่องเที่ยวได้พักตากอากาศในบริเวณป่ายชายเลน
3. น้ำตกตาปอน
เป็นน้ำตกขนาดเล็กไม่ใหญ่มาก แต่ถ้าอยู่ในช่วงเวลาหน้าฝนน้ำหลากน้ำตกแห่งนี้จะสวยมาก น้ำแรงและใสสามารถเที่ยวชมได้ทุกฤดู อยู่บริเวณติดริมถนนเส้นทางหลวงกัมพูชาหมายเลข 48 อยู่ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 142 หากมาจากเกาะกงจะถึงก่อนน้ำตกทาไทประมาณ 12 กิโลเมตร ด้านในสามารถเดินเล่นเที่ยวชมน้ำตกได้ บริเวณริมน้ำตกมีร้านอาหารบริการ ที่จอดรถ น้ำใสน่าเล่น เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าธรรมชาติได้เป็นอย่างดี ในช่วงเวลายามเย็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและคนกัมพูชานิยมมาทานอาหารที่บริเวณน้ำตกแห่งนี้
4. สะพานข้ามแม่น้ำเกาะกง
เป็นสะพานคอนกรีตรถสวนทางได้ มีช่องทางสำหรับรถเล็กอย่างมอเตอร์ไซค์ และสำหรับคนเดินข้ามไปมาได้ มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร สะพานนี้ยังเป็นสถานที่ออกกำลังกายสำหรับคนกัมพูชาที่อาศัยอยู่ในเกาะกง ในช่วงเวลายามเย็นอากาศดี ๆ คนในเกาะกงจำนวนมาจะมาวิ่งไปกลับบนสะพานข้ามแม่น้ำเกาะกง เพราะวิวกลางทะเลสวย สามารถมองเห็นเจดีย์ขุนช้างขุนแผน เห็นเรือประมง และมีลมทะเลเย็น ๆ ไหลผ่าน
5. หมู่บ้านชาวประมง
ที่หมู่บ้านบังกะสอบ เป็นหมู่บ้านชาวประมงที่อาศัยทำมาหากินในบริเวณป่าชายเลนในเกาะกง และในบริเวณฝั่งอ่าวไทย ส่วนใหญ่จะหาปลา หาปู หาหอย และเลี้ยงสัตว์ทะเล ภายในหมู่บ้านมีขนาดไม่ใหญ่มากประมาณ 60 ครัวเรือน สัตว์ทะเลที่หมู่บ้านชาวประมงจะมีคนมารับซื้อเพราะที่นี่อุดมสมบูรณ์ ในช่วงเวลาหน้าฝนหรือมรสุม คนส่วนใหญ่จะขึ้นไปหางานในแผ่นดินใหญ่ หรือข้ามไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทย คนที่อยู่บ้านก็จะจับกลุ่มพูดคุย ดูมวย เล่นโดมิโน เพื่อแก้เซ็ง หรือทอเย็บเครื่องมือหาปลาที่ชำรุดเสียหาย รวมถึงการซ่อมเรือเพื่อเตรียมหาปลาในช่วงหน้าไม่ใช่มรสุมเข้า การเดินทางไปยังแผ่นดินใหญ่พาหนะที่ใช้ก็จะเป็นเรืออย่างเดียว แต่ละบ้านจะมีเรือทุกหลังคาจอดผูกไว้หน้าบ้าน ส่วนเส้นทางการเดินทางไปมาก็จะมีสะพานไม้พาดต่อ ๆ กันไปจนถึงบ้านหลังสุดท้าย คนในหมู่บ้านบางกะสอบส่วนใหญ่พูดได้สองภาษา ทั้งภาษาไทย และภาษาเขมร การเดินทางไปเที่ยวหมู่บ้านชาวประมงต้องเหมาเรือรับจ้างที่บริเวณท่าเรือนำเที่ยวป่าชายเลน ประมาณลำละ 500 บาท นั่งได้ประมาณ 10 ท่าน นอกจากนี้บริเวณใกล้ ๆ หมู่บ้านชาวประมงยังมีเกาะขนาดเล็กที่เป็นชายหาดสีขาวสำหรับเดินเล่น พักผ่อน แต่ที่นี่ไม่มีร้านอาหาร ห้องน้ำ ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะมาเล่นน้ำเดินเล่นชมวิวเป็นส่วนใหญ่ การเดินทางจากท่าเรือนำเที่ยวมายังหมู่บ้านชาวประมงใช้เวลาเดินทางไป-กลับ ประมาณ 1 ชั่วโมง ส่วนนักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวชมวิถีชีวิตชาวประมงได้ตามอัธยาศัย
6. เจดีย์โบราณขุนช้างขุนแผน
เป็นเจดีย์เก่าแก่จากคำบอกเล่าคนในพื้นที่น่าจะมีอายุไม่น้อยกว่า 900 กว่าปี ด้านในมีเพชร พลอย พระเก่าแก่อยู่ด้านในเจดีย์ขุนช้างขุนแผน ตั้งอยู่ในบริเวณแม่น้ำเกาะกง มีพื้นที่โดยรอบเจดีย์ประมาณ 40 ตารางเมตร มีความสูงโดยประมาณ 4 เมตร มีสะพานปูนยื่นเข้าไปเพื่อเดินข้ามแม่น้ำเกาะกงไปยังบริเวณตัวเจดีย์ขุนช้างขุนแผน ส่วนด้านล่างเจดีย์มีน้ำด้านล่างมีความลึกไม่น้อยกว่า 6 เมตร และห่างจากตัวเมืองเกาะกงประมาณ 1 กิโลเมตร เวลานักท่องเที่ยวจะขึ้นไปชมบนเจดีย์จะอนุญาตให้ขึ้นไปชมไม่เกินกว่า 15 คน ด้านบนเจดีย์ได้รับการบูรณะแล้ว ส่วนบนหินจะมีรูปปั้นของคุณเพ็ญอยู่ ที่มีความเกี่ยวข้องกับตำนานเขมรอยู่เล่าว่า กาลครั้งหนึ่งมีลูกสาวชาวบ้านที่ชื่อทับทิม ซึ่งเป็นหญิงที่รักของขุนแผน ที่มีรูปร่างใหญ่ หัวล้าน ไม่หล่อมาก แต่ครอบครัวของเขามีเงิน แต่ทับทิมไม่ได้รักขุนช้าง ครอบครัวของขุนช้างได้ให้ทับทิมแต่งงานกับขุนช้าง หลังจากที่เธอแต่งงานกับขุนช้าง เธอก็ทรยศสามีไปรับกับผู้บัญชาการชื่อคุณเพ็ญ เมื่อขุนช้างรู้เรื่องจึงนำเรื่องนี้ไปบอกให้กับพระมหากษัตริย์ได้รับทราบ พระมหากษัตริย์ตัดสินใจตัดร่างของทับทิมเป็นสองส่วน หลังจากที่ทับทิมตายเธอถูกฝังไว้ในสถานที่ที่เธอถูกฆ่าตายเพราะเขาอยากให้เธอได้รับการไปจุติ ขุนช้างได้ตั้งเสาธงไปทางฝั่งตะวันออกของกระแสลมเวลาลมพัดก็จะได้หันธงไปทางที่ทับทิมถูกฝัง และได้สร้างเจดีย์เพื่อให้เป็นความทรงจำในความรักของเขา ชาวเกาะกงนิยมมานมัสการกราบไว้บูชาเจดีย์ขุนช้างขุนแผนในวันหยุด เพื่อขอพรให้สมหวัง ค้าขายร่ำรวย ทำมาค้าขึ้นให้ดี และบริเวณเย็น ๆ บรรยากาศจะดีมาก ลมเย็นและมีนักท่องเที่ยวมาเดินเล่นในช่วงเวลายามเย็นค่อนข้างมาก
7. หาดเกาะยอ
เป็นชายหาดทะเลฝั่งอ่าวไทย มีหาดทรายสีขาวน้ำทะเลสามารถเล่นได้ ชายหาดมีร้านค้า ร้านอาหารสามารถสั่งเครื่องดื่มนั่งทานได้บริเวณริมหาด บริเวณริมหาดไม่สะอาดเท่าที่ควรมีเศษกิ่งไม้และขยะที่ลอยมาจากทะเล แต่เนื่องด้วยบริเวณริมหาดไม่มีคนดูแลนอกจากร้านอาหาร ในหน้าร้อนเหมาะแก่การเล่นน้ำมากกว่าส่วนหน้าฝนน้ำจะดำ และลมจะแรง แต่ที่นี่สามารถชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าได้อย่างสวยงาม หากใครจะมานั่งทานอาหารในช่วงเวลาค่ำคืนไม่แนะนำเพราะว่าไฟฟ้าในบริเวณชายหาดนี้มีเฉพาะแค่ในร้านค้า ตัวบริเวณที่เป็นที่นั่งหรือถนนไม่มีไฟฟ้า ถนนบางช่วงเป็นทางลูกลังหลุมบ่อไม่ดี การเดินทางกลับจะเปลี่ยวนิดหน่อย หาดเกาะยออยู่ห่างจากเมืองเกาะกงไปทางตอนใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร
เขตการปกครอง ปัจจุบันกัมพูชากำหนดให้มีการแบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น 1ราชธานี(พนมเปญ) และ 24 จังหวัด ได้แก่ |